|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การขยับตัวของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด ภายใต้การนำของ อดิศร เสริมชัยวงศ์กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กำลังเป็นที่จับตามองของคนในแวดวงกองทุนรวม เพราะการที่บลจ.แห่งนี้สามารถถีบตัวด้วยการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ภายใต้การบริหารจัดการจากเมื่อสิ้นปี 2547 ที่มีพอร์ตมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการจากประมาณ 42,000 ล้านบาท ก่อนที่จะขยับมาเป็นกว่า 80,000 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จการขายหน่วยลงทุนได้เป็นอย่างดี
หากวิเคราะห์เจาะลึกถึงความเป็นมาของบลจ.แห่งนี้ แล้วจะพบว่าตัวแปรสำคัญที่ทำให้การขายหน่วยลงทุนประสบความสำเร็จคงต้องยกนิ้วให้แก่การผสมผสานการทำงานระหว่างบลจ.ไทยพาณิชย์ กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบลจ.แห่งนี้ ที่ตั้งธงชัดเจนว่า การทำธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์จะมุ่งสู่การเป็นสถาบันการเงินที่ให้การบริการทางการเงินอย่างครบวงจร (ยูนิเวอร์แซลแบงก์) ความเป็น "ยูนิเวอร์แซล แบงก์" ได้ถูกนำมาใช้และผสมผสานการทำงานที่เป็นมืออาชีพของบลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งทำให้แนวโน้มการขยายตัวของบลจ.แห่งนี้จะสามารถก้าวผงาดขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจกองทุนรวม ซึ่งตามเป้าหมายแล้วตั้งไว้ว่าปีหน้าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ถึงฝั่งฝันได้
อดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวต่อ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ตัวแปรที่ทำให้การขายหน่วย ลงทุนของบริษัทประสบความสำเร็จ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เราออกมาสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะในส่วนของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่อง สูง และให้อัตราผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ โดยลูกค้า ที่ถือหน่วยลงทุนสามารถไถ่ถอนได้ทุกวัน และอัตราผลตอบแทนการลงทุนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน
สำหรับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) กองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2548 มีมูลค่า 84,568.89 ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่งตลาด (มาร์เกตแชร์) 13..87% ซึ่งถือว่าพอร์ตกองทุนรวมสูงสุดเป็นอันดับสองของธุรกิจกองทุนรวมรองจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ที่ครองความเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจจัดการกองทุน หากไม่นับรวม กองทุนรวมวายุภักษ์ที่มีบลจ.กรุงไทย และบลจ.เอ็มเอฟซี เป็นผู้บริหาร
สำหรับพอร์ตกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.ไทยพาณิชย์ ในสิ้นปี "อดิศร" ตั้งเป้าหมายว่า มูลค่าทรัพย์สินน่าจะขยับแตะระดับ 1 แสนล้านบาท ได้อย่างแน่นอน โดยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะทยอยออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อตอบสนองความต้องการนักลงทุนที่ต้องการพักเงินฝากไว้ รอสัญญาณการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์
นอกเหนือจากการที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ บลจ.ไทยพาณิชย์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้อย่างสมบูรณ์แล้ว อดิศร ยังให้ความเห็นอีกว่า ทีมขายของธนาคารไทยพาณิชย์ มีความสามารถมาก เพราะทีมขายของธนาคารไม่ได้สักแต่ว่าขายหน่วยลงทุนเท่านั้น แต่จะมีการแนะนำลูกค้า เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความครบถ้วน และที่สำคัญทีมขายของสาขามีความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นอย่างดี โดยยอดขาย เกือบ 100% มาจากเครือข่ายสาขาที่มีอยู่ทั่วประเทศ
อดิศร กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคาร โดยในครึ่งปีแรกได้มีการฝึกอบรมประมาณ 50-60 ครั้ง ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้การขายหน่วยลงทุนของบลจ.ไทยพาณิชย์ ประสบความสำเร็จ โดยปัจจุบันพนักงานไทยพาณิชย์มีใบอนุญาตขายหน่วยลงทุนประมาณ 1,400-1,500 คน หรือเฉลี่ย 2 คนต่อสาขา
เมื่อถามถึงภาพรวมการดำเนินงานของบลจ.ไทยพาณิชย์ ในครึ่งปีแรกเป็นอย่างไรบ้าง "อดิศร" ให้ความเห็นว่า ภาพรวม การดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกตลาดหุ้นมีความผันผวน ทำให้กองทุนตราสารหนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยใน ช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการออกกองทุนตราสารหนี้ที่มีนโยบาย ลงทุนในตราสารหนี้เอกชนและพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งทำให้มูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยในสิ้นปี 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 42,000 ล้านบาท ก่อนที่จะขยับเพิ่มเป็น 80,000 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรก
สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.ไทยพาณิชย์ เขายอมรับว่า ในครึ่งปีแรกผลตอบแทนปรับตัวลดลงตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ส่วน แนวโน้มในครึ่งปีหลังบริษัทมีนโยบายปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ โดยจะหันมาใช้กลยุทธ์การบริหารพอร์ตเชิงรุกมากขึ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูงให้แก่นักลงทุน ซึ่งขณะนี้ผู้จัดการกองทุนอยู่ระหว่างการคัดหุ้นที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนสูง แต่ระดับราคาอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับแผนการดำเนินงานในครึ่งปีหลังของปีนี้ บลจ. ไทยพาณิชย์ ยังคงให้น้ำหนักกับการออกกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อตอบสนองความต้องการของฐานลูกค้าเงินฝาก ที่มองหาผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่มีความเสี่ยงในระดับต่ำ โดยบริษัทเตรียมออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ยเดือนละ 1 กองทุน มูลค่าโครงการประมาณ 3-5 พันล้านบาท ส่วนกองทุนหุ้นที่เตรียมออกอีกกองในช่วงเดือนกันยายน จะเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) มูลค่าโครงการประมาณ 5 พันล้านบาท
ส่วนปัจจัยที่ทำให้ให้บลจ.ไทยพาณิชย์ เลือกตัดสินใจที่จะออกกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ซึ่งมีนโยบายเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ได้รับคำตอบจาก "อดิศร" ว่า จากการประเมินของผู้จัดการการกองทุนของบริษัทพบว่า หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดใหม่บางตัวเป็นหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพ และให้ผลตอบแทนสูง
ส่วนปัญหาเรื่องสภาพคล่องไม่น่าจะเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการขายคืนหน่วยลงทุน และที่สำคัญบริษัทเน้นลงทุนระยะยาวมากกว่า ซึ่งถือว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2549 ได้รับคำยืนยันจาก กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ ว่า ในปี 2549 บลจ.ไทยพาณิชย์ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ให้ได้ เนื่องจากเครือข่ายธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นบริษัทแม่ ถือว่าเป็นเครือข่ายที่แข็งแกร่ง
ขณะเดียวกันพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพถือเป็นจุดขายที่สำคัญ โดยบริษัทมีนโยบายอบรมพนักงานให้มีความรู้เรื่องการวางแผนการลงทุน และมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของกองทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีที่ผ่านมามีการฝึกอบรมให้แก่พนักงานสาขาต่างๆประมาณ 50-60 ครั้ง ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้า
การประกาศรุกธุรกิจกองทุนรวมของบลจ.ไทยพาณิชย์ โดยขอเบียดขึ้นเบอร์ 1 คงไม่ไกลเกินฝัน เพราะจากการสัมผัสข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงใน ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รับการยืนยันว่า ในปีนีหน้า ซึ่งเป็นปีที่ธนาคารไทยพาณิชย์ครบรอบ 99 ปี ของการจัดตั้งธนาคาร ในวันที่ 30 มกราคม 2549 ภาพธุรกิจของธนาคารพาณิชย์จะเปลี่ยนไปจากอดีตอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนของการให้บริการสาขา โดยธนาคารตั้งเป้าไว้กว่า 60-70% ของพนักงานที่อยู่ในสาขาทั่วประเทศจะต้องเป็น นักขายแบบที่ปรึกษามืออาชีพ ตรงตามคอนเซ็ปต์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มุ่งสู่การเป็นยูนิเวอร์แซลแบงก์ และขณะนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือพร้อมทุ่มเททรัพยากร ในการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้พนักงานก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษาทาง การเงินมืออาชีพ โดยในส่วนของพนักงานที่จะขายประกัน ก็ต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมการประกันภัย และพนักงาน ที่ขายหน่วยลงทุนก็ต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เช่นเดียวกัน
อดิศร กล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปีนี้ว่า ถือเป็นช่วงจังหวะที่ลงทุนได้ยากพอสมควร เพราะสัญญาณที่ออกมามีความขัดแย้งกันใน 2 ประเด็นคือ 1.ปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูง ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และ 2. ราคาสินค้าสูงขึ้นที่เกิดจากราคาน้ำมัน ทำให้ความ เชื่อมั่นของผู้บริโภครับตัวลดลงตาม ขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง
"ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้การตัดสินใจลำบากเช่น ถ้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ คำถามก็จะเกิดขึ้นว่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่านี้หรือไม่ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่เริ่มหวั่นไหวกลับกลายเป็นไม่กล้าบริโภค ทำให้ต้องหาจุดที่เหมาะสม"
อดิศร กล่าวว่า เขายังมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ค่อนข้างที่จะเป็นบวก เพราะมีเงินลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศในสัดส่วนสูง ยังไม่ต้องกล่าวถึงการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาลมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาท โดยในปี 2547 ยอดอนุมัติส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท และในครึ่งปีแรกของปีนี้มีว่า 3.3 แสนล้านบาท และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะสูงกว่า 6 แสนล้านบาท นั่นหมายความว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
"เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะชะลอตัวลง แต่โอกาสที่จะถดถอยเป็นไปได้ยาก เพราะการจ้างงานยังดี การลงทุนยังดี ซึ่งทำให้เห็นว่าความสามารถในการแข่งขัน ถ้าถามผมไม่อยากให้ดอกเบี้ยขยับขึ้นเยอะ แต่แนวโน้มยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ค่อยเป็นค่อยไป"
|
|
|
|
|