Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กันยายน 2548
บลจ.ฟินันซ่าภาพใหม่กองทุนรวมที่น่าจับตา             
 


   
www resources

โฮมเพจ ฟินันซ่า

   
search resources

Funds
ฟินันซ่า, บล.
ฟินันซ่า, บลจ.




คนที่ติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับวงการกองทุนอยู่เป็นประจำ คงจะยังจำกันได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของบริษัทจัดการกองทุนแห่งหนึ่งในบ้านเรา นั่นก็คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงเทพธนาทร หรือชื่อที่คุ้นหูกันในนาม บลจ.บีฟิท ที่มีกลุ่มบริษัททางการเงินที่มีชื่อเสียงอย่าง "กลุ่มฟินันซ่า" เข้ามาบริหาร แทนด้วยการซื้อใบอนุญาตการจัดการกองทุนต่อจากบลจ.บีฟิท จนกลายมาเป็นหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด ในปัจจุบัน

สำหรับฟินันซ่าเองถือเป็นบริษัททางการเงินที่ เติบโตมากับธุรกิจกองทุนอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงแรกของการลงทุนนั้น เป็นการระดมเงินในต่างประเทศเข้ามาลงทุนในแถบเอเชียอาคเนย์ เรื่อยมาจนกลายเป็นกลุ่มบริษัทฟินันซ่า ที่เห็นทั้งในรูปของบริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิตด้วย ธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บลจ. ฟินันซ่ากล่าว

ธีระ กล่าวว่า หลังจากนั้น อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่า ฟินันซ่ามีแผนที่จะยกระดับตัวเองเป็นแบงก์โดยร่วมกับทางกลุ่มบีฟิท แต่เนื่องจากติดขัดในบางเรื่องจนต้องยกเลิกไป ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ในครั้งนี้เองทำให้ฟินันซ่าเห็นโอกาสในการทำธุรกิจกองทุนรวม ถึงได้เข้ามาซื้อธุรกิจกองทุนรวมต่อจาก บลจ.บีฟิท เต็ม 100% และกลายมาเป็น บลจ.ฟินันซ่าในปัจจุบัน

สำหรับบลจ.บีฟิทเดิมนั้น มีพอร์ตทรัพย์สินภายใต้การบริหารอยู่ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นหลัก เนื่องจาก บลจ.บีฟิทเองถือเป็นผู้บุกเบิกกองทุนประเภทดังกล่าว นอกจากนั้นก็มีกองทุนรวมบ้างทั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมถึงกองทุนส่วนบุคคลด้วย

ซึ่งหลังจากที่ฟินันซ่าเข้ามา ประเด็นหลักๆที่เราให้ความสำคัญคือ รูปแบบการออมเพื่อวัยเกษียณ หรือ Employee's Choice ในรูปของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นรูปแบบการออมที่ยังไม่มีในตลาด

ธีระกล่าวว่า การลงทุนในรูปแบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ส่วนใหญ่จะมีอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ และมีพนักงานเป็นจำนวนมาก โดยพนักงานแต่ละคนนั้นความต้องการทางการลงทุนก็แตกต่างกันออกไปตามวัยที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการลงทุนผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน ผู้บริหารกองทุนจะจัดสรรเงิน ลงทุนนั้นไปลงทุนเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น เช่น การไปลงทุนในพันธบัตรหรือลงทุนในหุ้น โดยที่ไม่มีการกระจายสัดส่วนการลงทุนออกไป ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการตามรูปแบบการลงทุนของแต่ละคนได้
ดังนั้น เราจึงหาทางเลือกให้แก่พนักงานมากขึ้น เพื่อให้ตรงตามรูปแบบการลงทุนและความต้องการในแต่ละช่วงอายุ ด้านการจัดสรรการลงทุนแบบกระจายออกไป ทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมประเภทกองทุนหุ้น หรือกองทุน LTF และ RMF รวมไปถึงการลงทุนต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันสามารถลงทุนผ่านกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ (FIF) ได้

