Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
Cultivationg Communities of Practice             
 





มองวิธีบริหารความรู้แบบเก่าด้วยมุมมองใหม่

"Communities of Practice" คืออะไร คณะผู้แต่งซึ่งล้วนเป็นที่ปรึกษาองค์กรผู้มีประสบการณ์สูง และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว เขียนไว้ว่า คือ "กลุ่มของคนที่มีความวิตกกังวลหรือปัญหาร่วมกัน หรือสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยที่สมาชิกแต่ละคนของกลุ่มจะสามารถเพิ่มพูนความรู้ และความชำนาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ หรือในเรื่องนั้นๆ จากการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ"

กลุ่ม "แบ่งปันความรู้" ซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการนี้ อาจเป็นได้ตั้งแต่กลุ่มของวิศวกรที่มารวมกลุ่มกันเพื่อพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาพบในการทำงาน ไปจนถึงกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้านที่มานั่งดูทีวีไปพลาง คุยกันไปพลางถึงเคล็ดลับการเลี้ยงลูกของแต่ละคน

จะเห็นว่า กลุ่มแบ่งปันความรู้ หาได้จำเป็นต้องเป็นการรวมกลุ่มของคนที่ทำงานด้วยกันทุกวันไม่ หากแต่เป็นใครก็ได้ที่เห็นว่าการรวมกลุ่มแบบนี้มีประโยชน์ ในแง่ที่ทำให้พวกเขาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

จากการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการนั้น เพราะเมื่อพวกเขาได้มาพบปะสังสรรค์พูดคุยกัน พวกเขากำลังแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูล เคล็ดลับ และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ช่วยเหลือ กันและกันในการแก้ปัญหาของแต่ละคน และได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงความต้องการหรือความวิตกกังวลที่พวกเขามีร่วมกัน

กลุ่มแบ่งปันความรู้มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน และเป็นวิธีพื้นฐานที่มนุษย์เราใช้ในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและมุมมอง ในประเด็นหรือองค์ความรู้ต่างๆ มานานแล้ว ในยุคกลาง สมาคมช่างต่างๆ ก็คือรูปแบบของการรวมกลุ่มแบบนี้ และทำหน้าที่เป็นกลุ่มแบ่งปันความรู้ของช่างฝีมือในยุโรป

มาถึงยุคปัจจุบัน การรวมกลุ่มในลักษณะนี้มีให้เห็นทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพียงแค่คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้มาพบและพูดคุยกันในสิ่งที่พวกเขาสนใจร่วมกัน สมาชิกของกลุ่มจึงมีทั้งที่เป็นขาประจำและขาจร

ผู้แต่งชี้ว่า กลุ่มแบ่งปันความรู้คือวิธีบริหารความรู้แบบเก่าที่ยังสามารถใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน และควรจะได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทสำคัญในธุรกิจสมัยใหม่ ในยุคที่เศรษฐกิจใช้ความรู้เป็นฐานการเติบโตอย่างยุคนี้ด้วย ผู้จัดการมีหน้าที่ต้องผลักดันให้เกิดกลุ่มแบ่งปันความรู้อย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร

ตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง

กุญแจความสำเร็จในยุคที่โลกเข้าสู่เศรษฐกิจความรู้คือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้เรามีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ รู้วิธีที่จะใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ ทำอย่างไรจึงจะนำความรู้นั้นมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่การปฏิบัติงาน และทำอย่างไรจึงจะสามารถกระจายเผยแพร่ความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์กร เนื่องจากความรู้ในทุกวันนี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในขณะที่เศรษฐกิจความรู้ก็กำลังขยายตัวไปทั่วโลก

ผู้แต่งจึงชี้ว่า ขณะนี้องค์กรกำลังต้องการให้มีกลุ่มแบ่งปันความรู้หลายๆ กลุ่มในองค์กร เพื่อให้ครอบคลุมความรู้ที่สำคัญๆ ทุกอย่างในปัจจุบัน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นความรู้สำคัญๆ ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของยุคนี้

