Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กันยายน 2545
กรุงไทยหนุนระบบ"เออาร์ท" เสริมแข็งโชห่วย-สู้ค้าปลีก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
รวมค้าปลีกเข้มแข็ง, บจก.
Retail




ศูนย์วิจัยกรุงไทยวิเคราะห์และชี้ข้อดีของการ ตั้งบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งหรือเออาร์ที ที่กระจายสาขากระตุ้น ให้เกิดการแข่งขันในตลาดคอน-วิเนี่ยนสโตร์ สร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกที่เป็นโชห่วย

สำนักงานวิจัยธุรกิจธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ได้เผยแพร่บทวิจัยหัวข้อเรื่อง "บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง: เชนค้าปลีกสายเลือดไทย"ระบุว่านับจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศเมื่อปี 2540 ผู้ประกอบการค้าปลีกคนไทยที่มีธุรกิจหลายประเภท ต้องประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้จำเป็นต้องขายหุ้นธุรกิจค้าปลีกบางประเภทให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ซึ่งพร้อมไปด้วยเงินทุน เทคโนโลยี ตลอดจนระบบการบริหารงานและการจัดการที่ดี

ประกอบกับรัฐบาลต้องการเงินการลงทุนจากต่างชาติ และที่ดินในประเทศมีราคาต่ำ ทำให้ค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะค้า ปลีกประเภทดิสเคานต์สโตร์ ซึ่งมีการขายสินค้าในราคาถูกสอดคล้อง กับความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกดั้งเดิม ทั้งร้านโชห่วย ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ต้องปิดตัวลงไปเป็นจำนวนมาก

ประมาณว่าผู้ประกอบการ ค้าปลีกดั้งเดิมก่อนเกิดวิกฤติ เศรษฐ กิจมีอยู่ประมาณ 500,000 ราย ลดลงเหลือ 300,000 รายใน ปี 2544 ทำให้หอการค้าไทยและผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขเพื่อจำกัดการขยายตัวของค้าปลีกสมัยใหม่ โดยเฉพาะดิสเคานต์สโตร์ที่ขยายตัวมากในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา

เชนค้าปลีกใหม่ถือกำเนิด จากนโยบายของ"รัฐบาล"

จากความพยายามแก้ไขปัญหาค้าปลีกของรัฐบาล ก่อนที่ร่างกฎหมายค้าปลีกซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและประกาศใช้ในช่วงปลายปี 2545 ถึงต้นปี 2546 รัฐบาลได้นำกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ก่อน อาทิ กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร การควบคุมเวลาเปิด-ปิด กฎหมาย แข่งขันทางการค้า เป็นต้น แต่ก็ ไม่สามารถสกัดกั้นการรุกคืบอย่างรวดเร็วของค้าปลีกต่างชาติได้ ในที่สุด รัฐบาลจึงได้จัดตั้งบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง (Allied Retail Trade : ART) หรือเออาร์ทีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 ในรูปแบบร้านชุมชนสะดวกซื้อ (Neighborhood Store)

วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาโชห่วยไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถค้าขายอยู่ได้ โดยมีแนวคิดว่าหากสามารถรวบรวมคำสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากได้ จะทำให้มีอำนาจมากขึ้นในการต่อรองกับซัปพลายเออร์ให้ขายสินค้าในราคาถูกเท่ากับค้าปลีกสมัยใหม่ขนาดใหญ่

การขยายสาขาของเออาร์ทีอยู่ในรูปของเฟรนไชส์ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แก่ ร้านโชห่วย ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว โดยเฉพาะร้านค้าปลีกที่บริหารงานโดยคนรุ่นใหม่ที่สามารถเข้าใจแนวความคิดของเออาร์ที สิ้นปี 2545 คาดว่าจะมีสมาชิก 10,000 ราย และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 และ 100,000 รายในปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ

สมาชิกสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นศูนย์รวมการจัดซื้อและการกระจายสินค้า และกลุ่มร้านที่ซื้อแฟรนไชส์ เออาร์ที ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 395 ล้านบาท ถือหุ้นโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ร้อย ละ 51 และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ร้อยละ 49 ทั้งนี้หลังจากดำเนินงาน 3 ปีไปแล้ว มีนโยบายจะกระจายหุ้นให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการค้าปลีกที่เข้าเป็นสมาชิก มีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหาร 11 ราย มาจากภาคเอกชน 7 ราย และตัวแทนจากภาครัฐ 4 ราย โดยเออาร์ทีพร้อมที่จะเปิดรับสมาชิกในเดือนกันยายนนี้

รูปแบบร้านเออาร์ที

ร้านเออาร์ที จำแนกเป็น 5 แบบคือ : (1) มี 2 คูหาติดแอร์ (2) มี 2 คูหาไม่ติดแอร์ (3) มี 1 คูหาติดแอร์ (4) มี 1 คูหาไม่ติดแอร์ (5) การปรับปรุงร้านใหม่

