Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 กันยายน 2548
ซีอาร์จีรื้อลอจิสติกส์อาหารให้เอ็กเซลลุ้นพื้นที่สุวรรณภูมิ แผน 5 ปีทุ่ม 2 พันล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เซ็นทรัลกรุ๊ป

   
search resources

ธีระเดช จิราธิวัฒน์
Fastfood
เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป, บจก.




ซีอาร์จีรื้อระบบลอจิสติกส์กลุ่มอาหาร ควบรวมทุกแบรนด์ยกให้เอ็กเซลบริหารทั้งหมด ลุ้นพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิเปิดทุกแบรนด์ คาดสรุปสิ้นเดือน ทุ่มงบ 2,000 ล้านบาทรับแผนขยายธุรกิจ 5 ปี เพิ่มเป็น 700 สาขา เป้ารายได้ 8,000 ล้านบาท

นายธีระเดช จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด หรือเซ็นเทล ในฐานะกรรมการบริหาร บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือซีอาร์จี กล่าวว่า แผนการ ดำเนินธุรกิจกลุ่มอาหารจากนี้ไปอีก 5 ปีจนถึงปี 2553 ตั้งงบประมาณลงทุนไว้รวม 2,000 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 400 ล้านบาท ในการลงทุนขยายสาขาร้านอาหารทุกแบรนด์ที่มีอยู่ 6 แบรนด์ คือ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท มิสเตอร์โดนัท บาสกิ้น ร้อบบิ้นส์ อานตี้แอนส์ สเต็กฮันเตอร์ (เป็นแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นมาเอง) ให้ได้ครบ 700 สาขาทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่มีอยู่รวม 408 สาขา และตั้งเป้ายอดขายรวมไว้ที่ 8,000 ล้านบาท จากปัจจุบันทำได้ 4,000 ล้านบาท

เปิด 3 แนวทางหลักขยายธุรกิจ

ขณะเดียวกัน นโยบายในการขยายธุรกิจจะยึด 3 แนวทางหลัก คือ 1. การพัฒนาร้านอาหารแบรนด์ ใหม่ขึ้นมาเอง 2. การซื้อลิขสิทธิ์ แฟรนไชส์จากต่างประเทศ และ 3. การเทกโอเวอร์กิจการร้านอาหารที่มีศักยภาพในประเทศไทยจากผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการทั้งในส่วนของ แบรนด์ต่างประเทศและแบรนด์ไทย

นอกจากนั้นแล้วก็ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าของลิขสิทธิ์ แฟรนไชส์บางแบรนด์ที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์อยู่แล้ว เพื่อขยายสิทธิ์ไปลงทุนยังต่างประเทศในละแวกประเทศเพื่อนบ้านแต่ยังไม่มีข้อสรุป

ปัจจุบันซีอาร์จีมีสาขาของมิสเตอร์โดนัท 147 แห่ง เคเอฟซี 117 แห่ง (ตัวทำรายได้หลักกว่า 50%) บาสกิ้นร้อบบิ้นส์ 61 แห่ง อานตี้แอนส์ 51 แห่ง พิซซ่าฮัท 24 แห่ง สเต็กฮันเตอร์ 5 แห่ง ทั้งนี้ทำเลที่จะขยายสาขาต่อไปนั้นยังคงมุ่งเน้นในศูนย์การค้า ดิสเคานต์สโตร์ และย่านชุมชนเป็นหลักเหมือนเดิม พร้อมกับการมองหาทำเลใหม่ๆด้วย

ส่วนแผนที่ทางกลุ่มได้ยื่นเสนอไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อนำร้านอาหารเข้าไปเปิดบริการนั้น บริษัทฯมีแผนที่จะนำทุกแบรนด์ไปเปิดบริการ ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อหรือข้อสรุปจากทางสนามบินสุวรรณภูมิ คาดว่าจะสรุปผลสิ้นเดือนนี้เนื่องจากมีผู้ประกอบการเสนอตัวเข้ามาหลายราย

