Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
Local Banking             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Banking




ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธนาคารไทยอยู่ในช่วงอุดมคติที่ว่างเปล่า

ธนาคารไทยอุบัติขึ้นอย่าง จริงจังและเป็นรูปร่างเชิงอุดมคติครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อสนับสนุนการค้าส่งออกของกลุ่มตนเอง เจ้าของธุรกิจ ส่งออกสินค้าพืชไร่ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในยุคนั้น ล้วนอยู่ในเครือข่ายเจ้าของธุรกิจธนาคาร ซึ่งเข้ามาทดแทนธนาคารอาณานิคมที่ถอนตัวออกไปในช่วงครามโลกครั้งที่สอง

เมื่อธุรกิจที่แวดล้อมธนาคารเติบโตขึ้นเป็นแกนของสังคมธุรกิจไทย ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองประมาณ 2 ทศวรรษ เข้าสู่การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ธุรกิจแกนกลางของไทย มีความสุขที่เป็นส่วนหนึ่งของความเติบโตของธุรกิจข้ามชาติที่ขยายอิทธิพลอย่างมาก ในช่วงสงครามเวียดนามเข้ามาในภูมิภาคนี้ รวมทั้งประเทศไทย ธนาคารไทยก็สนับสนุนเครือข่ายธุรกิจนั้นเป็นช่วงๆ มา มีพัฒนาการ มีบุคลิกแตกต่างกัน

อย่างไรเสีย อุดมคติที่ชัดเจนของธนาคารไทย คือสนับสนุนธุรกิจรายใหญ่ที่เริ่มจากครอบครัวเดี่ยว จนกลายเป็นเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนการสร้างเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ ก็เกิดขึ้น มีรูปร่างชัดเจนมากขึ้น ยิ่งเมื่อธนาคารกลายเป็นสัญลักษณ์ของสังคมธุรกิจไทย ภายใต้ปรัชญาธนาคารล้มไม่ได้ ยิ่ง เท่ากับเป็นการยอมรับว่า ไม่เพียงธนาคารเท่านั้นที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหญ่ เครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น สังคมไทยยอมรับและสนับสนุนสิ่งนั้นด้วย จนกลายเป็นโมเดลของเศรษฐกิจไทย ว่า ไปแล้วเป็นภาพสะท้อนของอิทธิพลธนาคารไทยที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลอย่างสูงนี้ ไม่มีใครคาดคิดว่าจะถูกทำลายได้โดยง่าย

ในปี 2540 ธนาคารไทยผ่านการคัดเลือกอย่างโหดร้าย ธนาคารไทยหลายแห่งต้องปิดกิจการไป พร้อมกับบทบาทธนาคารไทยแบบเดิมหมดไป ท่ามกลางวิกฤติ การณ์ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของสังคมไทย

ไม่เพียงเท่านั้น ธนาคารหลายแห่งล้มลง พร้อมๆ กับการทำให้เครือข่ายธุรกิจบางแห่งที่ยึดโมเดลแวดล้อม ธนาคารอย่างเหนียวแน่นบางเครือข่ายล้มลงไปด้วย

ความจริงธนาคารไทยมีความสั่นคลอนมาก่อนหน้านั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตขึ้นของตลาดหุ้น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของธนาคารระดับโลก เป็นครั้งแรกที่เครือข่ายธุรกิจใหม่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ยึดถือโมเดลเดิมที่พยายามเข้าสู่วงโคจรแวดล้อมธนาคารได้บ้างแล้ว

สิ่งแวดล้อมที่คุกคามธนาคารไทยครั้งนั้น ส่งผลให้ผู้บริหารธนาคารบางส่วนเริ่มปรับตัวก่อนวิกฤติการณ์บ้างเหมือนกัน โดยเฉพาะบทบาทของธนาคารกสิกรไทย ภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ บัณฑูร ล่ำซำ ซึ่งเข้ามาบริหารธนาคาร ต่อจากยุครุ่งเรืองที่สุดของบิดา นั่นคือกระบวนการปรับตัวธนาคารในเชิงเทคนิค ในเชิงโนว์ฮาว โดยศึกษาแบบอย่างจากตะวันตก เป็นการปรับตัวเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริการ มิใช่การปรับตัวในเชิงอุดมคติของธนาคารไทยแต่อย่างใดไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนั้นโมเดลธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้นจากเดิม

ว่าไปแล้ว กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพธนาคาร ภายใต้แนวคิดการบริหาร ธุรกิจสมัยใหม่ ที่กลายเป็นแนวทางหลักของธนาคารในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ในยุคที่ไม่มีอุดมคติเช่นแต่ก่อนในปัจจุบัน นับว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในการทำลายความเทอะทะ ความไม่มีประสิทธิภาพ คนล้นงาน โดยเฉพาะปรับความคิดในเรื่องการบริการลูกค้า ฯลฯ อันเกิดขึ้นและสะสมมาจากระบบธนาคารไทยเก่า ที่คุ้มครองโดยอุดมคติการสนับสนุนรายใหญ่ได้ไม่น้อยเช่นกัน

