Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2548
สั่งถอยBRTแทนสายสีม่วง-ส้ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงคมนาคม
โฮมเพจ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

   
search resources

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
กระทรวงคมนาคม
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
Transportation




คมนาคมแย้ม 90% ไม่เอาบีอาร์ทีแทนรถไฟฟ้าสายสีม่วง-สีส้ม หลังกระแสความไม่พอใจของมวลชนที่ไม่ต้องการเมล์ด่วนพิเศษแทนรถไฟฟ้าแรงกว่าที่คิด "เฮียเพ้ง" แก้เกี้ยวสั่งสนข. ศึกษารูปแบบใหม่เทียบโนโนเรล-ไลท์เรล อย่างไหนคุ้มค่ากว่า ด้าน "คำรบลักขิ์" ยันเดินหน้า สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ก่อนสายแรก พร้อมเปิดประมูลได้ทันปีนี้ ตามด้วยสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

แหล่งข่าวจากการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทดแทนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ มีความเป็นไปได้ 90%ที่จะไม่ใช่รถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) แต่อาจจะมีระบบรางประเภทอื่นที่มีความเหมาะสมมากกว่า โดยจะเพิ่มงบประมาณไม่มาก แต่ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าเฮฟวี่ เรล ซึ่งเป็นรูปแบบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงเดิม

ทั้งนี้ หลังจากรัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีล้ม โดยจะลดขนาดลงเหลือเพียงเป็นรถบีอาร์ทีได้ก่อให้เกิดกระแสไม่พอใจของประชาชนและเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อิงอยู่กับเมกะโปรเจกต์ ขณะเดียวกันในซีกฝ่ายค้านโจมตีรัฐบาลอย่างหนักหน่วงว่าหลอกลวงประชาชน

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษารูปแบบการก่อสร้างใหม่ ว่าจะมีแนวทางใดอีกบ้าง เพื่อให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุน โดยให้เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย งบประมาณในการก่อสร้าง งบประมาณในการบริหารจัดการในการเดินรถ โดยให้สนข.ส่งผลการศึกษากลับมาภายใน 3 สัปดาห์นี้

สำหรับรูปแบบการก่อสร้างอื่นที่ สนข. จะต้องไปศึกษาเพื่อมาเปรียบเทียบกับระบบบีอาร์ที คือ รถไฟฟ้าขนาดเบา(โมโนเรล) และรถไฟฟ้าไลท์เรล

ข้อดีของรถโมโนเรลนั้น คือ การก่อสร้างรวดเร็ว เพราะโครงสร้างพื้นฐานไม่ซับซ้อน ขนาดตอม่อไม่ใหญ่นัก ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วย แต่มีข้อด้อยคือ ต้นทุนตัวรถไฟฟ้าค่อนข้างสูง ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าที่วิ่งในรางเฮฟวี่ เรล อย่างไรก็ตามหากกระทรวงคมนาคมเลือกแผนการก่อสร้างแบบโมโนเรล คาดว่างบประมาณซึ่งเดิมปรับลดเหลือ 3.43 แสนล้านบาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขงบประมาณที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่สูงนัก

ขณะที่รถไลท์เรลนั้น มีข้อดี คือ การลงทุนไม่สูงมาก เพราะโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก แต่มีข้อด้อย คือการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าแบบที่ให้บริการในปัจจุบันทำได้ยาก เพราะตัวโครงสร้างพื้นฐานและระบบรางแตกต่างกัน

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว่า การที่รัฐบาลปรับลดขนาดโครงการระบบขนส่งมวลชนให้เล็กลงกว่าเดิม เพื่อใช้งบประมาณน้อยลงนั้น ไม่ใช่มาจากสาเหตุว่าประชาชนที่อาศัยย่านเตาปูน บางซื่อ และ ถ. กรุงเทพ-นนท์ ออกมาประท้วงรูปแบบการก่อสร้างจากรถไฟลอยฟ้า ให้เปลี่ยนเป็นรถใต้ดิน แต่เป็นเหตุผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเดิมรัฐบาลมีนโยบายเดิมจะใช้เงินภาษีน้ำมันเข้ามาอุดหนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่เมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้น แผนการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าจึงเปลี่ยนไป

นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า หลังจากการปรับแผนโครงการขนส่งมวลชนใหม่ ทำให้ สนข. ต้องมาพิจารณาด้วยว่ารถไฟฟ้าสายใดจะเริ่มก่อสร้างได้เป็นสายแรก โดยขณะนี้เห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายเหนือ จะเริ่มก่อสร้างได้เป็นลำดับแรก เนื่องจากรถไฟฟ้าสายดังกล่าวจะออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. นี้ และประมูลได้ภายในปีนี้

"รมว. คมนาคม สั่งให้เร่งเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าให้ได้โดยเร็วที่สุด เพราะเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้แต่ละหน่วยงานเร่งประมูลเมกะโปรเจ็กต์ภายในสิ้นปี ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นๆ หากออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ จะทยอยก่อสร้างตามมาเป็นลำดับ ขณะที่บีอาร์ทีนั้น หากรัฐเลือกที่จะก่อสร้างรูปแบบนี้ จะต้องใช้เวลาศึกษาและออกแบบรายละเอียดประมาณ 4-5 เดือน คงเริ่มก่อสร้างไม่ทันปีนี้ แต่จะดำเนินการควบคู่ไปกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ" นายคำรบลักขิ์ กล่าว

สำหรับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่จะทยอยก่อสร้างตามมา คือ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากนั้นจึงเป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม และสีเขียวอ่อน ซึ่งกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้รับผิดชอบ มีส่วนที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้คือ ส่วนต่อขยายบีทีเอส อ่อนนุช-สำโรง และสถานีตากสิน-ถนนตากสิน แต่ขณะนี้ กทม. อยู่ระหว่างยื่นเรื่องถึงกระทรวงมหาดไทย ให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลงทุน จากเดิมเอกชนลงทุน 100% เป็นขอให้รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเอกชนลงทุนระบบเดินรถ โดยจะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us