|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เพย์ซี่ ผู้ให้บริการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อบริการ "Mobile Payment" ขยายไลน์ธุรกิจเตรียมเปิดให้บริการ "คอน-แทคเลส เพย์เมนท์" ใช้โทรศัพท์มือถือจ่ายค่ารถไฟฟ้า ต้นปีหน้า ล่าสุดเปิด "A-Cash on Mobile" ที่ร่วมกับบีเอ็ม มีเดีย ช่วยผู้เล่นเกมเติมเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือช่องทางใหม่คุมค่าใช้จ่ายการเล่นเกม ตั้งเป้าสิ้นปีมีลูกค้ารวมกว่า 2 แสนราย
นายศิรเวท ศุขเนตร ประธานโมบาย เพย์เมนท์ คลับ บริษัท เพย์ซี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเพย์ซี่เปิดให้บริการ ชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อบริการ "Mobile Payment Club" หรือ MPC โดยการใช้ซอฟต์แวร์เชื่อมโยง ระบบรวมกันให้บริการจ่าย-ชำระเงิน-โอนเงินด้วยโทรศัพท์มือถืออำนวยความสะดวกโอนเงินระหว่างผู้ใช้บริการกับร้านค้าผ่านทาง SMS และ IVR
โมบาย เพย์เมนท์ เป็นช่องทางที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ ร้านค้า และผู้ประกอบการ โดยใช้เลขหมายโทรศัพท์มือถือผูกกับบัญชีธนาคารหรือบัญชีบัตรเครดิตเพื่อใช้ชำระ ค่าบริการสั่งซื้อสินค้าและชำระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ รวมทั้งสาธารณูปโภค
ปัจจุบัน โมบาย เพยเมนท์ สามารถใช้บริการได้ทั้งโทรศัพท์มือถือในระบบ ดีแทค เอไอเอส และออเร้นจ์ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปีนี้ ซึ่งนอกจากการรับส่งข้อมูลด้วย SMS แล้ว ยังพัฒนาใช้ระบบ IVR ซึ่งเป็นโทรศัพท์อัตโนมัติจากธนาคารสำหรับผู้ใช้บริการกดรหัส PIN เพื่อยืนยันการชำระเงินโดยตรงกับธนาคาร
ทั้งนี้ เพย์ซี่จะให้ชื่อ Mobile Payment Club เป็นชื่อกลางในการให้บริการ โดยทางธนาคารที่ร่วมให้บริการในปัจจุบัน 4 แห่งก็ใช้ชื่อบริการที่แตกต่าง กันออกไป ธนาคารเอเชีย ชื่อบริการ Asia-M-pay, ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบริการ SCB Easy M-Pay, ธนาคารกสิกรไทย ชื่อบริการ Mobile Playment Club by KBANK, ธนาคารกรุงไทย ชื่อบริการ KTB M-Play ส่วนธนาคารกรุง-ศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เตรียมเปิด ให้บริการปลายปี 2548 ส่วนธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารออมสินเตรียม เปิดให้บริการในปี 2549 และกับร้านค้าที่ให้บริการ 40-50 แห่ง
นายศิรเวทกล่าวว่า Remote Payment หรือรูปแบบการชำระค่าสินค้า และบริการที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน โดยปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยม มากยิ่งขึ้นโดยมีมูลค่าตลาดรวม Remote Payment ประมาณ 2,000 ล้านทราน-เซกชันในแต่ละปี หรือคิดเป็นตัวเลขประมาณ 6 แสนล้านบาทต่อปี
ในส่วนของเพย์ซี่มีการเติบโต 2-3 เท่าตัวนับตั้งแต่ต้นปี 2548 หรือปัจจุบัน โดยตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2548 ไว้ที่ ลูกค้า 2 แสนราย หรือประมาณ 6 แสน ทรานเซกชัน ด้วยอัตราการบริการต่อ 1 ทรานเซกชัน 7 บาท ในจำนวนนี้ เพย์ซี่แบ่งรายได้กับโอเปอเรเตอร์คนละครึ่ง ส่วนธนาคารจะได้จากร้านค้าที่ร่วมให้บริการ
