|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซีเอ็ดปรับทิศทางสู่ร้านหนังสือสะดวกซื้อยึดคอนเซ็ปต์ แนวเดียวกับบุ๊คสไมล์ในร้านเซเว่นฯ พร้อมทั้งเผยผลกำไรเติบโต 30% ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน พร้อมดันคีออสในสถานีรถไฟฟ้าอีก 8 แห่งรองรับไลฟ์สไตล์คนกรุงเทพฯเปลี่ยน
นายทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทได้ปรับรูปแบบร้านหนังสือซีเอ็ด ให้เป็นรูปแบบของร้านหนังสือสะดวกซื้อ เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปิดสาขาย่อยในโลตัส เอ็กซ์เพรส รวมทั้งมีการนำสินค้าที่ไม่ใช่หนังสือมาจำหน่ายในร้านมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 15% ที่เหลืออีก 75% เป็นสินค้า ประเภทหนังสือ ส่งผลให้รูปแบบของร้านมีการพัฒนาจนมีลักษณะใกล้เคียงกับร้านสะดวกซื้อมาก ซึ่งรูปแบบดังกล่าวคล้ายคลึงกับร้านบุ๊คสไมล์ที่เข้าไปเปิดในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
อย่างไรก็ตาม ร้านซีเอ็ดฯมีจุดแตกต่างจากร้านบุ๊คสไมล์ตรงที่มีสินค้าหลากหลายกว่า เนื่องจากมีพันธมิตรทั้งสำนักพิมพ์และค่ายผลิต ซีดีเพลงต่างๆ มากมาย โดยล่าสุดได้นำซีดีเพลงของค่ายแกรมมี่เข้ามาวางจำหน่ายร่วมด้วย เนื่องจากบริษัท แกรมมี่ เป็นหุ้นส่วนรายใหม่ที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ 14%
ส่วนผลกำไรในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30% จากปีที่แล้วแม้เศรษฐกิจ ในประเทศจะแย่ลงก็ตาม และคาดว่าจะมีการเติบโตของผลกำไรในอัตราเดียวกันนี้ต่อเนื่องไปอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการจัดการภายในองค์กรเอง โดยปีหน้าจะใช้เงินลงทุน 30 ล้านบาทในการขยายศูนย์กระจายสินค้าซีเอ็ดที่กิ่งแก้วบางพลี จากเดิม 7,000 ตร.ม.เพิ่มเป็น 15,000 ตร.ม. เพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อหนังสือที่จะเพิ่มขึ้นอีกทั้งจากร้าน และจากอินเทอร์เน็ต โดยลูกค้าจะใช้เวลาซื้อหนังสือไม่เกิน 1 วันนับจากวันสั่งซื้อเพื่อไม่ให้ลูกค้าเสียอารมณ์คอยนานในการซื้อหนังสือจากทางร้าน
นอกจากนั้น ยังเป็นผลพวงจากการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่ทำต่อเนื่องมา 3 ปีแล้ว โดยระบบจะแล้วเสร็จในปีนี้ ส่งผลให้บริษัทสามารถ ลดต้นทุนการจ้างพนักงานลงได้อีก 20% จากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันบริษัทมีจำนวนสาขาร้านซีเอ็ดฯทั่วประเทศรวม 400 กว่าแห่ง แบ่งเป็นสาขาใหญ่ 189 สาขา และสาขาย่อยอีก 160 สาขา โดยในปีนี้ตั้งเป้าที่จะเปิดให้ครบ 30 สาขา ส่วนในปีหน้าจะเปิดเพิ่มอีก 20 สาขา โดยมีมูลค่าการลงทุน 1.5 แสนบาทต่อสาขา
ล่าสุดบริษัทฯเพิ่งเปิดสาขาย่อยแห่งใหม่ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท โดยเตรียมจะเปิดเพิ่มในพื้นที่ชอปปิ้งมอลล์ของสถานีฯ ให้ครบทั้งหมด 8 แห่ง โดยมีการทำสัญญาเช่าพื้นที่ขายกับบริษัท เมโทรมอลล์ที่ได้รับสัมปทานในอัตรา 3,000 บาทต่อตารางเมตรตลอดอายุสัญญาเช่า 3 ปี ซึ่งบริษัทฯจะใช้เงินลงทุนต่อสาขาประมาณ 5 แสนบาท
การเปิดสาขาย่อย หรือคีออสของร้านซีเอ็ดที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ถือเป็นการเปิดเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์การเดินทางของคนกรุงเทพฯที่กำลังจะเปลี่ยนไปภายใน 1 ปีข้างหน้า โดยมีราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเป็นตัวเร่ง ทั้งนี้จะมีการใช้สถานีต่างๆ เป็นจุดนัดพบและเป็นแหล่งเดินชอปปิ้งด้วย
ส่วนการเลือกสาขาร้านซีเอ็ดฯนั้นจะเลือกเพียง 8 สถานีจากจำนวน ทั้งหมด 11 สถานีที่มีชอปปิ้งมอลล์ เนื่องจากบริษัทฯพิจารณาจากจำนวน ผู้โดยสารรถไฟฟ้าฯ เป็นหลัก ส่งผลให้มี 3 สถานีที่บริษัทฯตัดสินใจไม่ไปเปิดสาขา ได้แก่ คลองเตย, ศูนย์ฯสิริกิติ์ และเพชรบุรี ส่วนสาขาสถานีฯ สุขุมวิทที่เพิ่งเปิดไปนั้นมีจำนวนทราฟฟิก หรือจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าฯ 40,000 คนต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายใน 3 ปี ทั้งนี้จะส่งผลให้จำนวนลูกค้าที่เข้าร้านซีเอ็ดฯเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่มีอยู่แล้วประมาณ 2 ล้านคนต่อเดือนต่อจำนวนสาขาใหญ่ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนหนังสือที่วางขายในร้านส่วนใหญ่เป็นหนังสือตามกระแสซึ่งสะดวกต่อการซื้อ เช่น หนังสือพิมพ์
|
|
|
|
|