กลุ่มแบ่งปันความรู้จะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการเพิ่มพูนความได้เปรียบในการแข่งขันและความสำเร็จในขอบข่ายทั่วโลกของบริษัท แม้กระทั่งในเรื่องของการสรรหาบุคลากร ทั้งนี้เพราะกลุ่มแบ่งปันความรู้เกิดขึ้นได้ เพราะความรู้มิใช่เป็นเพียงเรื่องเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีมิติในเชิงสังคมด้วย ผู้จัดการมีหน้าที่ที่จะต้องมองเห็นคุณค่าของมิติเชิงสังคมของกลุ่มแบ่งปันความรู้ และควรตระหนักว่า "โครงสร้างแบบเดิมๆ ของบริษัทไม่มีความสามารถพอที่จะแก้ไขปัญหาที่สัมพันธ์กับความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างที่ทำได้กับการแก้ไขปัญหาเชิงประสิทธิภาพและความรับผิดชอบ"

ผู้แต่งชี้ว่า กลุ่มแบ่งปันความรู้ต่างหากที่เป็นโครงสร้างเชิงสังคมที่สมบูรณ์แบบที่สุด ที่ควรจะนำมาใช้ในการ "ดูแล" ความรู้ ผู้จัดการสามารถจะช่วยให้เกิดกลุ่มเช่นนี้ขึ้นได้ ด้วยการมอบหมายความรับผิดชอบให้แก่กลุ่มพนักงานที่เป็นผู้ผลิต และแบ่งปันความรู้ในเรื่องเดียวกัน และด้วยการปลูกฝังการรวมกลุ่มทางสังคมแบบนี้ให้มีขึ้นในองค์กรอย่างเป็นปกติ เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้ทำหน้าที่ "หล่อเลี้ยงความรู้ให้งอกงามเติบโต"

หลากหลายรูปแบบของกลุ่มแบ่งปันความรู้

กลุ่มแบ่งปันความรู้หนึ่งๆ อาจประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญเพียงไม่กี่คน หรือมีสมาชิกเป็นร้อยๆ คนก็ได้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ควรจะต้องมีการแบ่งซอยเป็นกลุ่มย่อยๆ หรือประเด็นย่อยๆ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมแบ่งปันความรู้ของตนแก่กลุ่ม บางกลุ่มอาจมีอายุแค่ไม่กี่ปี ในขณะที่บางกลุ่มกลับมีอายุยืนยาวนับร้อยๆ ปี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการส่งต่อทักษะกันจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างไม่ขาดสาย

กลุ่มแบ่งปันความรู้อาจไม่ต้องพบหน้ากันแต่ใช้การติดต่อสื่อสารผ่าน e-mail หรืออาจเป็นกลุ่มที่พบหน้าค่าตากันเป็นประจำก็ได้ สมาชิกอาจเป็นคนที่ทำงานในสายงานเดียวกัน หรืออาจมีภูมิหลังที่แตกต่างกันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะมีความหลากหลายเพียงใดก็ตาม ทุกๆ กลุ่มจะมีโครงสร้างหลักที่เหมือนกันอยู่ 3 ประการคือ

1. ขอบเขตความรู้ของกลุ่ม สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องมีความรู้ในเรื่องเดียวกัน ยิ่งขอบเขตความรู้ของกลุ่มชัดเจนมากเท่าไร กลุ่มก็จะยิ่งแม่นยำในวัตถุประสงค์ของกลุ่มมากเท่านั้น ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท

2. มีความเป็นกลุ่มสังคม กลุ่มจะต้องมีลักษณะเป็นเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ กลุ่มแบ่งปันความรู้ที่เข้มแข็งจะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กัน และการสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเคารพนับถือและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

3. มีแนวทางสำหรับปฏิบัติได้จริง กลุ่มเป็นที่รวมของกรอบความคิด ความคิด เครื่องมือ ข้อมูล รูปแบบการแก้ปัญหา และเอกสารต่างๆ ที่สมาชิกนำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us