การศึกษาและปรับตัวตามแนวทางธนาคารระดับโลกอย่างเข้มข้น เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการของธนาคารไทย โดยเฉพาะการใช้เงินซื้อเทคโนโลยีสมัยใหม่ การจ้างที่ปรึกษาจากตะวันตก ด้วยการลงทุนมากที่สุดในระบบธุรกิจไทยเลยทีเดียวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยแลกกับระบบธนาคารใหม่ที่ไม่ผูกติดกับเครือข่ายทางภูมิศาสตร์เดิม ที่ใช้สาขาเป็นแกนในการขยายตัวทางธุรกิจ ซึ่งดำเนินมาอย่างเข้มข้นและดุเดือด ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา

ผมถือว่าธนาคารไทยในปัจจุบัน เป็นธุรกิจที่มีการปรับตัวมากที่สุด จากระดับโครงสร้างจนถึงรูปแบบของธุรกิจ ซึ่งเป็นธุรกิจเดียวที่ปรับตัวรุนแรงที่สุด อันเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ

ระบบธนาคารใหม่ได้สร้างจุดบริการได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว สร้างบริการให้ความสะดวกกับลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารสาขาในยุคก่อน ว่าไปแล้ว เป็นการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่ายสาขา แล้ว ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่ากว่า ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการปรับโครงสร้างธุรกิจที่เทอะทะ จำนวนพนักงานมากเกินไป ก็นับว่าการปรับตัวเชิงเทคนิคที่น่าสนใจ ประการสำคัญในประวัติศาสตร์ธนาคารไทย

การสร้างจุดบริการที่หลากหลาย โดยใช้ระบบสื่อสารแบบใหม่ โดยรวมถือเป็นการสร้างเครือข่ายธนาคารที่นับว่าทรงประสิทธิภาพมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารระดับโลกในประเทศไทย ถือว่าเป็นช่วงประวัติศาสตร์ของการทำงานหนักของผู้บริหารธนาคาร ที่สามารถปรับความคิดในเชิง คุณภาพอย่างมาก ภายในช่วงเวลาที่ไม่ยาวนานนัก ที่ใครเคยบอกว่าธุรกิจขนาดใหญ่อย่างธนาคารไทย จะปรับตัวได้ยากนั้น เห็นจะไม่จริงเสียแล้ว ในยามนี้

อย่างไรก็ตาม บุคลิกความเป็นธนาคารไทย ซึ่งยังถกเถียงกันมากว่า จะมีมูลค่าเพิ่มอย่างไรหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารระดับโลกที่อยู่ในเมืองไทย การพังทลายความคิดใช้สาขากับการใช้เทคโนโลยีใหม่ มีความหมายเชิงยุทธศาสตร์หนึ่ง ก็คือ ความใหญ่ที่มีความผันแปรตามสาขานั้น จะไม่มีความหมายอีกต่อไป แนวทางนี้เท่ากับเอื้อให้ธนาคารระดับ โลกในประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากยุทธศาสตร์ใหม่ ที่ว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีสร้างจุดบริการของธนาคารไทยในปัจจุบัน ก็คือ แนวทางที่เข้าทางของ ธนาคารระดับโลกนั่นเอง

คำถามที่น่าสนใจมากในขณะนี้ น่าจะอยู่ที่ธนาคารไทยจะสร้างโมเดลของตนเอง มีคุณค่าของความเป็นธนาคารท้องถิ่นอย่างไร หรือว่าไม่มี หรือว่าไม่มีแรงจูงใจที่จะสร้างขึ้น ดูความเชื่อของนักธนาคารยุคปัจจุบันที่ว่า "ความเป็นธนาคารท้องถิ่นนั้น มีคุณค่าที่บางมาก" จะมีอิทธิพลอย่างมาก

ผมคิดว่า มี แม้ว่าจะดูเหมือนน้อยมาก แต่หากเราไม่คิดจะสร้างโอกาสเช่นนั้น โอกาสของธนาคารไทยจะคงอยู่ในระบบธนาคารระดับโลก แม้ ในประเทศไทยก็คงเหลือไว้แต่ชื่อ ซึ่งไม่มีบุคลิกเฉพาะ ไม่มีอุดมคติที่สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยเลยเช่นในอดีต แม้จะมองว่าแนวทางในอดีตนั้นมีปัญหามากก็ตาม

จึงถือว่าน่าเสียดาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us