|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"สมคิด" ดันเป้าส่งออกปีนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 20% เผย 8 เดือนแรกส่งออกแล้ว 14% มั่นใจคุมดุลการค้าไม่เกินดุลได้แน่นอน ชี้ท่องเที่ยว-บริการ แก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ระบุกุ้ง-ไก่ ส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ด้าน ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเผยสึนามิทำการผลิตอาหารกุ้งครึ่งปีหลังลด 10%
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก-รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์แถลงตัวเลขจีดีพีโดยคาดการณ์ว่า การส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ 14-15% ว่า ตั้งแต่เดือน ก.ย-ธ.ค.นี้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเร่งผลักดันให้การส่งออกไทยขยายตัวเฉลี่ยเดือนละ 30% ให้ได้เพื่อให้การส่งออกของไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 20% ทั้งปี ขณะที่ 8 เดือนแรกการส่งออกเฉลี่ย 13-14% เท่านั้น โดยวันที่ 12 ก.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์จะเชิญผู้ประกอบการมาหารือเพื่อเร่งผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งและไก่เป็นพิเศษ เนื่องจากสินค้าทั้ง 2 ประเภทนี้มีแนวโน้มขยายตัวที่ดี ปีนี้ไม่มีทางเกินดุลการค้าแน่นอน ดังนั้นภาครัฐจะเร่งผลักดันการส่งออกเพื่อให้ขาดดุลการค้าน้อยที่สุด แล้วอาศัยรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการเพื่อมาเสริมให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้การท่องเที่ยวก็เริ่มฟื้นแล้ว
ด้านนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า จะรายงานตัวเลขการส่งออกให้ครม. รับทราบโดยเฉพาะไก่และกุ้งที่ มีตัวเลขส่งออกสูงมากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะกุ้งมีการส่งออกถึง 1 แสนตัน เนื่องจากสินค้ากุ้งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (จีเอสพี)จากสหภาพยุโรป (อียู)
ด้านนายวีรชัย รัตนบานชื่น นายกสมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากสึนามิทำให้สูญเสียแหล่งผลิตลูกกุ้งที่สำคัญ การผลิตลูกกุ้งลดลงถึง 30% ประกอบกับ ผู้เลี้ยงไม่มั่นใจในราคากุ้ง จึงลงกุ้งน้อย ซึ่งคาดว่าการผลิตอาหารกุ้งครึ่งปีหลังของปี 2548 น่าจะลดลง 10% แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงกุ้งอาจแก้ปัญหาด้านปริมาณ หรือน้ำหนักของผลผลิตกุ้งได้ด้วยการเลี้ยงกุ้งให้มีขนาดใหญ่ ขึ้น
|
|
|
|
|