นายศิรเวท กล่าวว่า เพย์ซี่ เตรียมเปิดให้บริการ "คอนแทคเลส เพย์เมนท์" บริการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือใน ลักษณะเพย์แอดพอยท์ ในลักษณะการใช้บริการที่ผู้ใช้บริการนำโทรศัพท์มือถือผ่านเครื่องอ่านที่สถานีรถไฟฟ้าเพื่อการตัดเงินเป็นค่าบริการ แทนการซื้อบัตรโดยสาร ซึ่งปัจจุบันกำลังประสานกับทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและ BTS เพื่อนำมาเปิดให้บริการในต้นปีหน้า
"คอนแทคเลส เพย์เมนท์" จะเหมาะ การทำทรานเซกต์ที่มีมูลค่าไม่มากนักครั้งละ 50-100 บาท เพื่อแทนการจ่ายเงิน อาจกำหนดให้มีการใส่เงินไว้ในธนาคารไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท ส่วนการใช้จ่าย ในวงเงินสูงอย่างการซื้อสินค้าตามซูเปอร์ มาร์เกตก็จะอยู่ในวงเงินจำกัด โดยปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกับ โนเกีย ซัมซุง โมโตโรล่า เบนคิว และ ซัปพลายเออร์รายอื่นๆ
ผู้บริหารเพย์ซี่กล่าวว่า กับบริการใหม่ที่จะเปิดให้บริการนี้ มองว่าไม่ได้เป็น คู่แข่งกับใคร หรือแม้แต่เอไอเอส ด้วยบริการของเพย์ซี่จะมีธนาคารเป็นผู้ให้บริการเป็นหลัก ธนาคารเป็นผู้ทำการตลาดเอง เพย์ซี่ไม่ได้เป็นผู้เก็บเงิน แต่จะเป็นเหมือนบุรุษไปรษณีย์รับส่งข้อมูล เป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือเป็นดาต้าโปรเซสซิ่ง ในการทำทรานเซกชัน จึงไม่ได้แข่งขันบริการ M-Pay ของเอไอเอส แต่มองว่าเป็นการเสริมกันมากกว่า
รวมทั้งบริการอี-เพย์ของค่ายฮาตาริ ซึ่งเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการพรีเพด ทุกชนิดที่เพิ่งเปิดให้บริการ ทำให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการซื้อสินค้าพรีเพดอย่าง บัตรเติมเงิน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต และเกมออนไลน์สามารถซื้อบริการได้ผ่าน ตู้บริการอี-เพย์โดยจะได้รหัสใช้บริการเหมือนกับการซื้อบัตรเติมเงิน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับเพย์ซี่เช่นกัน เพราะเพย์ซี่เป็นการทำทรานเซกชันผ่านธนาคาร ผ่านทางโทรศัพท์มือถือผู้ใช้บริการจึงไม่ต้องนำเงินติดตัวมาใช้จ่าย แต่จะโอนเงินเข้าไว้ในบัญชี
เพย์ซี่ตั้งเป้าว่าในปี 2548 จะมีลูกค้า ประมาณ 2 แสนราย หรือประมาณ 6 แสน ทรานเซกชัน รายได้ก่อนหักจากโอเปอ- เรเตอร์ประมาณ 4-5 ล้านบาท หรือรายได้เฉพาะของเพย์ซี่ประมาณเดือนละ 1-3 ล้านบาท
"ธุรกิจนี้มีช่องทางทำเงินได้อีกมาก เพียงแต่เป็นธุรกิจในระยะยาว 1-2 ปีแรก เป็นการลงทุน และต้องใช้เวลาอีกสัก 2-3 ปีจึงจะคุ้มทุน"
ล่าสุดเพย์ซี่จับมือกับบริษัท บีเอ็ม มีเดีย (ประเทศไทย)ผู้นำในธุรกิจเกมออนไลน์ เช่น Ragnarok เปิดให้บริการ "A-Cash on Mobile" โดยลูกค้าสามารถ ซื้อบัตร A-Cash ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้วิธีการส่ง SMS ช่วยให้ผู้ใช้เติมเวลาเล่นเกมออนไลน์ได้สะดวกทันใจในทุกที่ ทุกเวลา ทั้งผู้ปกครองสามารถคุมการใช้จ่ายเงินในการเล่นเกมได้ เพราะเป็นการตัดเงินจากบัญชีธนาคาร
|
|
|
|
|