|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปัจจุบัน นอกจากตราสัญลักษณ์สินค้าไทย หรือ Thailand's Brand จะเป็นที่รู้จักและเล็งเห็นคุณค่าอย่างกว้างขวางของผู้ประกอบการผลิตและส่งออกสินค้าไทยแล้ว สัญลักษณ์ Thailand's Brand ยังยึดหัวหาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้นล่าสุด บริษัท Kreyenhop & Kluge Gmbh & Co Food Import ประเทศเยอรมนี ได้ขออนุญาตใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย ติดประดับบนรถบรรทุกสินค้าของบริษัทฯ อีกด้วย
ลองไปย้อนดูกันหน่อยว่า Thailand's Brand มีความเป็นมาอย่างไร และกรมส่งเสริมการส่งออก ได้สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการส่งออกไทยหันมาใช้ Thailand's Brand กันด้วยวิธีใดบ้าง
ย้อนหลังไปเมื่อเดือน มี.ค.2542 คณะ กรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้เสนอกลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การเร่งสร้างขีดความสามารถทางการค้าของไทยในตลาดโลก ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทย
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมส่งเสริม การส่งออก กล่าวว่า ในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทย มุ่งเน้นการสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยโดยรวม (Country Image) และของสินค้าไทย (Product Image) ผ่านการผลิตด้วยฝีมือที่ประณีตพิถีพิถัน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษและถือเป็นจุดเด่นของสินค้าไทย
โดยใช้สัญลักษณ์ "ตราประเทศไทย" หรือ Country Logo ซึ่งมีคำว่า "Thailand : Land of Diversity & Refinement" และสัญลักษณ์ "ตราสินค้าไทย" หรือ Product Logo ซึ่งมีคำว่า "Thailand : Diversity & Refinement" เป็นสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เกิดเป็นภาพที่ชัดเจนในใจของผู้ซื้อ ผู้บริโภคทั่วโลกว่า ไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย และพิถีพิถันในการผลิตและให้บริการ ส่งเสริมให้บริษัทผู้ส่งออกไทยใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand's Brand กับสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในการส่งออกอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย
อีกทั้งเพื่อเป็นการผลักดันให้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย หรือ Thailand's Brand เป็นที่รู้จักและนิยมของผู้นำเข้า ผู้ซื้อ และผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อมุ่งให้ Thailand's Brand เป็น Citizen Brand ในที่สุด และเพื่อช่วยรับรองแก่ผู้ซื้อ ผู้บริโภคว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์ตราสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต
หลังจากที่กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการเปิดตัวโครงการฯ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2542 จากนั้นได้มีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทยสู่สายตาชาวโลก รวมทั้งการเปิดตัวในต่างประเทศที่ประเทศญี่ปุ่น และในประเทศอื่น ๆ ตามมา
ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมการส่งออกยังได้เผยแพร่สัญลักษณ์ตราประเทศไทยและตราสินค้าไทย ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ในงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการอื่นๆ ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี
ในส่วนของการจัดงานแสดงสินค้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกจัดขึ้น ก็ได้มีการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดงานแสดงสินค้าสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย การเปิดบูทตอบข้อซักถามของผู้ส่งออกและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ในงานต่างๆ เช่น งานวันส่งเสริมการส่งออกไทย งานบีโอไอแฟร์ งานอะเมซิ่งไทยแลนด์ แกรนด์เซลส์ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศ เช่น CNN, CNBC, Discovery สื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ เช่น Forbe. Fortune เป็นต้น
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก เห็นว่าธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารไทย เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลกได้ จึงได้จัดทำโครงการให้ตรารับรอง Thailand's Brand แก่ร้านอาหารไทยทั่วโลกที่ได้มาตรฐานตามที่กรมฯ กำหนด รวมทั้งได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ในการคัดเลือกร้านอาหาร/ภัตตาคารไทยในต่างประเทศที่ได้มาตรฐาน เข้าร่วมโครงการใช้ Thailand's Brand อีกด้วย
นับตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันมีผู้ส่งออกไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยจำนวน 948 ราย ใน 20 หมวดสินค้า ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางและเครื่องมือแพทย์ ของขวัญและของตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น เคหะสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง เครื่องเขียนและสิ่งพิมพ์ วัสดุก่อสร้างและเครื่องมือบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ และ สินค้าอื่นๆ
นอกจากการดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ประเทศไทยและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว กรมส่งเสริมการส่งออก ยังมีแผนที่จะประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์ "แบรนด์ประเทศไทย" และ "ตราสินค้าไท" ผ่านสื่ออื่นๆ และประสานงานกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำแสตมป์รูปสัญลักษณ์ Thailand's Brand และพิมพ์ลงในไปรษณียบัตร
รวมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้งสมาคมสร้างตราผลิตภัณฑ์ไทย และคาดว่าจะมีมาตรการส่งเสริมอื่นๆ แก่ผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาตในการสร้างและพัฒนา "ตราสินค้าของเอกชน" หรือ Individual Brand สู่ตลาดต่างประเทศต่อไป
กรมส่งเสริมการส่งออก ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยและตราสินค้าไทยขนาดนี้ Thailand's Brand ไม่กระหึ่มไปทั่วโลกก็ให้มันรู้ไป
|
|
|
|
|