|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คาร์ลสเบอร์ก บริษัทผู้ผลิตเบียร์ดัง สัญชาติเดนมาร์ก ระบุสามารถทำข้อตกลงยุติกรณีพิพาทได้แล้วกับเบียร์ช้าง อดีตหุ้นส่วนเก่าที่ฟ้องเป็นมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ โดยยอมควักกระเป๋า-สวอปหุ้นรวมมูลค่ากว่า 120 ล้านดอลลาร์ ด้านเบียร์ช้างเผยยังไม่รู้เรื่อง ระบุแค่ 120 ล้านดอลลาร์น้อยเกินไป คาดคาร์ลสเบอร์ก รีเทิร์นเมืองไทย มีสิทธิ์ทำตลาดเอง หรือหาพันธมิตรร่วม เตรียมอ้าแขนรับแต่เงื่อนไขต้องโดนใจ
คาร์ลสเบอร์ก ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ผลิตเบียร์ยักษ์ใหญ่อันดับ 6 ของโลก แถลงวานนี้ (31) จากกรุงโคเปนเฮเกนว่า ผลประกอบการปี 2005 ของบริษัทจะต้อง ถูกหักออกประมาณ 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นค่าปรับแก้มูลค่าหุ้นให้เกิดความยุติธรรม สำหรับหุ้นของโรงเบียร์ในเอเชีย 2 แห่ง ซึ่งคาร์ลสเบอร์กได้มาไว้ในครอบครองเมื่อปี 2002
นอกจากนั้น คาร์ลสเบอร์กยังจะจ่ายเงินอีก 80 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าสวอปหุ้นจำนวน 50% ในบริษัท บริวเวอรี อินเวสต์ พีทีอี ลิมิเต็ด และค่าหุ้นจำนวน 49% ในบริษัทคาร์ลสเบอร์ก บริวเวอรี ฮ่องกง ซึ่งทางเบียร์ช้างจะโอนให้
ขณะเดียวกัน คาร์ลสเบอร์กก็จะขายหุ้นประมาณ 50% ที่มีอยู่ในบริษัท คาร์ลสเบอร์ก ไทย รวมทั้งหุ้น 49% ในบริษัทสุโขทัย มาร์เก็ตติ้ง ให้แก่ฝ่ายเบียร์ช้าง โดยทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อของบริษัทคาร์ลสเบอร์กไทย ในเวลาต่อไป
คาร์ลสเบอร์กได้ยกเลิกการจับมือเป็นหุ้นส่วน กับเบียร์ช้างเมื่อปี 2003 โดยระบุว่าทางเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน
ทางด้านเบียร์ช้างของเจ้าพ่อสุรา นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์ จากการที่คาร์ลสเบอร์กฉีกสัญญาร่วมลงทุนเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม เวลานี้ทั้งสองฝ่ายสามารถ ตกลงกันได้ด้วยดี โดยระบุในคำแถลงร่วมเมื่อ วานนี้ว่า "เบียร์ช้างกับคาร์ลสเบอร์กสามารถทำความตกลงกันได้อย่างฉันมิตร ในข้อพิพาทระหว่างกัน รวมทั้งที่อยู่ในการดำเนินการของศาลอนุญาโต-ตุลาการในกรุงลอนดอนและกรุงเทพฯ"
นอกจากนั้น คำแถลงร่วมกล่าวด้วยว่า ทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันในประเทศไทยและมาเลเซีย ขณะที่ทางเบียร์ช้างพร้อมที่จะเลิกการฟ้องร้องดังกล่าวด้วย ช้างไทยยังไม่รู้เรื่อง-ยันน้อยไป
ขณะเดียวกันแหล่งข่าวเชื่อถือได้จากกลุ่มธุรกิจนายเจริญ ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงของเบียรช้างยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด โดยจำนวนเงินที่บริษัทคาร์ลเบิร์กจะจ่ายค่าเสียหายให้นั้นจำนวน 120 ล้านดอลล์ ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่บริษัทได้เรียกร้องไว้รวมกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยบริษัทก็ได้รับการชดเชยกับค่าเสียหาย
ส่วนคาร์ลสเบอร์กจะกลับมาทำตลาดในประเทศไทยอีกครั้ง ภายหลังจากที่ยุติกับบริษัทเรียบร้อยแล้วนั้น เนื่องจากบริษัทยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างแน่ชัด ทำให้ยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับความร่วมมือในครั้งนี้แต่อย่างใด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า คาร์ลสเบอร์ก จะกลับมาทำตลาดในไทยเอง ก็เป็นไปได้ เช่นเดียวกับ ในประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ซึ่งคาร์ลสเบอร์กทำเอง ขณะเดียวกันบริษัทอาจจะกลับมาร่วมมือกันใหม่ก็เป็นไป แต่การร่วมมือใหม่ในครั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขใหม่ ที่สร้างความพึงพอใจให้แก่บริษัท
"หากเกิดความร่วมกันระหว่างไทยเบฟฯและคาร์ลสเบอร์กขึ้นจริง กำลังการผลิตของบริษัทก็ยังสามารถรองรับได้ จากโรงงาน 3 แห่ง ประกอบด้วย วังน้อย 120 ล้านลิตร บางบาล 150 ล้านลิตร และกำแพงเพชร 550 ล้านลิตร ฯลฯ รวมแล้ว 1,200 ล้านลิตร จากปัจจุบันกำลังการผลิตระหว่างเบียร์ช้าง และอาชารวมแล้วเกือบ 1,200 ล้านลิตร แต่ก่อนหน้านั้นกำลังผลิตคาร์ลสเบอร์กภายใต้บริษัทมีเพียง กว่า 20 ล้านลิตรเท่านั้น"
แหล่งข่าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาไทยเบฟฯ ซุ่มวิจัยและพัฒนาเบียร์ โดยเฉพาะเซกเมนต์พรีเมียม มาอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำธุรกิจเบียร์ที่ดีจะต้องมี "พอร์ตโฟลิโอ บริวเวอรี่" คือ การมีเบียร์ครอบคลุมทุกเซกเมนต์ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มเบียร์ในเครือของบริษัทมีแต่เซกเมนต์อีโคโนมี่เท่านั้น คือ เบียร์ช้างและเบียร์อาชา โดยังขาดเซกเมนต์สแตน-ดาร์ดส และพรีเมียม อย่างไรก็ตามหากเกิดความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้บริษัทสามารถอุดช่องโหว่ในกลุ่มธุรกิจเบียร์ได้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับในอดีตที่ผ่านมา ภายใต้กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี เคยทำตลาดให้กับคาร์ลสเบอร์กมาก กว่า 12-13 ปี แต่หลังจากแผนเดิมทั้งสองบริษัทมีแนวคิดร่วมทุนกันเพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชีย โดยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ทุนจดทะเบียนประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนการถือหุ้นฝ่ายละ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ซึ่งฝ่ายคาร์ลสเบอร์กให้เหตุผลว่า CBTL มีขนาดเล็กเกินไปจนทุกอย่าง ต้องยุติการเจรจากันไปโดยปริยาย รวมทั้งเกิดกรณีพิพาทและเรียกร้องค่าเสียหาย 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|