Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 กันยายน 2548
รัฐทุ่มหมืนล้านอุ้มสมบัติอ้างแก้ข้อพิพาทโทลล์เวย์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทางยกระดับดอนเมือง, บมจ.
Transportation
ประกอบ ตันติยาพงศ์




ปัญหาข้อพิพาทสัมปทาน "ดอนเมืองโทลล์เวย์" บานปลาย รัฐโดดอุ้มเอกชนด้วยเม็ดเงินกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทแลกกับหุ้น 450 ล้านหุ้น หรือ 60% บวกกับหนี้สินอีกกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทหลังการเจรจาประสบความล้มเหลว โดยเสนอให้ตั้งที่ปรึกษาเพื่อหาราคาซื้อขาย ที่เหมาะสม ระบุ "สมบัติ พานิชชีวะ" ผู้ถือหุ้นกว่า 30% รับเละ ขณะที่ ครม.อนุมัติตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน มี "พงษ์ศักดิ์" นั่งเป็นประธาน รวบอำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปัญหาความขัดแย้งระบบรถไฟฟ้า

นายประกอบ ตันติยาพงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทสัญญาสัมปทานบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ เปิดเผยภายหลังประชุมวานนี้ (13 ก.ย.) ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติ เรื่องการขยายสัมปทานเพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทาง โดยคณะกรรมการและบริษัทสามารถบรรลุข้อตกลง เฉพาะการขยายระยะเวลาสัมปทานอีก 6 ปีเพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทางในช่วง 5 ปีเท่านั้น

ส่วนประเด็นการกำหนดราคาค่าผ่านทางหลังครบกำหนด 5 ปียังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยคณะกรรมการต้องการให้มีการกำหนดราคาค่าผ่านทางที่แน่นอนตลอดอายุสัมปทานที่เหลืออยู่ เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของประชาชนผู้ใช้บริการหากบริษัทปรับราคาค่าผ่านทางในระดับที่สูงเกินไป ขณะที่บริษัท ต้องการกำหนดราคาค่าผ่านทางเองแต่ไม่เกินเพดาน ที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน เพราะเกรงว่าหากกำหนดแน่นอนอาจจะมีความเสี่ยงมากจนเกินไป

นายประกอบกล่าวว่า เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ คณะกรรมการจึงเสนอให้มีการซื้อหุ้นทั้งหมด ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ถืออยู่จำนวน 450 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 60% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ และเชื่อมโยงโครงข่ายทางด่วนตามนโยบายรัฐบาล โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน (FA)ไปทำรายละเอียดราคาหุ้น ซึ่งในส่วนของรัฐบาลได้เร่งให้ที่ปรึกษาฯ สรุปราคาเสนอคณะกรรมการอีกครั้งภาย ในสัปดาห์หน้าเพื่อใช้ในการเจรจาซื้อหุ้นต่อไป

สำหรับสัดส่วนการถือหุ้นของดอนเมืองโทลล์เวย์ปัจจุบัน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง 40% นายสมบัติ พานิชชีวะ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท 30% ผู้ถือหุ้นต่างชาติ 15% และผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกัน 15%

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะสรุปเรื่องเพื่อเสนอกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้

สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ซื้อหุ้นนั้น นายประกอบกล่าวว่า จะนำมาจากเงินกองทุนของกรมทางหลวงที่มีอยู่จำนวน 8,000 ล้านบาท หากซื้อในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ หรือราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท จะต้องใช้เงินจำนวน 4,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถใช้ได้ อย่างเพียงพอ แต่หากไม่สามารถใช้เงินดังกล่าวได้ จะต้องหาจากแหล่งเงินอื่นโดยต้องคำนึงถึงเรื่องตัวเลขหนี้สาธารณะด้วย

ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ซื้อคืนจะต้องต่ำกว่าราคาพาร์ แต่คงไม่สามารถนำมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ที่หุ้นละ 2 บาทมาเป็นราคาซื้อคืน เพราะการคำนวณ ราคาจะต้องนำระยะสัมปทานที่เหลือ 17 ปี และระยะเวลาสัมปทานที่ขยายเพิ่มให้อีก 6 ปีตีกลับมาเป็นค่าผ่านทางที่จะสามารถเก็บได้ รวมกับค่าเสียหาย ที่ภาครัฐอาจจะต้องชดใช้ให้บริษัทกรณีที่ขอให้มีการลดค่าผ่านทางลงด้วย

"จากการคำนวณคร่าวๆ คาดว่าใช้เงินประมาณ 4,000 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้น 450 ล้านหุ้น และรวมกับหนี้ของบริษัทจำนวน 12,000 ล้านบาท เท่ากับเรามีต้นทุนประมาณ 16,000 ล้านบาท ขณะที่คาดว่าจะมีรายได้จากการเก็บค่าผ่านทางไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท 17 ปีก็ประมาณ 17,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอีกเล็กน้อย ก็เป็นระดับที่ใกล้เคียงกัน คงจะไม่ขาดทุน"

นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคม เป็นประธาน น.พ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ เป็นรองประธานฯ นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานฯ ร่วมกับคณะกรรมการอื่นๆ รวม 21 คน เพื่อทำหน้าที่ใน การเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานบริหารกิจการระบบขนส่งมวลชนของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า หลังจากนี้ไปเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด เช่น โครงข่าย สายทาง รวมถึงการลงทุนการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาดำเนินการจะอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรม-การชุดนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการทำงาน และมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการชุดนี้ยังจะต้องนำสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ จัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เหมือนเดิม

ทั้งนี้ ในวันนี้ (14 ก.ย.) ตนจะประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเบื้องต้นสำนักนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จะนำ ผลศึกษารถไฟฟ้ามาเสนอเพื่อพิจารณารายละเอียดก่อนรวบรวมข้อมูลเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ พิจารณาต่อไปด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us