Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กันยายน 2548
50องค์กรชักธงรบต้านกฟผ.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ปตท., บมจ.
Electricity




50 องค์การพันธมิตรคัดค้านการขายสมบัติชาติ ผนึกกำลังต้าน กฟผ.เข้าตลาดหุ้น เตรียมแจกใบปลิวทั่วกรุง 1 แสนใบ ชักชวนประชาชนเป็นแนวร่วมคัดค้าน หมอเหวงระบุชัด แปรรูปทำค่าไฟพุ่งซ้ำเติมค่าครองชีพคนไทย แฉค่าเอฟทีใหม่บวกกำไรโอเวอร์ ใช้วิธีสุดพิสดารรีดเลือดจากปู ด้านนักวิชาการจี้ทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซของ ปตท.ใหม่ อัด กฟผ.ส่อเค้าผูกขาดมุ่งแสวงกำไรป้อนผู้ถือหุ้นซ้ำรอย ปตท.ไม่สนประชาชน

น.พ.เหวง โตจิราการ ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย และแกนนำกลุ่มพันธมิตร เปิดเผยภายหลังการประชุม ตัวแทนองค์การ พันธมิตรคัดค้านการขายสมบัติชาติกว่า 50 แห่ง วานนี้ (11 ก.ย.) เพื่อหารือกันถึงแนวทางในการเคลื่อนไหวคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยเฉพาะบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)ที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า สัปดาห์หน้าองค์การพันธมิตรจะนำใบปลิวที่มีเนื้อหาสาระคัดค้านการฉวยโอกาสปรับขึ้นค่าไฟ และ การแปรรูป กฟผ. จำนวน 100,000 ใบ ออกแจกจ่ายทั่วกรุงเทพมหานคร รวมถึงจะเปิดอภิปรายในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เพื่อกระจายข่าวสาร และดึงประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วมในการคัดค้านเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่องค์การพันธมิตรฯ ต้องการเรียกร้องคือ การไม่ไปซ้ำเติมประชาชนในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพรอบด้าน แต่รัฐบาลยังปล่อยให้ กฟผ.ขึ้นค่าไฟอีก 46.83 สตางค์ ทำให้ค่าไฟ ต่อหน่วยเท่ากับ 2.72 บาท นอกจากนี้ ยังนำวิธีพิสดารมาคำนวณ ค่าเอฟทีจากค่าเชื้อเพลิงล่วงหน้า 4 เดือนมาใช้ บวกเพิ่มเข้าไปในค่าไฟอีกทำให้ประชาชนเดือดร้อนเพิ่มไปอีก โดยผล กระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกิดจากแนวทางที่รัฐบาลพยายามผลักดันกระจายหุ้นของ กฟผ.เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

นอกจากนี้ การใช้ข้ออ้างว่าราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นค่าไฟฟ้า ก็ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลหลอกลวงประชาชน เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าในประเทศส่วนใหญ่ใช้ก๊าซถึงร้อยละ 70 และราคาก๊าซวันนี้ไม่ได้สูงขึ้นเหมือนน้ำมัน โดยมีราคาเพียง 160 บาทต่อล้านบีทียูเท่านั้น และสามารถนำมาคำนวณเป็นต้นทุนผลิตไฟฟ้าเพียง 1.49 บาทหน่วยเท่านั้น เมื่อบวกกำไรให้แก่องค์กร เช่น กฟผ. และการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แห่งละ-ร้อยละ 20 จะได้ราคาค่าไฟฟ้าแค่ 2.18 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น ราคาค่าไฟ 2.72 บาทต่อหน่วย ที่รัฐบาลจะจัดเก็บใหม่นี้จึงเป็นการเอาเปรียบประชาชนมากเกินไป หวั่นซ้ำรอยผูกขาดเหมือน ปตท.

นางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซ็น นักวิชาการกลุ่มพลังไท วิเคราะห์การแปรรูป กฟผ.ขณะนี้ว่า จะซ้ำรอยการแปรรูป ปตท. ซึ่งยังคงสิทธิผูกขาดต่างๆ เอาไว้ และทำกำไรเพื่อประกันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น โดยขาดระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ผู้บริโภค ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนจนถึงบัดนี้

เธอบอกว่า เวลานี้แม้ ปตท.จะมีสถานะเป็นบริษัท แต่ได้มีการโอนสิทธิประโยชน์ในฐานะรัฐวิสาหกิจและอำนาจรัฐบาลอย่างให้แก่ ปตท. ที่สำคัญคือ สิทธิในการผูกขาดกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สิทธิในการเวนคืน และสิทธิในการยกเว้น ภาษีต่างๆ ปตท.จึงอยู่ในฐานะผู้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวในการจัดหาก๊าซในประเทศ และการลงทุนในโครงการต่างๆ ของ ปตท. ยังได้รับการประกันผลตอบแทนการลงทุนในโครงการ (IRROE) จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึง 16% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ปตท.จึงเป็นผู้ผูกขาดรายเดียวที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงใดๆ ในการลงทุน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแปรรูปของ ปตท.ที่เห็นได้ชัดมีเพียงเป้าหมายซึ่งเดิมเป็นรัฐวิสาหกิจดำเนินกิจการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ขณะที่เป้าหมายเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชนซึ่งเป็นข้ออ้างสำคัญในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันให้บริการประชาชน

"ก่อนการแปรรูป ปตท.เมื่อปี 44 มีคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการหลังนำหุ้นเข้าตลาดคือ จะแยก ธุรกิจท่อส่งก๊าซ ออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายในหนึ่งปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขันลดการผูกขาด และจะจัดตั้งองค์กรกำกับอิสระก๊าซและไฟฟ้าเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่จนบัดนี้กลับไม่มีการแยกธุรกิจท่อส่งออกไปและเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจจัดหาก๊าซ ไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับอิสระ จนบัดนี้ ปตท. ยังคงผูกขาดอยู่เช่นเดิม" นักวิชาการกลุ่มพลังไท ทวงถาม

สำหรับคำสัญญาที่รัฐบาลรักษาและกระทำตามมีเพียงข้อเดียวคือ ประกันผลตอบแทนนการลงทุนของ ปตท. ในอัตรา 16% ตามมติ ครม. เมื่อเดือน ธ.ค. 46 ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซ เส้นที่ 3 ของ ปตท. ซึ่งมีมูลค่า 100,000 ล้านบาท ท่ามกลางข้อวิจารณ์ว่าแผนการลงทุนดังกล่าวไม่คุ้มค่าการลงทุน เรื่องนี้ นายณอคุณ สิทธิพงษ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ก็ยอมรับในงานประชาพิจารณ์ แปรรูป กฟผ. ที่วุฒิสภาว่า แผนลงทุนท่อก๊าซเส้นที่ 3 ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยตัวของมันเอง

"แต่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่กำหนด ท่อก๊าซเส้นที่ 3 จะต้องเก็บค่าผ่านท่อที่อัตรา 23.5 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งจะต้องนำไปเกลี่ยราคาท่อส่งก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 ที่ค่าผ่านท่อมีราคาอยู่ที่ 19.4 บาท/ล้านบีทียู เพื่อให้ราคาเป็นที่ยอมรับได้ เป็นการเพิ่มภาระให้ประชาชนผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทน 16% ตามที่รัฐบาลประกันไว้" นางชื่นชม ให้ข้อมูล

ไม่เพียงเท่านั้น ปตท.ยังขอขยายแผนและงบลงทุนจากเดิม 100,000 ล้านบาทเป็น 150,000 ล้านบาท โดยอ้างความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแผนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าหรือ พีดีพี 2004 และราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า การลงทุน ของ ปตท.ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงหรือประสิทธิภาพการลงทุนแต่อย่างใด เพราะยิ่งใช้งบลงทุนสูง ผลตอบแทนก็สูงมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลประกันผลตอบแทนล่วงหน้าไว้ให้แล้วนั่นเอง