รูปแบบ (1) (4) จะมีป้ายสัญญลักษณ์ของเออาร์ทีติดตั้งด้วย ขณะที่แบบที่ (5) ชื่อร้านเดิมจะอยู่คู่กับป้ายเออาร์ที ทั้งนี้เออาร์ทีได้เตรียมงบประมาณไว้ 60 ล้านบาท สำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านต้นแบบ 2,000 แห่ง เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมในด้านการจัดรูปแบบร้าน การเรียงสินค้า การให้บริการ การจัดเก็บสินค้า การสั่งสินค้า การสต็อกสินค้า และการจัดทำระบบบัญชี จำนวนสินค้าที่จะขายในเออาร์ที ประมาณ 200 - 300 รายการ โดยต้องเป็นสินค้าที่มียอดขายดีที่สุดอันดับ ต้น ๆ ในชีวิตประจำวัน นับรวมสินค้าเกษตรและสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ด้วย

ประโยชน์ที่สมาชิกเออาร์ทีจะได้รับ

สมาชิกเออาร์ที จะต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และเสียภาษีรายได้ตามความเป็นจริง ซึ่งสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆ มาหักออกจากรายได้ แตกต่างจากเดิมที่เคยเสียภาษีในรูปของเหมาจ่าย อย่างไรก็ดี ประโยชน์ที่ได้รับมีมาก อาทิ
-ได้รับการออกแบบตกแต่งร้านใหม่ ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงร้านเองได้รับความรู้ทางด้านการบริหารและการจัดการร้านที่ทันสมัย
-ได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจาก บอย. ในการปรับปรุงกิจการ ขยายธุรกิจ
-สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
-สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง และมีบริการส่งสินค้าถึงร้านค้ากรมสรรพากรยอม ให้นำเงินลงทุนไปหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า รวม ทั้งยกเว้นเก็บภาษีย้อนหลัง เพื่อให้ร้านค้าย่อยเข้าสู่ระบบภาษี
-ได้รับการส่งเสริมทางการตลาด
-พื้นที่ในร้านสามารถทำรายได้เสริมจากการขายป้ายโฆษณา เป็นต้น

เออาร์ทีคู่แข่งของเชนคอนวิเนี่ยนสโตร์

การที่เออาร์ทีมีรูปแบบเป็นร้านสะดวกซื้อ ดังนั้น การขยาย ตัวของเออาร์ทีก็เท่ากับเพิ่มการแข่งขันในตลาดคอนวิเนี่ยนสโตร์ แม้วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเออาร์ทีมิใช่ต้องการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น แต่ตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโชห่วยไทยที่เข้าเป็นสมาชิก ขณะเดียวกันประเภทสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน ทำให้เออาร์ทีไม่ใช่คู่แข่งขันโดยตรงกับเชนคอนวิเนี่ยนสโตร์อื่น ๆ แต่อาจมีผลกระทบบ้าง เพราะจะมีสินค้าบางรายการที่เหมือนกัน ปัจจุบันร้านค้าที่สนใจจะเข้าร่วมกลุ่มกับเออาร์ที ได้แก่ ร้านค้าสวัสดิการของ 3 เหล่าทัพ ร้านค้าสวัสดิการขององค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ทั่วประเทศ เป็นต้น

"เออาร์ที จะส่งผลต่อการแข่งขันในค้าปลีกประเภทคอน- วิเนี่ยนสโตร์มากน้อยเพียงไร และจะแก้ปัญหาการปิดตัวของโชห่วยไทยได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี การปรับตัวในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกเออาร์ที และการให้ความร่วมมือของซัปพลายเออร์ในการขาย สินค้าราคาถูกแก่เออาร์ที ตลอดจน มาตรการต่างๆของรัฐบาล" บริษัทศูนย์วิจัยกรุงไทยสรุป

โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของกระทรวงพาณิชย์ที่กำลังแก้ไขก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจะ เป็นมาตรการคุมเข้มค้าปลีกที่ บางมาตราจะกล่าวถึง การเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการผลิต สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ที่ลอกเลียนแบบบรรจุภัณฑ์ของผู้อื่น

อย่างไรก็ตาม คาดว่าร้านโชห่วยส่วนใหญ่คงเข้าร่วมเป็นสมาชิกเออาร์ที แต่อาจมีร้านโชห่วยขนาดเล็กที่แต่ละวันมี ยอดขายไม่มาก อาจไม่เข้าร่วม เพราะการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย คิดเป็นจำนวนเงินไม่มาก และไม่ยุ่งยาก แต่หากเข้าระบบภาษีอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาทิ ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี ค่าจ้างพนักงานบัญชี เป็นต้น และเสียภาษีตาม จริง ซึ่งอาจจะมากกว่าวิธีเหมาจ่าย แม้ในความเป็นจริง สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักก่อนคำนวณภาษีได้ และทางกรมสรรพากรยังให้สิทธินำเงินลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากจะมีลักษณะการรวมตัวของโชห่วยในรูปของ เออาร์ทีแล้ว ยังมีการรวมตัวของ ยี่ปั๊วและกลุ่มซัปพลายเออร์ จัดตั้งเป็นสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทยเมื่อกลางปี 2545 ซึ่งจะทำให้กลุ่มยี่ปั๊ว สามารถอยู่ได้ในภาวะการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกประเภทดิสเคานต์ สโตร์ด้วยเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us