Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
ต่อไป รพ.รัฐทุกแห่งต้องมี CFO             
 

   
related stories

หัวข้ออบรมเพื่อเตรียมความพร้อมเป็น CFO

   
search resources

Hospital




การออกจากระบบราชการ กับโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค มีความคล้ายคลึงกันอยู่ประการหนึ่ง คือ ความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการงบประมาณ ที่เคยใช้อยู่ในโรงพยาบาลใหม่ทั้งหมด

กระบวนการดังกล่าวที่โรงพยาบาลรัฐแต่ละแห่งเคยใช้ ไม่แตกต่างจากหน่วยราชการอื่นๆ คือ แต่ละปีต้องมีการตั้งโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ เมื่อโครงการผ่านการพิจารณาจากต้นสังกัด ก็เสนอไปยังสำนักงบประมาณ คณะรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงสภาผู้แทนราษฎรตามลำดับ

เมื่อได้รับการอนุมัติ โรงพยาบาลก็จะได้รับการจัดสรรงบตามขนาดของโรงพยาบาล โรงพยาบาลขนาดใหญ่จะได้รับการจัดสรรมากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการกระจุกตัวของผู้เข้ามาใช้บริการ เพราะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีโอกาสในการจ้างบุคลากรทางการแพทย์ และเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยมากกว่า

แต่รูปแบบของโครงการ 30 บาท ที่เริ่มใช้เมื่อปีก่อน ได้เปลี่ยนแปลงระบบการจัดการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง โดยกำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการบริการมาขึ้นทะเบียน และได้รับบัตรทอง ผู้ถือบัตรทองสามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะใช้บริการ และโรงพยาบาลที่ถูกเลือกก็จะได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามจำนวนคนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นรายหัว

วิธีการนี้ สามารถแก้ปัญหาการกระจุกตัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาล เพราะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็ก แต่มีคนขึ้นทะเบียนไว้มาก ได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น ขณะเดียว กันโรงพยาบาลขนาดใหญ่ แต่มีคนขึ้นทะเบียนไว้น้อย จะได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยลง

ปี 2544 รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้ในโครงการนี้หัวละ 1,202 บาท ซึ่งหมายความว่าหากมีโรงพยาบาลใดที่มีประชาชนขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 1 แสนคน ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ โรงพยาบาลนั้นก็จะได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการ 30 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 120.2 ล้านบาท

เงินจำนวนนี้ ผู้บริหารของโรงพยาบาล ต้องเป็นคนบริหาร ดูแลค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุม โดยมีเงื่อนไขที่ไม่ให้การรักษาพยาบาลต่ำกว่ามาตรฐาน

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ระบบการลงบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละโรงพยาบาลในอดีต เป็นระบบไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของการดำเนินงาน ผู้บริหารแต่ละโรงพยาบาลจึงไม่มีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง เพียงพอที่จะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ที่เคยผ่านการศึกษาระดับ MBA มาแล้ว เขามีความเชื่อว่า แพทย์ทุกคนสามารถเรียนรู้เรื่องการจัดการทางการเงินได้ ไม่แพ้คนที่เรียนจบมาทางด้านการเงินโดยตรง

เขาจึงมีแนวคิดจะยกบทบาทบุคลากรระดับบริหารของแต่ละโรงพยาบาลขึ้น ให้มีหน้าที่ดูแลทางด้านการเงินโดยเฉพาะ ในลักษณะเดียวกับ CFO (Chief Financial Officer) ของภาคธุรกิจเอกชน

CFO ของโรงพยาบาลตามแนวคิดนี้ ต้องเป็นผู้ที่รับรู้ข้อมูลรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้น และสามารถนำข้อมูลนี้มาใช้ในการบริหาร โดยการคาดการณ์ความต้องการใช้เงิน ตลอดจนวิเคราะห์โครงการหากโรงพยาบาลแห่งนั้นจำเป็นต้องมีการลงทุน

และหากโรงพยาบาลใดที่ได้แปรสภาพเป็นองค์การมหาชน CFO ของโรงพยาบาลนั้นก็คือผู้ที่สามารถเจรจาติดต่อกับสถาบัน การเงินหรือแหล่งเงินทุนที่โรงพยาบาลต้องใช้ได้หากมีความจำเป็น

เป็นบทบาทที่คล้ายกับ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ รพ.บ้านแพ้ว กำลังแสดงอยู่ในการเจรจาซื้อตึกของ รพ.เวชสวัสดิ์ จาก บบส.

แนวคิดนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติแล้ว โดยเมื่อประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้คัดเลือกตัวแทนจากโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลประจำอำเภอในจังหวัดต่างๆ จำนวน 90 คน มาเข้ารับการอบรมทางด้านการบัญชีและการเงิน

ที่ปรึกษาในการจัดหลักสูตรการอบรมคือ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์แอสเซท พลัส เพื่อนนักเรียนเตรียมอุดมของ นพ.สุรพงษ์ ที่ถูกขอให้มาช่วยงานด้านนี้โดยเฉพาะ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 90 คนแรกนี้ ถือเป็นกลุ่มนำร่อง ตามแผนงานในปีถัดไป กระทรวงมีโครงการจะนำบุคลากรของโรงพยาบาลในระดับเล็กลงไป เข้ามาฝึกอบรมอีกประมาณ 700 คน และได้มีการตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งขึ้นมา เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับการอบรมไปแล้วโดยเฉพาะ

และเพื่อให้บทบาทการทำงานของผู้ที่ถูกวางตัวให้เป็น CFO ของแต่ละโรงพยาบาลนี้สัมฤทธิผล กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศปรับเปลี่ยนระบบการลงบัญชีของโรงพยาบาลทุกแห่ง จากเดิมที่เคยใช้เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) มาใช้เป็นเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย (Accrual Basis) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545-2546 เป็นต้นไป เพื่อให้ตัวเลขที่ปรากฏในระบบบัญชี สามารถสะท้อนภาพการทำงานของโรงพยาบาลได้อย่างแท้จริง

ตามเป้าหมายที่ นพ.สุรพงษ์วางไว้ ภายใน 5 ปีนับจากนี้ โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งจะต้องมีผู้ช่วยผู้อำนวยการที่ทำหน้าที่เหมือนเป็น CFO และโรงพยาบาลทุกแห่งน่าจะออกจากระบบราชการ แปรสภาพเป็นองค์การมหาชนได้ทั้งหมด

แต่หากโครงการขยายเครือข่ายของ รพ.บ้านแพ้ว โดยการซื้ออาคาร รพ.เวชสวัสดิ์มาดำเนินการประสบความสำเร็จ อาจจะเป็นตัวเร่งให้โรงพยาบาลอีกหลายแห่งออกจากระบบ และพัฒนาบุคลากรทางการเงินของตนเองได้เร็วขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us