|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สามชัยสตีลฯ ชี้ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศขยับตัวขึ้นแน่ หลังจาก ตลาดโลกดีดตัวขึ้นไปแล้ว 450 เหรียญสหรัฐ/ตัน และผู้ผลิตในประเทศ 3 รายหันไปส่งออก โดยมีออเดอร์ในมือแล้ว 3 แสนตัน เนื่องจากราคาส่งออกดีกว่าขายในประเทศ ยันราคาเหล็กพุ่งส่งผลดีต่อบริษัทฯทำ ให้ลูกค้าหันมาสต๊อกท่อเหล็กเพิ่ม มั่นใจต้นปีหน้าผลิตท่อเหล็กขนาด 18 นิ้วได้รองรับโครงการเมกะโปรเจกต์มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท พร้อมลงทุนเพิ่มเติมอีก 300 ล้านบาท เพื่อผลิตเป็นท่อเหล็กใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
นายประวาส สันตวะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สามชัย สตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตท่อเหล็กรายใหญ่ ของไทย เปิดเผยว่า จากแนวโน้มราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนของโลกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2548 ที่มีราคาต่ำสุดอยู่เพียงตันละ 400 เหรียญสหรัฐ ได้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 450 เหรียญสหรัฐต่อตันในปัจจุบัน และคาดว่าในปลายปีนี้ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนจะขึ้นไปแตะ 500 เหรียญ สหรัฐ เนื่องจากจีนหันมานำเข้าเหล็กหลังจากที่ชะลอการนำเข้าลง รวมทั้งผู้ผลิตได้ลดกำลังการผลิตลงทำให้มีปริมาณเหล็กแผ่นลดลง
นอกจากนี้ ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทย 3 ราย คือ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสทรี บ.จีสตีล และ บ.นครไทยสตริปมิลล์ ก็มีออเดอร์ส่งออกเหล็ก แผ่นรีดร้อนในมือจำนวน 3 แสนตัน เพราะราคา ส่งออกดีกว่าขายในประเทศ ซึ่งตนเชื่อว่าสุดท้าย ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยจะมีการปรับขึ้น ราคาขายในประเทศจากปัจจุบันที่ขายในราคาที่ต่ำกว่าเพดานการควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ กก.ละ 22.50-23 บาท แต่เอกชนขายอยู่ 20 บาทต่อ กก.
จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลดีต่อบริษัทฯ ทำให้ลูกค้าหันมาสต๊อกท่อเหล็กเพิ่มขึ้น เนื่อง จากเกรงว่าราคาเหล็กจะสูงกว่านี้ ทำให้ไตรมาส 3 นี้มีกำไรเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมายอดการขายท่อเหล็กจะปรับตัวลดลงถึง 30% ในไตรมาส 2/2548 จากการใช้ของภาค อสังหาริมทรัพย์ ที่ชะลอตัวลงก็ตาม แต่การใช้ท่อเหล็กของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลยังไปได้ดี ทำให้ยอดการใช้ท่อเหล็กของไทยยังมีการ ขยายตัวอยู่ปีละ 10-15%
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างผลิตท่อเหล็กขนาด 18 นิ้ว มูลค่าเงินลงทุน 900 ล้าน บาทนั้น ขณะนี้เครื่องจักรจากญี่ปุ่นได้ส่งมาถึงไทยแล้ว โดยจะเริ่มดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรและแล้วเสร็จภายในกลางธันวาคมนี้ หลังจากนั้นจะทดลองเดินเครื่องจักรผลิต ซึ่งจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมกราคม 2549 มีกำลังการผลิตเบื้องต้นในปีแรก 5 หมื่นตันจากกำลังการผลิตจริง 9.6 หมื่นตัน ซึ่งสามารถเพิ่มกำลังการ ผลิตได้ถึง 1.8 แสนตันทันทีหากความต้องการใช้ท่อเหล็กขนาดใหญ่ในไทยเติบโตขึ้น ท่อเหล็ก ขนาด 18 นิ้วจะมาใช้ทดแทนเหล็กโครงสร้าง รูปพรรณโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง ซึ่งต่างประเทศนิยมมาก จึงถือว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าราง รวม ไปถึงการก่อสร้างอาคาร โรงงานต่างๆ ของภาคเอกชน เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทฯมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมเพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตท่อเหล็ก ครบวงจร ซึ่งขณะนี้ศึกษาอยู่ 2-3 โครงการ โดยหนึ่งในนั้นคือ การผลิตท่อเหล็กเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและปิโตรเลียม เพื่อรองรับโครงการลงทุนของ ปตท.ที่จะวางท่อส่งน้ำมันจากอยุธยาขึ้นไปทางภาคเหนือที่ลำปางต่อเนื่องไปจนถึงจีนตอนใต้ และโครงการปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการส่งออกไปจำหน่ายในอาเซียน อาทิ เวียดนามที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น คาดว่าโครงการ นี้จะใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมอีก 200-300 ล้านบาท เพื่อซื้อเครื่องตรวจสอบคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานจากสถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐฯ(API) โดยจะใช้เวลาติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพียง 1 ปี เชื่อว่าสินค้าท่อเหล็กขนาด 18 นิ้วของบริษัทฯจะผ่านการรับรอง API รวมทั้งมีแผนที่จะผลิตท่อเหล็กตะเข็บเชื่อมชนิดต่างๆ เช่น ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ท่อเหล็กตะเข็บเกลียว และท่อเหล็กตะเข็บตรง เพิ่มเติม คาดว่าต้นปีหน้าจะได้ข้อสรุป ที่
ปัจจุบันไทยมีการใช้ท่อเหล็กต่างๆ รวมทั้งสิ้น 1-1.5 ล้านตันต่อปี และมีการนำเข้าท่อเหล็ก ขนาดใหญ่จากต่างประเทศในปี 2547 จำนวน 1.04 แสนตัน เชื่อว่าโครงการดังกล่าวเมื่อแล้วเสร็จจะทดแทนตลาดนำเข้าได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีแผนจะส่งออกท่อเหล็กขนาด 18 นิ้วไปยังยุโรป สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง คิดเป็น สัดส่วนการส่งออก 20% ของกำลังการผลิต เพราะราคาส่งออกจะใกล้เคียงกับราคาขายในประเทศ แต่มีปริมาณการขายที่มากกว่า
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้รวม 5 พันล้านบาท และกำไรสุทธิจะปรับลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 250 ล้านบาท เนื่องจากราคาท่อเหล็กในช่วงไตรมาส 2 อ่อนตัวลงมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากโครงการผลิตท่อเหล็ก 18 นิ้วแล้วเสร็จในต้นปีหน้า จะทำให้บริษัทฯมีรายได้ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 7-8 พันล้านบาท
|
|
|
|
|