Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 กันยายน 2548
คลังยันคงรถไฟฟ้า7สาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
Transportation




กระทรวงการคลัง ยืนยันการก่อสร้างรถไฟฟ้า 7 สาย ตามกรอบเงินลงทุนก่อสร้างเมกะโปรเจกต์รวม 1.7 ล้านล้านบาท โดยรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายที่มีปัญหากำลังอยู่ระหว่างการทบทวน อาจปรับลดขนาดลงเพื่อให้คุ้มกับการลงทุน ด้านรมว.คมนาคม ยันไม่ยันยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกระบบรถไฟฟ้า หรือรถเมล์บีอาร์ที แต่จะรับฟังความเห็นจากประชาชนเป็นหลัก ขณะที่ "คำรบลักขิ์" เตรียมรวบรวมข้อดี-ข้อเสียให้รมว.คมนาคมเป็นผู้ตัดสินภายใน 2 สัปดาห์นี้ ระบุใช้ระบบบีอาร์ที ลดต้นทุนก่อสร้างถึง 1.5 แสนล้าน

นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยังคงยืนยันตัวเลขการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ที่ 1.7 ล้านล้านบาท

ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคม จะปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย โดยปรับเปลี่ยนโครงการจำนวน 2 สาย คือสายสีส้ม และสายสีม่วง เป็นโครงการเป็นรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) นั้น นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการควรคำนึงในเรื่องการเชื่อมต่อ การขยายเส้นทางในอนาคต เพราะการทำเป็นรูปแบบเดียวกันจะสามารถดำเนินการได้ง่ายกว่า

"จากการหารือร่วมกับรมว.คลัง ยังไม่ได้มีการฟันธงว่าโครงการทั้ง 2 สาย ควรจะปรับเปลี่ยนอย่างไร เพราะยังมีอีกมิติหนึ่งที่กระทรวงคมนาคมจะต้องคำนึงถึง คือการเชื่อมต่อและการขยายเส้นทางในอนาคตนั้น โครงการควรจะเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาในอนาคต ซึ่งหากเป็นคนละระบบ การบริหารงานก็จะไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน การต่อขยายก็จะทำได้ยากขึ้น"

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนโครงการดังกล่าว อาจจะใช้วิธีการลดขนาดของโบกี้บรรจุผู้โดยสาร หรือลดขนาดของโครงการลงทุน โดยจะนำข้อสังเกตนี้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน แต่เรื่องดังกล่าวเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการที่จะตัดสินใจ

"ผมมั่นใจว่าโครงการเมกะโปรเจกต์ จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และเป็นสิ่งที่ประเทศจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ส่วนปัญหาเรื่องโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย นั้นเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำโครงการให้มีความชัดเจน"

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์จะไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะเศรษฐกิจของไทยม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงการเมกะโปรเจกต์เพียงอย่างเดียว และยืนยันว่าเรื่องวิธีการหาแหล่งเงินทุน (ไฟแนนซ์ซิ่ง) นั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่สิ่งสำคัญคือโครงการจะต้องเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเสียก่อน

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปฏิเสธกรณีที่กระทรวงคมนาคมจะยกเลิกการพิจารณาเลือกใช้ระบบบีอาร์ที และกลับไปใช้ระบบรถไฟฟ้าเหมือนเดิมว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมยังไม่ตัดสินใจเรื่องดังกล่าว และรอผลศึกษาที่มอบหมายให้ สนข. ไปจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อดูความเหมาะสมว่าจะใช้ระบบเดินรถแบบใด และยังไม่อยากจะให้ข้อมูลรายละเอียดขณะนี้ เนื่องจากจะสร้างความสับสนให้กับประชาชน

"ผมยืนยันว่า การตัดสินใจของกระทรวงคมนาคมในการเลือกระบบขนส่งแบบใดนั้น จะรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นอันดับแรก รวมถึงจะดูในเรื่องของผลกระทบที่มีต่อหนี้สาธารณะและอัตราค่าโดยสารของระบบขนส่งที่ต้องมาจากการคำนวณเงินลงทุนที่ใช้ไปในโครงการด้วย โดยกระทรวงคมนาคมจะยังคงเร่งรัดให้เกิดการประมูลงานก่อสร้างระบบขนส่งในเส้นทางดังกล่าวให้ได้ภายในสิ้นปีนี้"

ด้านนายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ) กล่าวภายหลังการประชุมพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อเสรุปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบขนส่งมวลชนสายสีส้มและสีม่วงตามข้อเสนอของที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้เปลี่ยนเป็นระบบบีอาร์ แต่จะจัดทำข้อเสนอทั้งข้อดีและข้อเสียและรูปแบบที่เห็นควรดำเนินการให้นายพงษ์ศักดิ์ เป็นผู้ตัดสินใจภายใน 2 สัปดาห์นี้

