Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 กันยายน 2548
‘จิรภา’กับถนนสู่ผู้นำเบญจรงค์ ขี่กระแสครัวไทยเจาะตลาดโลก             
 


   
www resources

โฮมเพจ - จิรภา เซรามิคส์

   
search resources

Pottery
จิรภา เซรามิคส์,บจ
จิรภา พิทักษ์




เส้นทางสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องเบญจรงค์หมายเลขหนึ่งในประเทศ ของบริษัท จิรภา เซรามิคส์ จำกัด ต้องย้อนกลับไปเมื่อกว่า 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ “จิรภา พิทักษ์” ผู้ก่อตั้ง ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องไฟฟ้า ระบบเงินผ่อน แม้ว่าเธอจะมีอุปสรรคด้านร่างกาย แต่ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท เธอทำยอดขายได้เป็นอันดับ 1 ในประเทศ ก่อนที่จะหันมาสู่ธุรกิจเครื่องเบญจรงค์ เพื่อต้องการวางรากฐานธุรกิจที่ยั่งยืนให้แก่ลูกๆ

“ป้าเสียแขนตั้งแต่อายุ 14 เพราะโดนไฟฟ้าช็อก ตอนนั้น คนเขาก็ดูถูก ป้าเลยตั้งมั่นว่า ฉันจะต้องสู้พิสูจน์ตัวเอง ก็เลยสู้ทำทุกอย่าง จนมาเป็นดีลเลอร์ ขายเครื่องไฟฟ้าของซิกเกอร์ ป้าก็ตระเวนเก็บเงินผ่อน แขนเดี่ยวก็ไม่กลัวใคร ตามทวงหนี้จนได้”

“ส่วนที่ป้ามาทำเบญจรงค์ เพราะต้องไปเก็บเงินคนงานในโรงงานเครื่องลายครามแห่งหนึ่งเป็นประจำ เถ้าแก่ฮง เจ้าของ ปัจจุบันท่านเสียไปแล้ว ก็เห็นว่า ป้าเป็นคนพิการ แต่ขยัน ก็ถามว่า แขนเป็นอย่างนี้ แก่ตัวไปจะตามทวงเงินได้อยู่หรือ จะสอนวิชาทำเครื่องลายครามให้ไหม ป้าเลยได้วิชานี้มา แต่ก็ยังขายเครื่องไฟฟ้าเป็นหลัก ยอมรับว่า เก็บเงินได้เยอะ บังเอิญมีโรงงานเย็บผ้าที่สมุทรสาครเขาขาย ป้าเลยตัดสินใจ กู้เงินแบงก์ซื้อต่อมา 4.5 ล้าน มาทำโรงงานเครื่องลายคราม เมื่อปี 2532 เพราะอยากให้เป็นธุรกิจหลักของลูกๆต่อไปในอนาคต”

ช่วง 2 ปีแรก เครื่องลายครามไม่ประสบความสำเร็จ จึงเริ่มขยับมาสู่เครื่องเบญจรงค์ ด้วยการคิดสูตรเฉพาะตัว ทั้งการผสมทอง การเผา และเขียนลาย ทำให้สินค้าเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นต่อเนื่อง จากเริ่มแรกมีพนักงาน 26 คน ปัจจุบัน เพิ่มเป็น 100 กว่าคน

จิรภา บอกว่า แม้สินค้าเบญจรงค์จะมีการแข่งขันสูง ทว่า จุดเด่นที่ทำให้เป็นเบอร์หนึ่งของประเทศได้ เพราะ ความสวยงาม และประณีต ซึ่งเกิดจากฝีมือช่าง ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ รวมถึงใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน น้ำทองที่ใช้เป็นส่วนผสม สกัดจากทองคำแท้ ปริมาณส่วนผสม 12% ขึ้นไป

นอกจากนี้ มีชื่อเสียงสั่งสมมานานกว่า 15 ปี ได้รับโอทอป 5 ดาว อีกทั้ง เคยได้รับคัดเลือกให้ผลิตเครื่องใช้ภาชนะต่างๆ กว่า 1,000 ชิ้น สำหรับใช้ในวังของเจ้าชายแห่งซาอุดีอาระเบียพระองค์หนึ่ง และเคยผลิตเป็นของที่ระลึกมอบแด่ภรรยาผู้นำที่ร่วมการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในปี 2546

