|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บอร์ดบีโอไอ ถกวางบทบาทอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ฝันไกลสู่ศูนย์กลางภูมิภาคในอีก 5 ปีข้างหน้า ไทยเตรียมยกเครื่องทั้งสิทธิประโยชน์ โครงสร้างภาษี ระบบลอจิสติกส์ ประเคนให้สุดลิ่ม ปรับโฉมเน้นลงทุนเป็นแพคเกจหวังดึงลงทุนตั้งแต่ชิ้นสว่นยันสำเร็จรูป พร้อมให้สิทธิพิเศษกับผู้ที่ลงทุนนิคมฯที่รองรับลงทุนอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะ สุริยะบอกเป็นนัยยักษ์ใหญ่สหรัฐเล็งย้ายฐานมาไทย “คลัง”พร้อมปรับโครงสร้างภาษีเหล็ก-ปิโตรฯหนุน
วานนี้( 4 ก.ย.) คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งนำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานบอร์ดบีโอไอ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม นายทนง พิทยะ รมว.คลัง และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมว.คมนาคม ในฐานะกรรมการ ได้ร่วมแถลงข่าวหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ”ยุทธศาสการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า”กับภาคเอกชน
นายสมคิด กล่าวว่า ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมานักลงทุนจากต่างชาติเริ่มย้านฐานการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(Electronics&Electrical) หรือ E&E มายังไทยมากขึ้นและเมื่อไทยเริ่มทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA โดยเฉพาะกับญี่ปุ่นจะทำให้ศักยภาพไทยมีมากขึ้น ดังนั้นไทยจำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนใหม่ เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง E&E ในภูมิภาคอีก 5 ปีข้างหน้า
สำหรับการหารือได้พิจารณา 4 หัวข้อในการปรับโครงสร้างรวมได้แก่ 1. การส่งเสริมที่จะต้องปรับให้เป็นการพิจารณาการลงทุนแบบเป็นแพคเกจ(Package) จากเดิมที่จะอนุมัติให้เป็นโครงการๆ ไป เพื่อให้เกิดการลงทุนเป็นลักษณะของกลุ่มอุตสาหกรรมหรือ Cluster เพื่อเป็นการสร้าง Value Creation หรือมูลค่าทางความรู้ให้มากขึ้นและทำอย่างไรให้ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) ของไทยให้เข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน โดยในรายละเอียดทั้งหมดบีโอไอจะต้องสรุปแผนงานให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนจากนี้
2.การปรับโครงสร้างภาษีอากรที่ปัจจุบันยังเหลื่อมล้ำให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม E&E มากขึ้น โดยเรื่องดังกล่าวทางกระทรวงการคลังจะรับไปพิจารณาโดยให้เวลาเอกชนไปรวบรวมข้อเสนอดังกล่าวกลับมาภายใน 1-2 เดือนเช่นกัน 3. การวิจัยและพัฒนา(R&D) การส่งเสริมการลงทุนจะต้องมุ่งเน้น R&D เป็นสำคัญซึ่งจะต้องให้สิทธิประโยชน์จูงใจเอกชนในการลงทุนด้านนี้ และ 4. การดูแลโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมโดยเฉพาะคงจะต้องพิจารณาในการให้ส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมที่จะรองรับอุตสาหกรรมดังกล่าวขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้เกิดการลงทุนที่เชื่อมโยงกัน
“หลักการคงจะต้องดูภาพรวมคงไม่ใช่ให้ภาษีต่ำๆ เพื่อดึงดูดการลงทุน เพราะบางครั้งศักยภาพอื่นๆที่เรามีก็น่าจะเพียงพอ และภาษีก็น่าจะดูอัตราที่เหมาะสม ปัจจุบันไทยส่งออกอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่ 1.3 ล้านล้านบาทในปี 2547 การปรับยุทธศาสตร์ครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะดึงการลงทุนเพื่อเพิ่มการส่งออก ไม่ต่ำกว่าอีก 50%ในอีก 4-5ปีข้างหน้า ”นายสมคิดกล่าว
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า หลักการที่จะให้เป็นแพคเกจ อาทิ เอกชนยื่นเสนอลงทุนมารวม 5 เฟส ปกติบีโอไอจะอนุมัติทีละโครงการหรือให้ทีละเฟสและสิทธิประโยชน์สูงสุด 8 ปีซึ่งของใหม่ยื่นมาทั้งหมดก่อนแล้วเฟสแรกลงทุนไปก่อนพอเฟส 2 ขึ้นทีหลังเฟสแรกก็จะได้รับการขยายให้เท่ากับ 8 ปีซึ่งโดยรวมโครงการแรกจะได้รับมากกว่า 8 ปี แต่ในรายละเอียดทางบีโอไอจะต้องไปดูความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้แล้วยังจะต้องไปพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะอุตสาหกรรมดังกล่าวไปพร้อมๆ กันด้วยเพื่อที่จะทำให้การลงทุนมีศักยภาพเพราะจะสามารถดึงการลงทุนที่เป็น Cluter ได้ ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนรวม และที่สำคัญการลงทุนจะต้องมีหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับคนไทยด้วย
นายทนง พิทยะ รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับโครงสร้างภาษีที่เหลื่อมล้ำระหว่างวัตถุดิบกับสินค้าสำเร็จรูปยังมีหลายประเภทที่คลังกำลังพิจารณาอยู่โดยเฉพาะเหล็ก และปิโตรเคมี ที่มีการปกป้องทางภาษีไว้สูงทำให้สินค้าสำเร็จรูปที่ใช้เหล็กและปิโตรฯเป็นวัตถุดิบมีต้นทุนสูงไปด้วยก็คงจะต้องไปพิจารณาในจุดนี้อย่างเหมาะสมต่อไป
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคมกล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงและผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรม Sciene & Technology Industrial Park ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญเพราะปัจจุบันการลงทุนอุตสาหกรรมนี้ในไทยยังกระจายอยู่ไปทั่วทำให้ไม่รวมตัวเป็น Cluster
|
|
|
|
|