เธอบอกว่า การผูกขาดจัดหาก๊าซของปตท. เพื่อจำหน่ายต่อแก่ลูกค้าหลักๆ คือ กฟผ. ประมาณ 36% โรงไฟฟ้าของผู้ลงทุนรายใหญ่อิสระ (IPP) 26% และผู้ลงทุนรายย่อย (SPP) 15% ที่เหลือเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซและปิโตรเคมี ดังนั้นรายได้หลักของ ปตท. ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ จึงมาจากภาคการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสูตรโครงสร้างราคาก๊าซ ที่ ปตท. ได้รับ คือ ราคาเฉลี่ยก๊าซที่ปากหลุมบวกกำไร บวกค่าผ่านท่อ (19.4 บาท/ล้านบีทียู) โดยค่าผ่านท่อ คำนวณจากฐานอัตราผลตอบแทนการลงทุนในการวางท่อก๊าซ 18% ซึ่งถือว่าสูงมาก

จุดนี้ทำให้ ปตท.มีรายได้มหาศาลจากการจำหน่ายก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ หากเทียบเงิน ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจ่ายในแต่ละ 100 บาท จะไปตกอยู่กับปตท.เกือบ 43 บาท ขณะที่ กฟผ.จะได้รับเพียง 27-28 บาท แต่เมื่อขึ้นค่าไฟแต่ละครั้ง กฟผ.มักจะตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บริโภค แต่ผู้ขูดรีดที่แท้จริงคือ ปตท.ไม่เคยถูกวิจารณ์เลยŽ นางชื่นชม กล่าว จี้ทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซ

นักวิชาการอิสระจากกลุ่มพลังไท เสนอว่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อลดภาระของประชาชนคือ ทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซโดยลดค่าผ่านท่อให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยให้ ปตท.กำไรมากโดยผู้บริโภครับภาระอย่างไม่เป็นธรรมดังเช่นที่เป็นอยู่

"บทเรียนจากกรณีแปรรูป ปตท. คือ การปล้นเงียบ ปล้นอย่างถูกกฎหมายและสง่างาม จึงไม่ควรปล่อยให้ กฟผ. เจริญรอยตาม ปตท." นางชื่นชม กล่าว

ด้านนางสาวสายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ซึ่งเคลื่อนไหวคัดค้านการแปรรูป กฟผ. และการขึ้นค่าไฟอย่างต่อเนื่อง ชี้ว่า จากประสบการณ์ของ ปตท. มาถึง กฟผ. หากยังไม่มีองค์กรกำกับกิจการไฟฟ้าที่แท้จริงและทำหน้าที่ได้จริง ก็ต้องไม่นำกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

ประเด็นองค์กรกำกับอิสระที่องค์กรผู้บริโภค เรียกร้องก็คือ เป็นองค์กรถาวรที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการไฟฟ้าฯ โดยคณะกรรมการฯ ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีความทับซ้อนของผลประโยชน์ ไม่ถูก แทรกแซงจากนักการเมืองและธุรกิจ และมีอำนาจจริงไม่ใช่องค์กรกำกับฯชั่วคราวที่ตั้งขึ้นมาขัดตาทัพดังเช่นที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลานี้ ที่สำคัญต้องมีกระบวนการสร้างความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูล เช่น โครงสร้างราคาเชื้อเพลิง, สูตรการเรียกเก็บค่าพลังงานและบริการต่างๆ จากผู้บริโภค รวมถึงการมีตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมในคณะกรรมการกำกับอิสระด้วย

นอกจากนั้น การออก พ.ร.บ.การประกอบกิจการไฟฟ้าจะต้องครอบคลุมกิจการก๊าซและพลังงานโดยรวมไม่ใช่เพียงพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น เพราะการผลิตไฟฟ้านั้นใช้ก๊าซฯ ซึ่ง ปตท. ผูกขาด เป็นเชื้อเพลิงในสัดส่วนสูงกว่า 70%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us