Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
บัวกลางบึง             
 





อย่าเพิ่งแปลกใจว่านึกอย่างไรถึงแปลเรื่องดอกบัวที่เราคุ้นเคยกันมาแต่เล็กแต่น้อย รับรองว่าไม่ได้เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนแน่

ฝรั่งเขาก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอกบัวได้น่าสนใจไม่เบา เขาบอกว่าเป็นพันธุ์ไม้ดอกอายุเก่าแก่ที่สุดและโบร่ำโบราณที่สุดชนิดหนึ่งของโลก จากที่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ด้วยการวิวัฒนาการต่อๆ กันมานับล้านปี คือตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ครองโลกนั่นเลยแหละ

ที่ดอกบัวทุกวันนี้มีสายพันธุ์หลากหลายให้ได้ชื่นชมและเลือกใช้ประโยชน์นั้น ต้องยกคุณงามความดีให้กับ Joseph Bory Latour-Marliac นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ทุ่มเทเวลาและชีวิตให้กับการผสมพันธุ์ดอกบัวมานานกว่า 60 ปี จนได้ดอกบัวสายพันธุ์ใหม่ถึง 70 สายพันธุ์

ปัจจุบันมีดอกบัวที่ใช้ชื่อต้นว่า Nymphaea มากราว 50 สปีชี่ส์ และพบได้ในทั่วโลกทั้งแถบภูมิอากาศอบอุ่นและเขตร้อน ที่น่าแปลกคือดอกบัวในแฟมิลี่นี้มีทั้งประเภททนทานและเปราะบาง

บัวประเภทที่มีความทนทานและเบ่งบานในตอนกลางวันนี่แหละ ที่มีเสน่ห์ดึงดูดความสนใจของเราเป็นส่วนใหญ่ จากที่ดอกมีรูปทรงได้สัดส่วนและใหญ่ เมื่อบานเต็มที่แล้วสีของดอกตัดกับสีเขียวสดใสของใบที่มีจุดสีน้ำตาลประแลดูสวยสะดุดตา ให้ความรู้สึกสดชื่นได้เป็นอย่างดี

ดอกบัวที่มีความทนทานสูงนี้ แบ่งเป็น 2 sub-divisions คือ Marliacea ซึ่งดอกมีความแข็งแรง ใบมีลักษณะกลม สังเกตได้ง่ายๆ จากดอกที่บานแล้วจะชูคออยู่เหนือน้ำเล็กน้อย อีกกลุ่มหนึ่งคือ Laydekeri ซึ่งสังเกตได้จากดอกที่ลอยเรี่ยอยู่บนผิวน้ำและใบตกกระ เช่น N.'Laydekeri Liliacea ซึ่งมีดอกสีม่วง เกสรสีเหลือง ใบมีลายจุดอยู่ด้านในและชอบม้วนตัวเข้าหากัน

ฝรั่งเขายังตบท้ายไว้น่าฟังและเหมือนกับที่เราคุ้นกันเสียด้วยซี .......ใบของบัวที่มีชื่อต้นว่า Nymphaea ซึ่งมีลักษณะแบนลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำและกลมสวยนั้น ช่วยสร้างร่มเงาให้กับท้องน้ำได้อย่างอเนกอนันต์ ช่วยสกัดกั้นไม่ให้สาหร่ายในน้ำเจริญเติบโตขยายพันธุ์เร็วเกินไปจนมากเกินความต้องการ และช่วยรักษาสภาพของน้ำให้ใสสะอาดอยู่เสมอ

คำเตือนส่งท้ายของฝรั่งก็คือ อย่าได้ประมาทเป็นอันขาด ถ้าท้องน้ำใดมีกอบัวขึ้นอยู่ดารดาษล่ะก็ ลึกลงไปใต้ท้องน้ำนั้นจะมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าบนผิวน้ำจะแลดูสงบนิ่งก็ตาม เข้าทำนองภาษิตไทยที่ว่า "น้ำนิ่งไหลลึก" (Still waters do run deep) นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us