Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กันยายน 2548
หนี้เน่าภาคประชาชนพุ่ง รัฐจี้สมาคมแบงก์หามาตรการรับมือ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง
โฮมเพจ กรมบังคับคดี

   
search resources

กระทรวงการคลัง
กรมบังคับคดี
วราเทพ รัตนากร
ไกรสร บารมีอวยชัย
Loan




คลัง เปิดยอดหนี้เอ็นพีแอลที่จะเข้าโครงการแก้หนี้ภาคประชาชนรวมเฉียด 2.5 ล้านราย แบ่งเป็นหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์กว่า 7 หมื่นราย มูลค่ารวม 3.8 หมื่นล้านบาท ระบุส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ลงทะเบียนคนจนไว้แล้ว พร้อมสั่งการให้แบงก์รัฐ-สมาคมธนาคารไทย กลับไปดูข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอีกครั้ง พร้อมนำข้อมูลคาราวานคนจนหามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ยังตกหล่น คาดได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ด้านกรมบังคับเตรียมยกร่างกฎหมายปลดหนี้บุคคลธรรมดา หวังผลักดันให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า จากการสำรวจข้อมูลลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์ พบว่า โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่เคยลงทะเบียนคนจนในส่วนของปัญหาหนี้สินในระบบกับธนาคารไว้อยู่แล้ว

โดยในส่วนของธนาคารรัฐ 5 แห่ง ที่ลงทะเบียนไว้ 2.4 ล้านราย จากตรวจสอบข้อมูลมีลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ 2.068 ล้านราย ซึ่งในจำนวนนี้สามารถเจรจาแล้วเสร็จ 99.02% แบ่งเป็นกลุ่มที่สามารถตกลงกันได้ตามเงื่อนไขเดิมของธนาคาร 1.871 ล้านราย หรือคิดเป็น 90.61% และกลุ่มที่สอง ตกลงกันได้ตามเงื่อนไขใหม่ที่ธนาคารได้ผ่อนปรนเงื่อนไขตามข้อเรียกร้องของลูกหนี้จำนวน 1.88 แสนราย หรือคิดเป็น 9.11%

ส่วนที่เจรจาไม่สำเร็จ เพราะลูกหนี้เสนอเงื่อนไขที่ธนาคารไม่สามารถรับได้จำนวน 5,600 ราย หรือ คิดเป็น 0.27% ซึ่งจะนำข้อมูลของกลุ่มแรกและกลุ่มที่ยังตกลงกันไม่ได้ มาพิจารณาดูอีกครั้ง เพื่อหาทางช่วยเหลือให้ทั่วถึงและครอบคลุมต่อไป

สำหรับลูกหนี้ในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 70,189 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 38,000 ล้านบาท นอกนั้น จะเป็นหนี้ในส่วนของสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน ,กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ,บัตรเครดิต และอื่นๆ โดยที่ประชุมได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาในละส่วน

"ที่ประชุมได้มอบหมายให้ธนาคารรัฐทั้ง 5 แห่ง และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย ไปดูข้อมูลตัวเลขหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอลของคนที่มาลงทะเบียนไว้แล้ว เพื่อมาแยกเป็นสัดส่วนสำหรับใช้พิจารณากำหนดแนวทางช่วยเหลือ ซึ่งจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนของกระทรวงการคลังอีกครั้ง โดยขณะนี้ข้อมูลทั้งหมดเกือบสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงว่าจะกำหนดแนวทางการช่วยเหลืออย่างไร ซึ่งขณะนี้ได้มีการศึกษาแนวทางแต่ละรูปแบบไว้แล้ว คาดว่าน่าจะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาได้เร็วๆ นี้" นายวราเทพ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1.7 ล้านราย มูลหนี้รวม 1.36 แสนล้านบาท ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้ว 2.37 แสนราย คิดเป็น 13% ของทั้งหมด และมีลูกหนี้ไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อ 1.008 ล้านราย คิดเป็น 58% ส่วนที่เหลือ 5.07 แสนราย คิดเป็น 29% เป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดต่อได้ หรืออาจตกลงกันได้เอง

