|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทักษิณ-โคอิซูมิ ร่วมประกาศความตกลงเป็นหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่น เปิดเสรีตลาดการค้า-ลงทุนแล้ว ไม่รอเจรจาแหล่งกำเนิดสินค้าที่เป็นประเด็นสำคัญเดิมพันความเสียเปรียบ-ได้เปรียบของไทย ขณะที่ข้อตกลงรถยนต์ 3000 ซีซี หรือต่ำกว่าต้องเจรจากันใหม่ คาดลงนามกันได้ไม่เกินครึ่งปีแรกปีหน้า ด้านเครือข่ายองค์กรเอกชนห่วงผลกระทบเอฟทีเอจะทำลายระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะโครงการ 30 บาทฯ
รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าวานนี้ (1 ก.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายจุนอิชิโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้พบหารือกันที่กรุงโตเกียวจากนั้นได้ร่วมกันประกาศบรรลุข้อตกลงในหลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ Japan-Thailand Economic Partnership Agree ment (JTEPA) หลังจากเจรจากันมาตั้งแต่ เดือนก.พ.2547
นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันว่า การเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวนอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศแล้วยังจะเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและขยายช่องทางธุรกิจระหว่างกัน เพราะข้อตกลงจะครอบคลุมกิจการทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน การประกอบธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนความร่วมมือทวิภาคีด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง การส่งเสริมด้านการค้า การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจะรวมถึงโครงการอุตสาหกรรมเหล็กกล้าการสนับสนุนนโยบาย ดีทรอย์แห่งเอเชีย ของไทยผ่านโครงการความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ และการสนับสนุนครัวไทยสู่โลกของไทย
อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายเร่งสรุปงานด้านเทคนิคที่ยังเหลือโดยเฉพาะในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) และเร่งยกร่างตัวบทความตกลงให้เสร็จสิ้น เพื่อความตกลงมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และบรรลุเป้าหมาย ที่จะอำนวยความสะดวกการเข้าสู่ตลาดโดยคาดว่าจะสามารถลงนามความตกลงได้ในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2549 และสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งการดำเนินขั้นตอนภายในประเทศให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ การเจรจาเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นประเด็นสำคัญที่คณะเจรจาฝ่ายไทยกังวลเพราะจะส่งผลให้การส่งสินค้าเกษตรของไทยเข้าญี่ปุ่นเสียเปรียบ ขณะที่ข้อตกลงว่าด้วยธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนที่เป็นประเด็นอ่อนไหวของไทย จะต้องเจรจากันใหม่ในส่วนของรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ 3000 ซีซีหรือต่ำกว่าก่อนที่จะลงนามด้วย ทักษิณกล่อมนักธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนไทย
นอกจากการประกาศความตกลงระหว่างกันแล้ว วานนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ใช้เวลาพบปะกับนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น อาทิ นักธุรกิจจากบริษัทการค้าระหว่างประเทศชั้นนำของญี่ปุ่น 10 บริษัท ประธานธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และประธานสันติบาตกลางสหกรณ์การเกษตร ที่โรงแรมที่พัก
ทั้งนี้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังผู้บริหาร และคณะนักธุรกิจญี่ปุ่น 10 บริษัท อาทิ บริษัท มิตซุย มารูเบนี โนมูระ เทรดดิ้ง ฮิตาชิ มิตซูบิชิ โตโยต้า ตูชู เข้าเยี่ยมคารวะ และหารือกับนายกรัฐมนตรี ว่า พ.ต.ท.ทักษิณเชิญชวนให้บริษัทต่างๆ เพิ่มการลงทุนในไทย โดยรัฐบาลไทยพร้อมอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหา และอุปสรรคของการลงทุนในอนาคต ซึ่งหลายบริษัทประกาศว่า พร้อมขยายการลงทุนต่อไป
น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังเปิดโอกาสให้นายเคียวซูเกะ ชินนูซาวะ ประธานเจบิค ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ให้ไทยกู้เงินในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ และโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าพบ โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่เจบิค ให้การสนับสนุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยมาตลอด โดยเฉพาะเมกะโปรเจกต์ใน 3-4 ปีข้างหน้า
