Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
The Venture Café             
 





เรื่องจริงจากผับ Muddy Charles

Muddy Charles เป็นชื่อของผับแห่งหนึ่งที่ไม่ได้มีอะไรสะดุดตาแม้แต่นิดเดียว Muddy Charles คงเป็นแค่ผับธรรมดา หากไม่ได้ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย MIT และไม่ได้เป็น ที่พบปะกันของบรรดาศิษย์เก่าของสถาบันอันเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แห่งนี้

บรรดาศิษย์เก่าเหล่านี้ต่างก็ได้แยกย้ายกันออกไปสร้างธุรกิจไฮเทคของตนเอง โดยเริ่มต้นจากศูนย์จนประสบความสำเร็จ พวกเขายังคงชอบกลับมายังผับที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาเก่า เพื่อนั่งดื่มและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่ได้เผชิญมา

Teresa Esser ผู้แต่งเป็นศิษย์เก่าคนหนึ่งของ MIT สามีของเธอเป็นขาประจำคนหนึ่งของ Muddy Charles เขาเป็นอดีตนักศึกษาของ MIT ผู้ตัดสินใจลาออกกลางคันเพื่อไปเริ่มต้นธุรกิจไฮเทคที่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา Esser เขียนหนังสือเล่มนี้ เพื่อแบ่งปันบทเรียนมากมาย ที่เธอได้เก็บรับมาตลอดเวลาหลายปี จากการพูดคุยกับบรรดาเถ้าแก่ศิษย์เก่าของ MIT เหล่านี้

Esser บอกว่าจุดประสงค์ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ก็เพื่อ "ค้นหาว่าอะไรที่ทำแล้วได้ผล และอะไรที่ทำแล้วไม่ได้ผลจากคนที่รู้จริง ได้แก่ นักลงทุนที่กล้าเสี่ยงให้เงินสนับสนุนบริษัท ที่ตั้งใหม่ ผู้ประกอบการที่หาญกล้าริเริ่มธุรกิจใหม่ ประธานกรรมการบริหาร (CEO) นักเทคโนโลยี และคู่สมรสของบุคคลทั้งหมดที่กล่าวมา" เธอเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าร่วมสถาบันที่มารวมตัวกัน ณ ผับดังกล่าว

เพื่อค้นหาว่า พวกเขามีหลักอย่างไรในการตัดสินว่า ใครที่ควรไว้วางใจและพวกเขามีวิธีสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนเก่าร่วมสถาบันอย่างไร

ด้วยการสัมภาษณ์มืออาชีพด้านไฮเทคมากกว่า 150 คน Esser สามารถรวบรวมข้อมูลได้มากพอ ที่จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดกลยุทธ์และแผนการก้าวเข้าสู่การเป็นเถ้าแก่หน้าใหม่ในตลาดธุรกิจไฮเทคได้ หลังจากได้พูดคุยทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการกับบรรดาผู้ที่รู้จริงเรื่องการเริ่มสร้างธุรกิจไฮเทคตั้งแต่ California จนถึง New York มาเป็นเวลาถึง 2 ปีครึ่ง ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหนังสือเล่มนี้ ที่อัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ ทักษะ และ know-how ที่ Esser รวบรวมมาได้จากปากคำของบรรดาศิษย์เก่า MIT ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการทำความผิดพลาดอย่างที่พวกเขาเคยทำผิดมาแล้ว ตลอดเส้นทางการก้าวสู่การเป็นเถ้าแก่หน้าใหม่ในธุรกิจไฮเทคของคุณ

คุณพร้อมแค่ไหนที่จะเป็นเถ้าแก่

คุณมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการหรือเปล่า ตัวอย่างมากมายที่ชี้ให้เห็นว่าอะไรที่เรียกว่าการมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการที่ Esser หยิบยกมาบรรจุไว้ในหนังสือเล่มนี้นั้น มักเกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยง Esser ยังชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนที่เต็มใจจะเสี่ยงเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น กับคนอีกพวกหนึ่งที่ยากจะสละความมั่นคงและความสุขสบายในชีวิต เพื่อออกค้นหาอิสรภาพและความฝัน