และหัวใจสำคัญที่มัดใจลูกค้า คือ คุณภาพกล้ารับประกัน ส่งสินค้าตรงเวลา และรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากลูกค้า

หลังจากเป็นที่ยอมรับของตลาดในประเทศ ก้าวต่อไป คือ การต่อยอดสู่ตลาดโลก ซึ่งได้ลูกๆ ที่เติบโตขึ้นมาสานต่อ

ขี่กระแสครัวไทยบุกขายทั่วโลก

กิตติศักดิ์ พิทักษ์ ทายาทธุรกิจที่เข้ามาดูแลธุรกิจ เผยว่า ทุกวันนี้ กระแสนิยมอาหารไทยได้ก้าวไปโด่งดังทั่วโลก การส่งถ้วยชามลายคราม และเบญจรงค์ ไปยังธุรกิจร้านอาหารไทยทั่วโลก จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เขาเล็งเห็น

“ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ต้องใช้จานชามอย่างน้อย 500-600 ชิ้น หากมีร้านอาหารไทย 2,000 แห่งทั่วโลก ตามนโยบายของรัฐ ความต้องการภาชนะสำหรับใช้ในงาน มีกว่าล้านชิ้นทีเดียว”

สำหรับการทำตลาดส่งร้านอาหาไทยที่ผ่านมา เน้นขายตรงสู่ลูกค้า มากกว่าผ่านตัวแทนส่งออก เพราะวิธีนี้ทำให้ได้กำไรสูงกว่า โดยปัจจุบัน มีร้านอาหารไทยในต่างแดน รับสินค้าของบริษัทฯ กว่า 50 ร้าน และมีแนวโน้มสั่งเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีร้านเปิดใหม่ หรือขยายสาขาเพิ่มทุกเดือน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของทำตลาดในกลุ่มร้านอาหารไทย มาจากผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ขาดการให้ความสำคัญกับภาชนะในร้าน เลือกที่จะซื้อของจีน หรือเวียดนามแทน เพราะราคาถูกกว่ากันมาก ดังนั้น การทำตลาดจึงต้องเลือกเจาะไปที่ร้านที่เห็นความสำคัญต่อภาพลักษณ์ของความเป็นไทยด้วย

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีผลประกอบการรวมเฉลี่ยปีละ 10 ล้านบาท หักรายจ่ายแล้วเหลือประมาณ 30% ตลาดใหญ่สุดอยู่ที่การส่งออกไปประเทศแถบตะวันออกกลาง เช่น ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ มีกำลังซื้อสูงมาก และชื่นชอบสินค้าทุกประเภทที่มี “ทอง” เป็นส่วนประกอบ และขณะนี้ พยายามที่เปิดตลาดต่างประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มอียู หรือญี่ปุ่น ที่ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ภาชนะเช่นกัน ด้วยการทำตลาดเชิงรุก เช่น ลงโฆษณาสื่อต่างๆ สร้างเว็บไซต์ของตัวเอง และออกงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

ย้อนกลับมาที่ผู้ก่อตั้งธุรกิจได้ทิ้งท้าย ฝากให้คนที่กำลังท้อแท้ในการทำงาน ขอให้มองเธอเป็นตัวอย่าง ที่มีอุปสรรคทางร่างกาย แต่ถ้ามุ่งมั่นในการทำงาน ก็ประสบความสำเร็จได้

“ป้ามีวันนี้ได้ เพราะสู้ และจริงใจกับทั้งลูกค้า และลูกน้อง มีอะไรบอกเขาตรงๆ ทุกวันนี้ เวลามีออเดอร์มามากๆ ทำข้ามวันข้ามคืน ป้าก็จะอยู่ด้วย สุขก็สุขด้วยกัน เหนื่อยก็ต้องด้วยกัน คนที่ทำงานเช้าชามเย็นชามอยู่กับป้าไม่ได้ ฉะนั้นขอให้สู้ ขนาดป้ามีแขนข้างเดี่ยวยังทำได้ แล้วทำไมคนมีสองแขนครบจะท่าไม่ได้”

โทร. 0-2420-4080 หรือ www.jmceramic.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us