"ประเทศไทยมีนโยบายที่จะใช้วงเงินเครดิตของผู้ที่เป็น Supplier หรือลักษณะของ Barter Trade (การค้าต่างตอบแทน) ซึ่งเจบิคสามารถให้เงินกู้ผ่านทาง Supplier ได้ หาก Supplier นั้น ชนะการประมูลในโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ เจบิคก็พร้อมให้การสนับสนุน นอกจากนี้ เจบิค ยังพร้อมจะผลักดันพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ให้มีบทบาทมากขึ้นในวงการการเงินของโลก" นพ.สุรพงษ์ กล่าว
ส่วนการพบกับนายโอซามุ วาตานาเบะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ของพ.ต.ท.ทักษิณ น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า เจโทรยืนยันว่าจะส่งเสริมเรื่องการพัฒนาสินค้า OTOP ของไทยต่อไป รวมทั้งจะส่งเสริมโครงการครัวไทยสู่ครัวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสินค้าไทยด้วย
อย่างไรก็ตามในการหารือกับนายอิซามิ มินาตะ ประธานสันนิบาตกลางสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น (เจเซ็นชุ) น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ประธานเจเซ็นชุ ได้แสดงความห่วงใยว่าการเปิดเขตการค้าเสรีที่ญี่ปุ่นทำกับไทย จะส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น แต่พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ตลาดสินค้าเกษตรไม่ได้มีเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น ขอให้คิดว่าเป็นการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตร เช่นเดียวกับที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่น และเป็นโอกาสในการสร้างผลผลิตได้มากขึ้น
ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากไทยลงนามเอฟทีเอร่วมกับญี่ปุ่นแล้ว จะเป็นโอกาสขยายการส่งออกสินค้าการเกษตรมายังญี่ปุ่นได้มากขึ้น ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการส่งออกได้อีก 50% ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ เตรียมดำเนินการเจรจากับกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น เพื่อจัดทำมาตรฐานสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันระหว่างญี่ปุ่นกับไทย จากนั้น จะตั้งทีมงานของ 2 ประเทศ แลกเปลี่ยนการตรวจมาตรฐานให้เรียบร้อย เมื่อเปิดเอฟทีเอ สินค้าที่ผ่านการตรวจแล้ว สามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้ทันที ขณะเดียวกัน สินค้าเกษตรของญี่ปุ่นก็สามารถส่งเข้ามาในประเทศไทยได้ทันทีเช่นกัน หวั่นกระทบระบบบริการสุขภาพ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายกลุ่ม FTA Watch กล่าวถึงผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นว่า มีประเด็นน่าเป็นห่วงหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับให้เปิดเสรีบริการทางการแพทย์โดยยินยอมให้คนญี่ปุ่นที่ป่วยเข้ามารักษาในประเทศไทยโดยสามารถเบิกจ่ายเงินจากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายญี่ปุ่นในอัตรา 70% จะเป็นสาเหตุของการทำลายระบบดูแลรักษาสุขภาพของคนไทยที่จำเป็นต้องใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ และมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ผู้ป่วยประกันสังคม กระทบคนไทยกว่า 63 ล้านบาท เพราะต้องใช้ทรัพยากรทางการแพทย์กลุ่มเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีจำกัดและไม่เพียงพอโดยเฉพาะในชนบทห่างไกล
นางสาวสารีกล่าวต่อว่า จากการศึกษาของ น.พ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย และ ดร.ครรชิต สุขนาค พบว่า การเปิดเสรีการค้าด้านบริการจะทำให้แพทย์หลั่งไหลไปสู่ภาคเอกชน การลงทุนผลิตแพทย์ จะสูญเปล่าถึง 420-1,260 ล้านบาทต่อการรับผู้ป่วย ต่างชาติ 1 แสนคนต่อปี
"ขณะนี้ไทยมีแพทย์น้อยมากประมาณ 27,000 คนต่อปี หรือหนึ่งคนต่อประชากร 2,400 คน เมื่อต่างชาติเข้ามารักษามากผู้ที่จะได้ประโยชน์คือโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ที่อยู่ในภาครัฐก็จะลาออก ใครจะรักษาผู้ป่วย 30 บาท ใครจะอยู่เป็นอาจารย์แพทย์" นางสาวสารี ตั้งคำถาม
|
|
|
|
|