Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 กันยายน 2548
เอ็นพีแอลบ้านมีแววพุ่งรับดบ.ขาขึ้น ธปท.ชี้ครึ่งปีหลังอสังหาริมทรัพย์หดตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Real Estate
Interest Rate




ธปท.ชี้ อสังริมทรัพย์ครึ่งปีหลังหดตามราคาน้ำมันที่แพงลิบลิ่ว ส่งผลความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อฐานะทางการเงินในอนาคตลดตาม พร้อมระบุหนี้เอ็นพีแอลอาจเพิ่มขึ้นบ้างผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายการเงินได้ออกบทวิเคราะห์แนวโน้มภาวะอสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อเนื่อง สร้างแรงกดดันต่อระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้ปรับสูงขึ้นตาม ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนลดลงและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อฐานะทางการเงินในอนาคตลดลง

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับขึ้นและราคาบ้านที่มีสูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างจะส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อบ้านในราคาที่ถูกลง หรือเปลี่ยนจากซื้อบ้านเดี่ยวมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ ส่วนผู้ประกอบการคาดว่าจะปรับแผนโดยเน้นก่อสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลงตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและค่าครองชีพ จะส่งผลต่อสินเชื่อรายใหม่และสินเชื่อเดิมต่างกัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยต่อสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว จะถูกส่งไปยังสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันออกไป โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ส่งผลต่อสินเชื่อรายใหม่ ซึ่งธนาคารบางแห่งได้เริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือลดระยะเวลาการให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลทั่วไป ส่งผลให้วงเงินกู้สำหรับสินเชื่อรายใหม่ลดลงจากเดิม ในขณะที่ผู้กู้มีระดับรายได้เท่าเดิม เพราะถูกจำกัดด้วยอัตราภาระการชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์

ส่วนผลกระทบต่อสินเชื่อรายเดิม คือ หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ภาระการชำระหนี้ต่อเดือนของครัวเรือนจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่ธนาคารจะให้ผู้กู้ทำสัญญาใหม่เพิ่มจะมีสูง โดยเฉพาะธนาคารที่คิดเงินผ่อนต่องวดน้อย ซึ่งจะส่งผลให้ครัวเรือนมีความสามารถในการบริโภคสินค้าอื่นลดลงในที่สุด

อย่างไรก็ตาม โอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่อยู่อาศัยจะเพิ่มขึ้นบ้าง และอาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ตามมา ซึ่งกลุ่มที่เริ่มขอสินเชื่อในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำหรือในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมาจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากครัวเรือนนั้นทำการก่อหนี้เกินควรเป็นผลจากการขาดความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และไม่มีรายได้ประจำ

ทั้งนี้ โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้คงมีไม่มาก ซึ่งจากวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พบว่า ครัวเรือนมีหนี้ที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนเพียง 12% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยมีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 396,000 บาทต่อครัวเรือน หรือคิดเป็น 1.38 เท่าของรายได้ต่อปี และในจำนวนประมาณ 21% มีหนี้ครัวเรือนมากกว่า 2 เท่าของรายได้ต่อปี โดยครัวเรือนที่มีสัดส่วนการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยสูง คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานสายวิชาชีพ

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา การกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มาจากอุปสงค์จริง ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้จึงไม่น่าจะมากนัก รวมทั้งความเสี่ยงของความน่าจะเป็นที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะผิดนัดชำระหนี้แก่ธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาต่อเสถียรภาพของภาคการเงิน เพราะหนี้ที่อยู่อาศัยมีความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุน และมีการกันสำรองที่เพียงพอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us