ทั้งนี้ ในการกระจายการลงทุนออกไปนั้น จะพิจารณา ตามความต้องการของผู้ออมในแต่ละช่วงอายุเป็นหลัก เช่น คนที่เริ่มทำงานใหม่ๆ อาจจะยังรับความเสี่ยงจากการลงทุน ได้ สัดส่วนการลงทุนก็อาจจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก ที่เหลือบางส่วนก็กระจายไปลงทุนในกองทุน LTF และ RMF หรือ FIF ด้วย

ส่วนผู้ออมที่ทำงานมาแล้วระยะหนึ่งรวมทั้งผู้ออมที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุการทำงาน รูปแบบการลงทุนก็จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในตราสารหนี้เข้ามาด้วย เนื่องจากความเสี่ยงจากการลงทุนน้อยกว่า แต่ก็จะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นด้วย

ธีระ บอกกับเราว่า รูปแบบการลงทุนดังกล่าว ถือเป็น จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบ้านเรา เนื่องจากที่ผ่านมากองทุนประเภทนี้ไม่ได้มีการพัฒนาสักเท่าไหร่ แต่การที่เห็นธุรกิจ มีการแข่งขันสูงนั้นมาจากการแข่งขันในเรื่องของค่าธรรมเนียม มากกว่า

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องการพัฒนากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ การที่พนักงานหรือผู้ออมสามารถถือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นติดตัวไปด้วย ภายหลังออกจากที่ทำงานเดิมหรือมีการเปลี่ยนงาน แทนที่จะจ่ายคืนให้ทั้งหมดอย่างเช่นในปัจจุบัน นอกเหนือ จากนั้น หากผู้ออมออกไปทำงานอิสระ ก็สามารถนำเงินออม นั้นโอนเข้าไปในพอร์ตการลงทุน LTF และ RMF ได้ด้วย
ซึ่งธีระบอกว่า รูปแบบการออมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำกันอยู่แล้วในต่างประเทศ ซึ่งสำหรับไทยเองขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อกำหนดแนวทางว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังติด ปัญหาเรื่องภาษีกับกรมสรรพากรอยู่ ซึ่งหากหลักเกณฑ์ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทุกหน่วยงานแล้ว เชื่อว่าจะช่วยให้กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นมาได้ ซึ่งต่อไปในอนาคต อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งกองทุนประเภทดังกล่าวขึ้นมา แต่สามารถนำเงินออมนั้นไปลงทุนโดยตรงได้เลย

ทั้งนี้ จากการนำเสนอรูปแบบการลงทุนดังกล่าว ให้ลูกค้าที่มีอยู่ปัจจุบัน ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งแผนในอนาคตก็จะขยายฐานไปสู่ลูกค้าใหม่หรือองค์กรอื่นๆ ต่อไป แต่การที่องค์กรใหญ่ๆ มีการจับคู่หรือมีผู้บริหารจัดการแล้ว ซึ่งการที่จะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าใหม่เข้ามาคง จะใช้รูปแบบการลงทุนของเราไปแบ่งสัดส่วนจากตรงนั้นเข้ามา

"เราโชคดีตรงที่เราเป็นบริษัทที่ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เพราะเรามีลูกค้าเดิมอยู่แล้วประมาณ 9 หมื่นราย ซึ่งสิ่งที่เราจะสานต่อคือ การจัดการข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำเสนอ รูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับลูกค้าต่อไป"

สำหรับการทำธุรกิจการจัดการด้านกองทุนรวม ภาพของฟินันซ่าจะไม่เน้นการออกกองทุนแต่จะเน้นการสะสมความมั่งคั่ง (Wealth Management) ของผู้ลงทุนเป็นหลัก ด้วยการเป็นตัวแทนจำหน่ายกองทุนจากทุกบลจ.

ธีระกล่าวว่า รูปแบบดังกล่าวมีอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ซึ่งสำหรับการจัดการของฟินันซ่านั้นจะใช้หลักสำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ การสะสมความมั่งคั่ง การเก็บรักษาความมั่งคั่ง และการส่งต่อความมั่งคั่ง

โดยในขั้นตอนแรกจะเป็นการแนะนำรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับโพรไฟล์ของผู้ลงทุนนั้นๆ ด้วยการดูประวัติการลงทุนที่ผ่านมา รวมไปถึงการคำนวณสินทรัพย์ที่มีอยู่บวกลบกับภาระหนี้ของผู้ลงทุนที่มีอยู่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมตามความต้องการ ของแต่ละคนได้ หลังจากนั้น ก็จะคัดเลือกกองทุนที่เราคัดสรรมาอย่างดีแล้ว แนะนำให้แก่ผู้ลงทุนไป

