แม้ว่าการใช้บริการข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือจะยังทำรายได้ไม่มากนัก การใช้งานของผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่กับบริการรับส่งข้อความสั้น
SMS บริการเสียงเรียกเข้า และดาวน์โหลดโลโก ที่เรียกว่าเป็นบริการยอดนิยมอยู่ในเวลานี้
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ๆ ของโทรศัพท์มือถือทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริการข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ
ให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ไม่ใช่จำกัดแค่ส่งข้อความ หรือรูปการ์ตูน แต่ทุกวันนี้ไปถึงขั้นของการดาวน์โหลดส่งไฟล์วิดีโอ
ที่เรียกว่า วิดีโอสตรีมมิ่ง ที่เอไอเอสนำออกมาให้บริการใช้ดูข่าว รวมถึงการเล่นเกมออนไลน์บนเทคโนโลยี
จาวาโฟน ที่กำลังมาแรง หรือการส่งข้อความในรูปแบบมัลติมีเดีย
เรียกว่า ทำให้ทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์ มือถือ ผู้พัฒนาเนื้อหา หรือผู้ให้บริการที่รวบรวมเนื้อหา
ต่างก็มองเห็นโอกาสบริการ รูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น แม้กระทั่งซัปพลายเออร์
ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายเอง ก็ต้องออกแรงผลักดันเพื่อให้บริการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง
ด้วยเหตุที่แผนก Marketing Intelli- gence ของซีเมนส์ ไอซี โมบาย ประเทศไทย
ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน สำรวจผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือ จำนวน 500 ราย เกี่ยวกับ
การตอบรับการให้บริการด้านข้อมูลมัลติมีเดีย ผ่านโทรศัพท์มือถือที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ
การสำรวจได้แบ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี wap บนโครงข่ายปกติ จำนวน 100 ราย
และผู้ใช้ wap บนเครือข่าย GPRS 100 ราย และผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่เคยใช้บริการเหล่านี้มาก่อน
300 ราย และยังสอบถามในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอีก 7,000 ราย ผ่านแบบสอบถามออนไลน์
ผลสำรวจที่ได้รับที่น่าสนใจคือ นอก เหนือจากบริการส่งข้อความสั้น หรือ
SMS แล้ว บริการข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้มาก คือ ดาวน์ โหลดโลโก และริงโทน ยังอยู่ในความนิยมของผู้ใช้ทุกวัน
ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบ ถามที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี 10% ใช้บริการนี้ทุกวัน
(ตารางที่ 1)
ผลสำรวจยังพบว่า ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการใช้บริการข้อมูลบน GPRS อยู่ที่
480 บาทต่อเดือน โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เป็นชาย อายุน้อย การศึกษาสูง และมีรายได้สูง
และการใช้งานไม่จำกัดแค่โทรศัพท์มือถือ แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์พีดีเอ
และ laptop (ตารางที่ 2)
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ WAP อยู่เพียง 70,000 ราย อัตราค่าบริการโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้บริการ
WAP อยู่ที่ 574 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าบริการถึงสองเท่า
นอกเหนือจากบริการส่งข้อความสั้น SMS แล้ว บริการอย่าง EMS (Enhanced Messaging
Service) หรือบริการรับส่งข้อความด้วยภาพและเสียง นอกเหนือจาก ข้อความธรรมดา
บริการ MMS (Multimedia Messaging Service) ผู้ใช้สามารถรับส่งเสียงเพลง
ภาพ หรือวิดีโอคลิป ก็เริ่มได้รับความสนใจ (ตารางที่ 3)
ทั้งนี้ อัตราค่าบริการที่ผู้ใช้ยินดี จ่าย สำหรับบริการ EMS และ MMS อยู่ที่
3 บาท และ 5 บาท ตามลำดับ สะท้อนให้ เห็นว่าเรื่องของราคายังเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการข้อมูลไร้สายต้องคำนึงถึงในการให้บริการ
สำหรับราคาของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้ยินดีจ่าย เป็นหัวข้อหนึ่งที่ถูกสำรวจ
(ตารางที่ 4) ผลสำรวจยังพบว่า คุณสมบัติพิเศษของโทรศัพท์มือถือ เช่น การป้อนข้อความที่ง่ายขึ้น
รองรับภาษาไทย จอภาพสี และมีขนาดใหญ่ ล้วนแต่ส่งผลต่อปริมาณการใช้บริการทั้งสิ้น
สรุปคือ ต้องใช้งานง่าย มีบริการหลากหลาย รวดเร็ว และราคาถูกทั้งอัตราค่าบริการ
และเครื่องลูกข่าย โดย 90% ของโทรศัพท์มือถือที่ขายอยู่ในไทย มีราคาต่ำกว่า
10,000 บาท (ตารางที่ 5)
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมจะเป็นไปในทางที่ดี (ตารางที่ 6) แต่ผลสำรวจของ
ซีเมนส์ สะท้อนให้เห็นว่าความท้าทายยังมีอยู่มาก ก่อนจะถึงยุคเฟื่องฟูที่แท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นโครงข่าย ราคาค่าบริการ และ โทรศัพท์มือถือ หรือเงื่อนไขอื่นๆ
"เวลานี้เราอยู่ในขั้นแรกของบริการเท่านั้น การสำรวจเป็นแค่ข้อมูลส่วนหนึ่งของการคาดการณ์แนวโน้มของตลาด
เพราะ อีก 2-3 เดือนข้างหน้า บริการ MMS และจาวา จะเริ่มให้บริการ ซึ่งหมายความว่า
เราจะมาอยู่ในจุดที่ i-mode ของญี่ปุ่น ให้บริการแล้ว ส่วนจะเกิดได้จริงหรือเปล่า
ผู้ใช้จะก้าวจากบริการ SMS หรือริงโทน ไปสู่บริการข้อมูลใหม่ๆ ได้หรือไม่
ก็เป็นสิ่งที่ต้องมาดูกันอีกที อย่างน้อยนี่ก็เป็นข้อมูลที่ให้โอเปอเรเตอร์ใช้ประกอบการตัดสินใจ"
วิทยา อุปริพุทธิพงศ์ ผู้จัดการแผนกการตลาด อินฟอร์เมชั่น แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น
โมบาย (ICM) บริษัทซีเมนส์จำกัด บอก