|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บ้านปูเตรียมเร่ขายแหล่งถ่านหินบาราเซนโตซา ที่อินโดนีเซีย เหตุล้มโครงการสร้างโรงไฟฟ้าปากเหมือง หลังผลศึกษาพบว่าต้นทุนค่าไฟสูงกว่าคู่แข่งและห่างไกลแหล่งน้ำ พร้อมแตะเบรกไม่ลงทุนอย่างผลีผลาม หวั่นเศรษฐกิจโลกทรุดหลังราคาน้ำมันพุ่งกระฉูด คาดปีหน้ารายได้แตะ 2.9 หมื่นล้านบาท ตามปริมาณการขายถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยใกล้เคียงปีนี้ 35 เหรียญสหรัฐต่อตัน
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯตัดสินใจยกเลิกการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าปากเหมืองที่บาราเซนโตซา ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากพิจารณาแล้วโครงการดังกล่าวมีเงื่อนไขที่รับไม่ได้ 2 เรื่อง ดังนั้นบริษัทฯเตรียมจะมีการขายสิทธิต่างๆของแหล่งถ่านหินบาราเซ็นโตซาออกไป เพราะเป็นแหล่งที่มีถ่านหินคุณภาพต่ำและ ต้นทุนค่าขนส่งสูง หลังจากก่อนหน้านี้ บ้านปูได้ขายเหมืองMampun Pandan ที่อินโดนีเซียไปแล้ว
ปัจจุบันเหมืองบาราเซนโตซา ยังไม่ได้มีการพัฒนาเพื่อนำถ่านหินขึ้นมาจำหน่าย เนื่องจากเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ (ซับบิทูมินัส) และอยู่ห่างไกลท่าเรือ ทำให้ขุดถ่านหินมาขายไม่คุ้ม จึงได้หาหนทางเพิ่มมูลค่าโดยจะสร้างโรงไฟฟ้าปากเหมืองเพื่อขายให้การไฟฟ้าของอินโดนีเซีย แต่ผลศึกษาพบว่าต้นทุนค่าไฟสูงกว่าคู่แข่ง ขณะเดียวกันเหมืองดังกล่าวอยู่ห่างจากแหล่งน้ำที่จำเป็นในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาและสำรวจแหล่งดังกล่าวไปแล้ว 2 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายชนินท์ กล่าวว่าจากภาวะราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วง2-3ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและระมัดระวังการลงทุน โดยยอมรับว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46-47%ของราคาขายถ่านหินเฉลี่ยปี 2548 และปีหน้าคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะอยู่ที่ระดับ 45% ของราคาขายถ่านหินเฉลี่ยที่ 35 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาขายถ่านหินไม่ได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากนัก เพราะถ่านหินมีปริมาณสำรองและผู้ผลิตมากรายกว่าน้ำมัน
"หลังจากอินโดนีเซียประกาศลอยตัวน้ำมันดีเซล จากเดิมที่ขายอยู่ 23 เซ็นต์ต่อลิตร เพิ่มขึ้นเป็น 56 เซ็นต์ต่อลิตร ทำให้ต้นทุนการผลิตถ่านหินของบ้านปูเพิ่มขึ้น 10% หรือประมาณ 2.2 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากปีหน้าราคาน้ำมันยังสูงอยู่ จะทำให้ต้นทุนการผลิตถ่านหินที่อินโดฯขยับขึ้นไปอีก 1.4 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 15%เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว ส่วนค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ทำให้บ้านปูรับรู้รายได้เงินบาทเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาขายถ่านหินอิงดอลลาร์สหรัฐ "
ปัจจุบัน บ้านปูได้มีการเจรจาขายถ่านหินล่วงหน้าปี 2549 ไปแล้ว 7-8 ล้านตัน หรือ 35% ของปริมาณถ่านหินที่จะผลิตและจำหน่าย 21 ล้านตัน โดยคาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถขายถ่านหินล่วงหน้าได้ไม่ต่ำกว่า 70%ของปริมาณถ่านหิน
"ที่ผ่านมา รายได้บ้านปูเติบโตสูงมากใน 2-3ปีนี้ ซึ่งคาดว่าระดับรายได้จะขยายตัวไม่สูงมากนักในอีก2 ปีข้างหน้า แต่บริษัทจะเน้นรักษาระดับกำไรให้คงที่ โดยปี 2550 คาดว่าราคาถ่านหินจะอ่อนตัวลงมา แต่กำไรจะไม่ลดลง เพราะบริษัทรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีเข้ามาแทนที่ หลังจากนั้นในปี 2551 รายได้และกำไรบ้านปูจะยิ่งเติบโตมากขึ้นอีก จากโครงการถ่านหินในจีนและอินโดนีเซีย"
คาดปี49โกยรายได้2.9หมื่นล.
นางสมฤดี ชัยมงคล ผู้อำนวยการสายอาวุโส-การเงิน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีหน้า คาดว่าบ้านปูจะมีรายได้รวม 2.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มีรายได้รวม 2.7 หมื่นล้านบาท หรือโตขึ้น 13-14% เป็นผลจากปริมาณการผลิตและจำหน่ายถ่านหินที่เพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านตัน จากปีนี้ที่ผลิตและจำหน่ายถ่านหิน 18.5 ล้านตัน โดยมีราคาขายถ่านหินเฉลี่ยล่วงหน้า 35-36 เหรียญสหรัฐต่อตันใกล้เคียงกับราคาขายถ่านหินเฉลี่ยปีนี้
โดยครึ่งปีแรก 2548 บ้านปูขายถ่านหินไปแล้ว 7.7 ล้านตัน คาดว่าครึ่งปีหลังจะขายถ่านหินได้ตามเป้าหมาย 18.5 ล้านตัน เนื่องจากเหมืองทรูบาอินโดเพิ่มเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ ทำให้ขายได้ตามเป้าหมายบริษัทฯ
นอกจากนี้ในปี 2550 บ้านปูจะรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีที่เดินเครื่องผลิตครบ 1,400 เมกะวัตต์ ประมาณ 2,000 ล้านบาท และรายได้จากการขายถ่านหินที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านตัน
ส่วนแผนการลงทุนในอีก 4 ปี(2548-2551) จะใช้เงินลงทุน 55ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้าในไทย อินโดนีเซียและจีน โดยบริษัทต้องการมีสำรองถ่านหินให้เพียงพอต่อการผลิตไปนาน 15 ปี ซึ่งการลงทุนขยายปริมาณสำรองทำได้ในแหล่งถ่านหินที่บ้านปูถือครองสิทธิ์อยู่แล้ว โดยไม่ต้องเร่งซื้อเหมืองใหม่ในช่วงนี้ แหล่งที่มาของเงินทุนจะมาจากการดำเนินงานเฉลี่ยปีละ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินสดในบัญชี 150 ล้านเหรียญสหรัฐ และการขายหุ้นบมจ.อะโรเมติกส์อีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไม่มีแผนจะออกหุ้นกู้ในช่วงนี้
|
|
|
|
|