|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
CPF ซื้อธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารพร้อมรับประทานเพื่อเสริมศักยภาพการเป็น "ครัวของโลก" ขึ้นเป็นผู้นำตลาดไส้กรอกของประเทศไทย ด้วยสัดส่วนตลาดกว่า 40% พร้อมได้ตลาดอาหารไทยแถบสแกนดิเนเวีย รวมถึงได้ตลาดและขยายฐานการผลิตเนื้อสุกรปรุงสุกทันที
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมาคณะกรรมการบริษัท CPF มีมติอนุมัติให้บริษัท ซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ CPF ถือหุ้นทางตรง และทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของทุนที่ออกและชำระแล้วเข้าซื้อทรัพย์สินในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด (C.P. Interfood (Thailand) Company Limited : CPIF) โดยธุรกิจที่จะเข้าซื้อ ได้แก่ ธุรกิจการผลิต และจำหน่ายผลิต-ภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน บาโลน่า ลูกชิ้น แหนม หมูยอ นักเก็ต เบอร์เกอร์ และข้าวกล่องอาหารไทยสำเร็จรูปแช่แข็ง เป็นต้น
โดย ซี.พี.อินเตอร์ฟู้ดฯ เป็นผู้นำในตลาดไส้กรอกในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ ซีพี และมิสเตอร์ซอสเซส และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารไทยพร้อมรับประทานไปยังประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียน ซึ่งแบรนด์ Kitchen Joy ของ ซี.พี.อินเตอร์ ฟู้ด ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
การเข้าซื้อธุรกิจในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มบริษัท CPF ได้มาซึ่งฐานการผลิต ฐานลูกค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย และส่วน แบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์และอาหารแช่แข็งทันที อันจะทำให้ CPF เป็นผู้นำในตลาดไส้กรอกของประเทศไทย และยังเป็นการเสริม ธุรกิจการผลิตอาหารไทยส่งออกไปต่างประเทศของ CPF ให้มีความแข็งแกร่ง และมีตลาดที่หลากหลายขึ้น
นอกจากนี้ การรวมธุรกิจนี้ยังส่งผลให้ต้นทุนในการผลิต ต้นทุนในการทำการตลาดประชาสัมพันธ์ ต้นทุนในการขาย มีประสิทธิภาพดีขึ้น อันจะส่งผล ให้มีอัตราการทำกำไรให้สายธุรกิจนี้ดีขึ้นและการรวมธุรกิจในครั้งนี้ เป็นส่วนสุดท้ายในการ ต่อยอดให้กลุ่มบริษัท CPF ขณะ เดียวกันก็เป็นการรวมธุรกิจผู้ผลิตอาหารในประเทศไทยของเครือเจริญโภคภัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันดังกล่าว ประกอบด้วย สินทรัพย์ถาวร สินค้าคงเหลือในมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 1,000 ล้านบาท
โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ถาวร ประกอบด้วย ที่ดิน อาคารโรงงาน สำนักงาน และสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ และอื่นๆ มูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 785.5 ล้านบาท กำหนดมูลค่าโดยอ้างอิงจากราคาประเมินของผู้ประเมินราคาอิสระ และเกณฑ์ ที่ใช้ในการกำหนดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ที่ประกอบด้วยสินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิตวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง และอื่นๆ มูลค่ารวมทั้งสิ้น ประมาณ 214.5 ล้านบาท กำหนดมูลค่า ตามราคาตลาด
อย่างไรก็ตาม มูลค่า ของสินค้าคงเหลือที่จะต้องชำระจริงอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากจำนวนนี้ได หากปริมาณสินค้า ณ วันที่มีการส่งมอบเปลี่ยน แปลงไปจากปริมาณสินค้าที่ระบุไว้ในสัญญาข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญของ CPIF สำหรับงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีดังนี้คือ ยอดขาย 2,906 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา 260 ล้านบาท กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 177 ล้านบาท กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 111 ล้านบาท
|
|
|
|
|