เขากล่าวด้วยว่า หากเทียบกับการเติบโตจากแผนงานเดิมตั้งแต่ ช่วงปี 2544 จะพบว่ามีจำนวนสาขา รวม 330 แห่ง มีรายได้รวม 2,300 ล้านบาท และเมื่อปี 2548 พบว่ามีสาขารวมทั้งสิ้น 450 แห่ง และมีรายได้รวม 4,000 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มอาหารช่วงครึ่งแรกปี 2548 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วพบว่า มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,871 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำได้ 1,482 ล้านบาท เติบโต 26% ขณะที่ผลการดำเนินงาน ในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า มีรายได้รวมกลุ่มอาหาร 979 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันที่ทำได้ 810 ล้านบาท เติบโต 20% มีผลกำไร 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำได้ 55 ล้านบาท เติบโต 29%

รื้อลอจิสติกส์ใหม่

เขากล่าวด้วยว่า เนื่องจากบริษัทฯมีหลายแบรนด์ที่ดำเนินงานอยู่รวมทั้งแบรนด์ใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงได้ปรับระบบวิธีการดำเนินงานใหม่ทางด้านลอจิสติกส์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ด้วย การรวมทุกแบรนด์มาทำลอจิสติกส์ร่วมกันจากเดิมที่ต่างแบรนด์ต่างทำกันเอง ซึ่งคลังสินค้าใหม่ตั้งอยู่ที่สุขสวัสดิ์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้ลดต้นทุนการขนส่งลง 5-10% โดยมอบ หมายให้บริษัทเอ็กเซลเป็น ผู้ดำเนินงานลอจิสติกส์ทั้งหมด รวม ทั้งจะลดปริมาณสต๊อกสินค้าจากเดิม 30 วันให้เหลือ 20 วัน ซึ่งจะเป็นผลดีทำให้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายลดลง โดยที่ยังไม่มีนโยบายปรับราคาจำหน่ายสินค้าอาหารแม้ว่าภาวะราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม

นายเกิร์ด สตีบ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ถึงแผนการลงทุนทางด้านโรงแรม และรีสอร์ตว่า แผน 5 ปีจากนี้ตั้งแต่ปี 2549-2553 ตั้งงบประมาณลงทุนไว้ 10,000 ล้านบาท เพื่อขยายโรงแรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 22 แห่ง จำนวนห้องพักเพิ่มเป็น 5,293 ห้อง รายได้รวมเป็น 7,366 ล้านบาท จากเดิมใน ปี 2548 นี้ที่มีจำนวนโรงแรม 13 แห่ง จำนวนห้องพัก 2,428 ห้อง และมีรายได้ 2,661 ล้านบาท และเมื่อเทียบ กับปี 2544 ที่มีจำนวน 11 โรงแรม จำนวนห้องพัก 1,791 ห้อง รายได้รวม 2,090 ล้านบาท

ในปีนี้บริษัทฯจะมีรีสอร์ต รูปแบบใหม่แห่งแรกที่จะเปิดบริการ ที่กระบี่ ให้บริการห้องพักที่มีขนาดใหญ่ถึง 70 ตารางเมตร นอกจากนั้นก็จะมีการลงทุนต่อเนื่องกับโรงแรมเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เซ็นทรัล พัทยาบีชรีสอร์ต เซ็นทรัลภูเก็ตบีชรีสอร์ต และยังมีที่ดินเปล่าที่รอการพัฒนาอีกมาก เช่น เกาะลันตา เกาะเต่า ระยอง เกาะกูด เป็นต้น ซึ่ง กำลังศึกษาถึงศักยภาพทางการตลาด เพื่อการพัฒนาให้เหมาะสมกับทำเลและที่ตั้ง รวมทั้งยังสนใจทำเลที่เป็น ที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามเช่น เกาะช้าง ตรัง พังงา เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us