Esser เล่าถึงบุคคลต่างๆ และเรื่องราวของพวกเขา ที่ตอกย้ำให้เราเห็นถึงพลังของความสามารถในการรับความเสี่ยง ซึ่งเป็นบทเรียนล้ำค่าที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ตัดสินใจจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของตนเอง และท้าทายตัวเองด้วยปัญหา ที่ยากที่สุดในชีวิต

ประสบการณ์มีค่าต่างๆ ที่ Esser รวบรวมมาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ตลอดจนคำพูดเป็นกำลังใจต่างๆ ของเธอ ได้ให้คำแนะนำและแนวทางที่อัดแน่นไปด้วยสาระ สำหรับผู้ที่รักจะเป็นเถ้าแก่หน้าใหม่ ได้เรียนรู้และเตรียมตัวที่จะเผชิญปัญหาไว้ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพบกับความเจ็บปวด เมื่อต้องเผชิญปัญหาที่ไม่คาดฝันในการริจะเป็นเถ้าแก่

จิตวิญญาณเถ้าแก่

เมื่อใครคนหนึ่งเชื่อว่าตนมี "จิตวิญญาณผู้ประกอบการ" แล้ว ก็ถึงเวลาที่เขาจะต้องรวบรวมความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเอง และตัดสินใจมุ่งมั่นสร้างธุรกิจให้สำเร็จให้จงได้ การตั้งบริษัทจำเป็นต้องมีตาข่ายนิรภัยทางการเงิน (financial safety net) ก่อนเป็นอันดับแรก และผู้ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยบริษัทเกิดใหม่สร้างตาข่ายนิรภัยทางการเงินดังกล่าวก็คือ

นักลงทุนที่ชอบสนับสนุนบริษัทตั้งใหม่ (venture capitalist)

เงินทุนจากนักลงทุนประเภทนี้จะช่วยพยุงค้ำจุนเถ้าแก่รายใหม่ จนกว่าพวกเขาจะสามารถลงหลักปักฐานบริษัทเกิดใหม่ของตนได้สำเร็จ เรื่องจริงต่างๆ ที่ Esser เล่ายังชี้ด้วยว่า การเตรียมพร้อมอย่างเข้มข้นในช่วงแรกๆ ของการตั้งบริษัท มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของบริษัทในอนาคต การเตรียมพร้อมเหล่านี้ก็เช่น การฝึกอบรมด้านเทคนิค และการพบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการด้วยกัน

เรื่องจริงที่ Esser ยกมายังรวมถึงการริเริ่มธุรกิจที่ประสบความล้มเหลว ความแตกต่างของผู้ประกอบการแต่ละรายในความพยายามปกป้องความคิดของตนอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท Esser ได้เสนอเคล็ดลับหลายอย่างให้เถ้าแก่หน้าใหม่สามารถประหยัดค่าจ้างทนายด้านสิทธิบัตร และสามารถปกป้องเทคโนโลยีใหม่ที่ตนคิดค้นขึ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทได้

จากนั้นเธอได้แนะนำเทคนิคการดึงดูดคนเก่งๆ ให้มาทำงานกับบริษัทเกิดใหม่ ทำอย่างไรบริษัทเล็กๆ ที่เพิ่งตั้งใหม่จึงจะสามารถจ้างคนที่ดีที่สุดได้ วิธีตรวจสอบหลักฐานอ้างอิงประกอบการสมัครงานของผู้สมัคร และวิธีรักษาบุคลากรให้อยู่กับบริษัทนานๆ ด้วยการไม่ให้พวกเขาเกิดความเหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกใช้งานหนักเกินกำลัง

ประเด็นอื่นๆ ที่ Esser ได้กล่าวถึงอย่างน่าสนใจได้แก่ นักลงทุนมองหาอะไรขณะที่เขากำลังประเมินความน่าลงทุนของบริษัทเกิดใหม่ บทเรียนอันเจ็บปวดของธุรกิจดอทคอม จะหา CEO ที่ "ใช่" ได้อย่างไร วิธีระดมทุนผ่านสื่อ และเมื่อไรจึงจะได้เวลาเก็บเกี่ยวผลสำเร็จอันหอมหวานจากธุรกิจที่คุณบรรจงสร้างขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us