|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธนาคารทหารไทย ประเมินเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัว 3.4% เหตุได้รับปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนเกือบ 44% กดดันขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพุ่ง 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ภาพรวมทั้งปีคงเป้าจีดีพีไว้ที่ระดับ 3.4%
นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานวิจัย ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ยังคงได้รับปัจจัยลบต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียว กันปีก่อน 43.9% ทำให้มูลค่าการ นำเข้าขยายตัวสูงถึง 33.7% เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น สัดส่วนประมาณ 14.7% ของมูลค่า การนำเข้ารวม
จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลสูงถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงขาดดุลสูงถึง 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับการขาดดุล 1.5 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรก ด้านรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนสูงถึง 11.1% ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น 18.3% แม้ว่าผลผลิต จะลดลง 6.1% ตามการลดลงของผลผลิตพืชผลสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยเพิ่มอำนาจซื้อให้ผู้บริโภคได้ระดับหนึ่งสอดคล้องกับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรกเล็กน้อย
สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ดัชนีการลงทุนภาค เอกชนได้ชะลอลงเหลือ 9.8% จาก 10.8% ในไตรมาสแรกตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง เนื่องจากมีการขยายตัวสูงมากในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งผู้ประกอบการเริ่มมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิต และยอดคำสั่งซื้อที่ มีแนวโน้มชะลอลงจากอัตราดอกเบี้ย ที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ได้เร่งตัวขึ้นมากโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 7.8% เทียบ กับไตรมาสแรกที่ขยายตัวเพียง 3.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิต เพื่อการส่งออกทั้งหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการจาก ต่างประเทศ และหมวดอาหารปรับตัวดีขึ้นเพราะปัญหาวัตถุดิบคลี่คลายลงภาวะเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่ 2 อาจจะขยายตัวได้ดีขึ้น กว่าไตรมาสแรกเล็กน้อยในอัตรา 3.4%
ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจจะขยายตัวดีกว่าครึ่งแรกของปีเล็กน้อย เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกและการชะลอลงของการนำเข้าจากการใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการยกเลิกการชดเชยราคาน้ำมันในประเทศและการสะสมสต๊อกไว้ค่อนข้างมากแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี
ประกอบกับการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีแต่จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ความต้องการในประเทศขยายตัวได้ไม่สูงนัก ดังนั้น งานวิจัยธนาคารทหารไทยจึงยังคงประมาณการภาวะเศรษฐกิจ ไทยในปี 2548 ไว้ที่ 3.4%
|
|
|
|
|