ซึ่งในเกณฑ์การคัดเลือกกองทุนนั้น จะพิจารณาจากการจัดอันดับกองทุนของลิปเปอร์เป็นหลัก โดยจะพิจารณา ดูทั้งขนาดของกองทุน การกระจายความเสี่ยง ผลการดำเนิน งานระยะยาว ความต่อเนื่องในการให้ผลตอบแทนของ กองทุนนั้นๆ เพื่อคัดเลือกกองทุนที่เราเห็นว่าดีที่สุดให้แก่ผู้ลงทุนไป โดยจะแบ่งออกเป็นกองทุนแต่ละประเภท ทั้งกองทุนหุ้น LTF และ RMF กองทุนต่างประเทศ รวมทั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ด้วย

โดยในเบื้องต้น จากการพูดคุยกับหลาย บลจ. ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี และยินดีที่จะให้เราเป็นคนจัดการให้ ซึ่งการเป็นตัวแทนจำหน่ายหน่วยลงทุน ดังกล่าว จะคิดค่าจัดการในอัตรา 25-40% ของค่าฟี (ค่าธรรมเนียม) ที่บลจ.นั้นได้รับต่อปี

"เราเรียกการลงทุนนี้ว่าเป็นการลงทุนสายพันธ์ุแท้ ซึ่งเปรียบเสมือนเราเป็นห้างสรรพสินค้าทางการลงทุน ที่มีสินค้าให้เลือกหลายอย่าง เป็นศูนย์รวมการลงทุนที่ได้สินค้าที่ถูกและดีที่สุดกลับไปในครั้งเดียว"

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญของเราคือการ พัฒนาบุคลากร ที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่วางแผนการลงทุนคอยทำหน้าที่แนะนำการลงทุนให้แก่ลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7-8 คน โดยจะต้องพัฒนาบุคลากรในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

สำหรับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น ธีระกล่าวว่า เราเป็นบริษัทจัดการกองทุน การออกกองทุนเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนคงทิ้งไปไม่ได้ ซึ่งตั้งแต่เปลี่ยนเป็น บลจ.ฟินันซ่า ที่ผ่านมาเรามีกองทุนใหม่ออกมา 1 กองทุน คือ กองทุนกองเปิดฟินันซ่า SET 50 ปันผล พลัส มูลค่า 5,000 ล้านบาทในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งกองทุน ดังกล่าวถือเป็นกองทุนกองแรกภายใต้การจัดการของฟินันซ่า โดยหลังปิดขายช่วงไอพีโอไปแล้ว กองทุนสามารถระดมทุนได้ประมาณ 200 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โดยจะเป็นความร่วมมือของบลจ.ฟินันซ่า กับ UBS Global Asset Management ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยบริษัทจะทำการระดมทุนในประเทศแล้วนำไปลงทุนกับกองทุนภายใต้การบริหารของ UBS Global Asset Management ซึ่งปัจจุบันมีลักษณะเป็นโกลบอล อิควิตี้ฟันด์ ที่มีการลงทุนทั่วโลก ทั้งการลงทุนในหุ้นและการลงทุนในตราสารหนี้ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนทั้งในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ทั่วโลกประมาณ 12% ต่อปีและมีมูลค่ากองทุนประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้ ขณะนี้ยังไม่มีแผนการจัดตั้งกองทุนประเภทดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนน้อย ซึ่งการที่บลจ.ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญและมีการเปิดขายหน่วยลงทุนเดือน ละกองในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ฝากเงิน อีกทั้งผู้ฝากเงินเองก็ต้องการหา ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินขึ้นมาในระดับหนึ่ง เท่านั้น

"เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งกองทุนใหม่มากสักเท่าไหร่ ซึ่งสำหรับเราแล้วสินค้าถือเป็นเรื่องรอง แต่การบริหารจัดการถือเป็นเรื่องใหญ่และเราให้ความสำคัญมากกว่า" ธีระกล่าวปิดท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us