นายคำรบลักขิ์ กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนจากรถไฟฟ้าเป็นรถบีอาร์ทีนั้น ช่วยลดต้นทุนก่อสร้างประมาณ 150,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนสายสีม่วงจากบางใหญ่ - บางเขน หรือบางซื่อ จะมีทางเลือกว่าอาจลดขนาดรถไฟฟ้า ที่เดิมกำหนดรองรับอนาคตไว้ 30 ปี มีความยาว 6 ตู้โดยสาร เหลือ 3 ตู้โดยสารก่อน เพื่อให้เหมาะกับความต้องการโดยสารและเส้นทางให้ไปสิ้นสุดที่บางใหญ่ หรือสะพานพระนั่งเกล้า จากนั้นต่อเส้นทางด้วยบีอาร์ที

ส่วนสายสีม่วง ช่วงล่าง ตั้งแต่วงเวียนใหญ่-ราษฎร์บูรณะ จากการตรวจสอบเห็นสมควรว่าระบบขนส่งมวลชนควรเป็นบีอาร์ที และมีงานส่วนหนึ่งของ กทม. ที่เส้นทางสายสีม่วงจะวิ่งผ่าน ซึ่งในส่วนนี้สามารถใช้ตอม่อร่วมกันได้ โดยกทม. จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งให้พิจารณาด้วย

ส่วนสายสีแดง มี 2 ส่วน คือ ส่วนปรับปรุงต่อจากยมราช-บางบำหรุ มูลค่า 30,000 ล้านบาท จะเสนอรัฐบาลอนุมัติให้มีการออกแบบก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดประมูลได้แน่นอนประมาณเดือนธันวาคมนี้ โดยส่วนแรกที่จะประมูลได้คือ สถานีบางซื่อ รวมทั้งเส้นทางบางซื่อ-รังสิต ซึ่งภายในสัปดาห์หน้า จะประชุมกันเพื่อสรุปตารางงานที่ชัดเจนออกมา สำหรับเส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดประมูลตามมา ส่วนสายแม่กลอง มีทางเลือกในการก่อสร้างรวม 8 รูปแบบ ที่จะพิจารณาร่วมกัน โดยเฉพาะสถานีตากสิน ว่าจะใช้ทางเลือกอะไร และในส่วนของเส้นทางจากสถานีวงเวียนใหญ่-หัวลำโพง ที่ส่งผลกระทบกับประชาชน ก็จะเปลี่ยนเป็นสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินแทน ซึ่งจะใช้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 6,000 ล้านบาท

ส่วนสายสีส้ม ซึ่งมีเส้นทางอยู่ 3 ส่วน คือ บางกะปิ-ห้วยขวาง-อนุสาวรีย์ชัยฯ-บางบำหรุ ซึ่งก่อนจะเข้าวงแหวนสุทธิสาร ไปเชื่อมกับสายสีแดง จะมีการลดขนาด โดยในส่วนของถนนรามคำแหง มีถนนลอยฟ้าทำให้แคบ จึงได้ใช้โมโนเรียล หรือรถไฟรางเดี่ยวมาใช้วิ่งในระยะทางสั้น ๆ สามารถขนส่งได้ 1,000 คนต่อทิศทาง

นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2548 นี้ สศค.จะร่วมกับ ดอยช์แบงก์ ธนาคารออมสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จัดการสัมมนาเรื่อง "การจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ" (International Conference: Financing Thailand's Maga Projects) เพื่อให้ความข้อมูล ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเมกะโปรเจกต์ ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล (กรุงเทพ)

โดยการสัมมนาจะเน้นการให้ความรู้ในส่วนของการบริหารจัดการและการจัดหาแหล่งเงินทุนของโครงการ เนื่องจากปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังมีความสับสนเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ จะครอบคลุมสาระสำคัญต่าง ๆ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน และโครงการเมกะโปรเจกต์ ผลกระทบของโครงการดังกล่าวต่อเศรษฐกิจไทย โครงการเมกะโปรเจกต์และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้แบ่งโครงการเมกะโปรเจกต์ออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.โครงการขนส่งระบบราง (Mass Transit) และคมนาคม วงเงินลงทุน 752,000 ล้านบาท คิดเป็น 44% ของวงเงินทั้งหมด ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจมาก เพราะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง และเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ เนื่องจากต้องมีการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ และมีการนำเข้าวัตถุดิบมาก

2.โครงการเพื่อสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษา เป็นต้น วงเงินลงทุน 406,000 ล้านบาท คิดเป็น 24% ของวงเงินทั้งหมด และ 3. โครงการกึ่งสังคมและเศรษฐกิจ เช่นโครงการทรัพยากรน้ำ พลังงาน การสื่อสาร และอื่น ๆ วงเงิน 543,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 32%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us