โดยในส่วนที่เจรจากันได้แล้ว มีลูกหนี้ที่ประสงค์จะขอกู้เพิ่มจำนวน 2.035 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ 14,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ ให้กู้ไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 70,000 ราย คิดเป็น 34% มูลหนี้ 4,900 ล้านบาท และยังให้กู้ไม่ได้ 75,900 ราย คิดเป็น 3.7% มูลหนี้ 6,850 ล้านบาท ที่เหลือไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะลูกหนี้ไม่มาติดต่อ 57,000 ราย คิดเป็น 28% ซึ่งในส่วนนี้ ได้มอบหมายให้ธนาคารที่รับผิดชอบไปพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไข เพื่อให้ลูกหนี้ สามารถกู้ได้ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จากที่กำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระภายใน 10 ปี ก็ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระ เป็น 20 ปี หรือ กรณีที่ไม่มีหลักประกัน ก็ให้สามารถนำญาติหรือ บุคคลที่มีรายได้ มาค้ำประกันแทน เป็นต้น

สำหรับลูกหนี้ที่ขอยุติเรื่องไปนั้น ได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาว่ามาจากสาเหตุใด หากยุติด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งที่ไม่ใช่ความสมัครใจ หรือยังมีความเดือดร้อนอยู่ ก็จะนำมาแก้ไขใหม่ ซึ่งภายในเดือนพฤศจิกายน 2548 นี้ จะได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่คาราวานแก้จนที่ทำให้ทราบถึงสาเหตุและหาแนวทางช่วยเหลือให้ครอบคลุมต่อไป

ฟื้นฟูลูกหนี้บุคคลธรรมดา

นายไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่าทางกรมฯอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะยกร่างกฎหมายเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้บุคคลธรรมดาให้สามารถเข้ามาอยู่ในสังคมได้และเป็นการเอื้อประโยชน์ของลูกหนี้ให้เหมือนกับประเทศอื่นที่ม่การแก้ไขกฎหมายในการช่วยเหลือลูกหนี้บุคคลธรรมดา โดยแนวทางขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีและข้อเสียของกฎหมายของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีการแก้ไขกฎหมาย อย่างชาร์เตอร์(บท)ที่ 7 และ 13 ที่ระบุในหลักการให้ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ชำระหนี้ไม่ได้ ให้มาชำระบัญชีกับธนาคาร และให้ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ได้ หรือบทที่ 13 มีหลักการว่า ให้สิทธิลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด แต่ลูกหนี้มีรายได้ประจำมีเงินเดือน และสามารถผ่อนชำระได้ ลูกหนี้มีสิทธิมาร้องต่อศาลทำแผนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยชำระจากรายได้ของลูกหนี้

" ลูกหนี้ที่เข้ากระบวนการดังกล่าว ทางกรมฯต้องมีบทบัญญัติเพื่อป้องกันมิให้ลูกหนี้ที่ไม่สุจริตเข้ามาปะปนกับลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่สุจริตและได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ กลไกตรวจสอบต้องมีเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในระบบไม่ใช่เป็นการเปิดช่องให้กับคนที่มือไม่สะอาดเข้ามา" นายไกรสรกล่าว

สำหรับแนวทางการยกร่างนั้น อธิบดีฯกล่าวว่ามี 2 แนวทางคือ 1.หากทางกรมฯศึกษาข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหากทางกรมฯต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการยกร่าง ก็จะเชิญผู้แทนจากผู้ทรงคุณวุฒิในสายงานต่างๆเข้ามาเป็นกรรมการ และ2.หากกรมฯไม่มีศักยภาพในการยกร่างกฎหมายขึ้นมา คงต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมที่จะดำเนินการยกร่างกฎหมายต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us