หลายคนอาจคุ้นเคยกับเครื่องแมคอินทอช
ในแง่ของการใช้งานง่าย รูปโฉมที่โฉบเฉี่ยว
มีแอพพลิเคชั่นที่เหมาะเจาะสำหรับงานดีไซน์
แต่นับจากนี้แอปเปิลจะพลิกเข้าสู่มิติใหม่
ที่เป็นการทลายกำแพงข้อจำกัดที่มีแต่เดิม
ความน่าสนใจของแมคโอเอสเท็น 10.2 ที่มีชื่อรหัสว่า "จากัวร์" ระบบปฏิบัติการล่าสุด
ที่แอปเปิลนำออก สู่ตลาด ไม่ได้อยู่ที่ฟีเจอร์ หรือแอพพลิเคชั่นที่เป็นคุณสมบัติทั่วไปของเครื่องแมคอินทอช
เช่น mail ตัวใหม่ที่ออก แบบมาเพื่อการกำจัดขยะ iChat หรือการมีแอพพลิเคชั่นสำหรับส่งข้อความที่รองรับ
AIM แอพพลิเคชั่น Address Book ยอดนิยมที่สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางเท่านั้น
แต่ความโดดเด่นของระบบปฏิบัติการจากัวร์นี้อยู่ที่ความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบ
UNIX
ข้ออ่อนที่ทำให้แอปเปิลถูกโจมตีมาตลอด ก็คือ ข้อจำกัดในเรื่องของการเป็นระบบปิดที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบอื่นได้
เมื่อระบบปฏิบัติการ "จากัวร์" ของแอปเปิลสามารถทำงานร่วมกับระบบ UNIX ได้
ย่อมหมายถึงการพลิกมิติใหม่ของ แอปเปิล ที่เปรียบเสมือนเป็นการทลายกำแพงที่เคยเป็นข้อจำกัดในอดีต
เปิดประตู สู่โลกอีกด้านหนึ่งที่แมคอินทอชไม่เคยทำมาก่อน นั่นคือตลาด server
ที่ไอบีเอ็ม, ซัน ไมโครซิสเต็มส์, เอชพี ยึดหัวหาดอยู่ก่อนหน้านี้
อย่างที่รู้ว่า ระบบ UNIX นั้นเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดที่ใช้งานแพร่หลาย
ไม่ได้ จำกัดเฉพาะเพียงแค่สถาบัน การศึกษา มหาวิทยาลัย แต่เริ่มแพร่ขยายไปยังกลุ่มองค์กรธุรกิจทั่วไป
นั่นหมาย ความว่า แอปเปิลจะเพิ่มบทบาทของตัวเองขยายไปยังตลาดใหม่ๆ แทนที่จะจำกัดอยู่แต่เพียงแต่ลูกค้าสิ่งพิมพ์
กลุ่มที่ทำงานด้านกราฟิกดีไซน์
นั่นคือประตูที่เปิดกว้างไปอีกมิติหนึ่งของแอปเปิล แต่จะเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่แอปเปิลยังต้องทำการบ้านต่อไป
แต่สำหรับบริษัทเมโทรซิสเต็มส์ ผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์รายใหญ่ เจ้าเก่าที่ผูกขาดค้าขายให้กับไอบีเอ็ม
ก็เข้ามา เป็นตัวแทนรายล่าสุดของแอปเปิล กลับมองเห็นโอกาสเหล่านี้แล้ว
สิ่งที่ธวิช จารุวจนะ กรรมการผู้จัด การ เมโทร ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น
จำกัด มองเห็นจากการมาของระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดของแอปเปิล ก็คือ วิดีโอสตรีมมิ่ง
ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะมีบทบาทต่อไปในอนาคต ในอีกไม่ช้าข้อมูลที่อยู่บนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนจากการรับส่ง เนื้อหา เสียง ภาพนิ่ง ไปสู่ข้อมูลที่เป็นวิดีโอ
การเล่นเกม ดูหนังฟังเพลงบนอินเทอร์เน็ตจะเป็นเรื่องปกติ ในแง่ของโทรศัพท์มือถือก็มีให้บริการแล้วเป็นการร่วมมือระหว่างเอไอเอส
ไอทีวี และชินนี่
ไอบีเอ็ม ซัน หรือ เอชพี ก็มีคุณ สมบัติรองรับวิดีโอสตรีมมิ่ง เพียงแต่ต้นทุน
การใช้งานของแอปเปิลจะถูกกว่าโดยเฉพาะ ผู้ใช้จำนวนมาก เนื่องจากแอปเปิลเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์
QuickTime ที่สนับสนุน การทำงานของ MPEG-4 ที่ใช้สำหรับรับส่ง ข้อมูลมัลติมีเดีย
ในขณะที่ไอบีเอ็ม หรือซัน ไมโครซิสเต็มส์ ต้องซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ real
audio มาใช้อีกต่อหนึ่ง
การมาถูกเวลาก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากคุณสมบัติในเรื่องของการส่งข้อมูล
มัลติมีเดีย ที่ใช้งานร่วมกับวิดีโอสตรีมมิ่งนั้น จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายความเร็วสูงอย่าง
เครือข่าย broadband และก็เป็นจังหวะเดียวกับทีเอหันมาให้ความสำคัญรุกเข้าสู่ธุรกิจ
broadband ด้วยการนำบริการเมโทรเน็ท ที่จะติดตั้งเครือข่าย broadband ตามอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ
เพื่อให้ลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจสามารถใช้เครือข่าย broadband แทนที่จะต้องเช่าเครือข่าย
Leaseline ที่มีต้นทุนสูงกว่า ทีเอจะเริ่มลงทุนจากอาคาร 10 กว่าแห่ง ในเครือซีพี
และพันธมิตรก่อน จากนั้นจะขยายไปยังอาคารอื่นๆ ให้ครบ 100 แห่ง
นั่นหมายความว่า องค์กรธุรกิจที่อยู่ภายในอาคารเหล่านี้ จะใช้เครือข่าย
broadband ในการเชื่อมโยงกับสาขาต่างๆ หรือรับส่งข้อมูลจาก server ที่ฝากอยู่กับผู้ให้บริการ
IDC หรือดึงแอพพลิเคชั่นมาใช้งานจากผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น ASP ผ่านเครือข่าย
broadband โดยไม่ต้องเช่า โครงข่ายความเร็วสูง ผลที่ตามมาก็คือ โอกาสของ
server ของแมคโอเอสเท็น 10.2 ที่มีคุณสมบัติที่รองรับในการใช้งานเหล่านี้
"ต่อไปไม่ต้องมีวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ราคาหลายแสน มีเพียงแค่กล้อง และโน้ตบุ๊ค
ก็สามารถประชุมกับสาขาได้แล้ว"
และนี่ก็คือวิวัฒนาการที่ถือเป็นก้าวรุกสำคัญอีกก้าวหนึ่งของแอปเปิล คอมพิวเตอร์
ต่อการปรับตัวสู่แนวทางใหม่ ที่ต้องไม่ปิดกั้นตัวเองอีกต่อไป