Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 กันยายน 2548
"ทนง"ชี้5ปีมูลค่าตลาด10ล้านล้าน             
 


   
search resources

ทนง พิทยะ
Investment
Marketing




"ทนง" กำหนดเป้ามาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทย 5 ปีแตะ 9-10 ล้านล้านบาท ยันไม่ต่ออายุมาตรการภาษี บจ. พร้อมหาแนวทางใหม่ดึงบริษัทข้ามชาติระดมทุน หวังให้เท่าเทียบตลาดหุ้นภูมิภาค วาง 6 กรอบร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 ให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยนำทีมร่าง "ก้องเกียรติ" เชียร์สุดลิ่มระบุ หาก 5 ปีกำไรสุทธิ บจ.โตเฉลี่ย 10% มาร์เกตแคปหุ้นใหม่ 2.5 ล้านล้านดันมาร์เกตแคปตามเป้า เผยหากได้ปรับอันดับจากบรรษัทภิบาลเพิ่มค่านิยมอีก 15-20%

วานนี้ (14 ก.ย.) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมประชุมหารือ กับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ประกอบด้วย สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน สมาคมบริษัทจดทะเบียน สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการทำงานและการร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนเพื่อใช้ในช่วงปี 2549-2553

นายทนง กล่าวว่า การหารือกับตัวแทนสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อหารือถึงร่างแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อเป็นแนวทางในกาทำงานในช่วงเวลา 5 ปี โดยได้มอบหมายให้นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เป็นประธานคณะทำงานในชุดนี้ โดยจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการร่างแผนดังกล่าวประมาณ 3 เดือน

ทั้งนี้ ได้มีตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) จากปัจจุบันอยู่ที่ 4.6-4.7 ล้านล้านบาท เป็น 9-10 ล้านล้านบาท หรือโตขึ้นประมาณ 100% ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้ารวมถึงจะมีการหารือเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับบริษัทจดทะเบียน และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น

"บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบสูงการมีมาตรการจูงใจให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่าง ๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการระดมทุนและทำกำไร เพราะในอนาคตจะมีการเปรียบเทียบระหว่างการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นแต่ละประเทศ ตลาดทุนไทยจึงเป็นแหล่งภาษีใหญ่ที่สุดของรัฐบาล หากบริษัทสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้มาก รัฐก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้นเช่นกัน" นายทนงกล่าว

สำหรับประเด็นสำคัญในการร่างแผนพัฒนาตลาดทุน คือ 1.เพิ่มสิทธิประโยชน์ที่จะให้เฉพาะบริษัทจดทะเบียนและการสนับสนุนให้มีบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น เช่น การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีซึ่งอาจจะเป็นการลดภาษีในส่วนของการขยายการผลิตของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลรายได้ของรัฐบาลในแง่ของภาษี เพราะว่าหากบริษัทสามารถสร้างรายได้และกำไรได้มากขึ้นรายได้ของรัฐบาลในส่วนของภาษีก็จะมากขึ้นตาม โดยปัจจุบันรายได้จากภาษีนิติบุคคลจาก 400 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นครึ่งของรายได้ภาษีในส่วนดังกล่าวทั้งหมด

โดยในส่วนของมาตรการภาษีของบริษัทจดทะเบียนที่ครบกำหนดในช่วงสิ้นปีนี้ ยืนยันว่าจะไม่มีการขยายกำหนดเวลาในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในช่วงเวลาที่เหลือประมาณ 3-4 เดือนบริษัทที่ต้องการได้สิทธิพิเศษในเรื่องภาษีเป็นเวลา 5 ปีก็มีเวลาที่จะไปยื่นแบบแสดงรายการ(ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) 2.แนวคิดที่จะให้มีการใช้เงินสกุลดอลลาร์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ในกระดานต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและจะเป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้ตลาดทุนเป็นแหล่งในการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยน 3.การส่งเสริมให้มีการออมระยะยาวในตลาดทุน โดยจะต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ถึงสิทธิประโยชน์จากการลงทุนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการออมระยะยาว

โดยปัจจุบันการออมระยะยาวมีอยู่หลายประเภท เช่น กองทุนหุ้นระยะยาว(LTF), กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF), การประกันชีวิต,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น 4.เสริมสร้างระบบตลาดรองที่แข็งแรง โดยจะมีการเร่งให้มีการนำตารสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล เข้ามาจดทะเบียน ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย โดยในเรื่องการกำหนด Mark to market จะมีหน่วยงานกลางเข้ามากำหนด

รวมถึงการทำงานในระยะยาว เช่น การสร้าง Asia Bond ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างกำลังเริ่มที่พันธบัตรของรัฐ ซึ่งต่อไปจะบริษัทขนาดใหญ่สามารถออก Corporate Asian Bond ได้ในอนาตต 5.สร้างความเข้มแข็งหน่วยงานตลาดทุน เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปิดเสรีการเงิน(ตลาดทุน) กับต่างประเทศเพราะในช่วงระยะ 10-15 ปีข้างหน้า จะมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดโลก ซึ่งตลาดทุนไทยต้องมีการเปลี่บนแปลงแะละเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าว 6.เร่งส่งเสริมด้านบรรษัทภิบาลให้กับบริษัทจดทะเบียน เพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้ บจ. ในตลาดหุ้นไทย เพราะบรรษัทภิบาลเป็นประเด็นที่สำคัญมากในตลาดทุนเพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้ บจ. ในตลาดหุ้นไทย โดยประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากในตลาดทุน

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุน กล่าวว่า ตัวเลขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งเป้ากับตลาดทุนในช่วงเวลา 5 ปีต่อจากนี้ที่มาร์เกตแคปตลาดหลักทรัพย์จะสูง 100% จากปัจจุบันมีความเป็นไปได้มาก โดยหากพิจารณาตามทฤษฎีตามสมมติฐานว่าอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนอยู่ในระดับ 10% ต่อปี จะส่งผลให้มาร์เกตแคปตลาดหลักทรัพย์โตขึ้นจากประมาณ 5 ล้านล้านบาท ไปอยู่ที่ 7.5 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้หากมีบริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจเป็นรัฐวิสาหกิจ, บริษัทขนาดใหญ่, บริษัทข้ามชาติ หรือนวัตกรรมใหม่ๆที่จะจดทะเบียน เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าในส่วนดังกล่าวในช่วงเวลา 5 ปีน่าจะเพิ่มมาร์เกตแคปให้ตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเท่ากับว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้ามาร์เกตแคปตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะสูงถึง 10 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ หากการส่งเสริมของตลาดหลักทรัพย์เรื่องการกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนมีบรรษัทภิบาลที่ดีขึ้น ซึ่งหากได้รับการปรับอันดับในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลให้ค่านิยมของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% และจะส่งผลต่อพีอีเรโชของราคาหุ้นจะสามารถปรับขึ้นในระดับ 15-20% เช่นกัน

"เรื่องกำไรของบจ.เฉลี่ย 10% เป็นเรื่องที่ทำได้อยู่แล้ว การเติบโตในระดับที่ประเมินจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะยาก"นายก้องเกียรติกล่าวในส่วนของการดึงบริษัทข้ามชาติ เรื่องดังกล่างจะต้องหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us