|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติเผยตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.ค. ชะลอตัวลง เหตุหลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า แต่เสถียรภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการปรับตัวดีขึ้นทั้งดุลการค้าและดุลบริการ คาดเศรษฐกิจครึ่งปี หลังขยายตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกจาก การส่งออกและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมเผยขอเวลาอีก 1-2 เดือน ก่อนจะพิจารณาทบทวนตัวเลข จีดีพีใหม่
นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวย การอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจ ของเดือนกรกฎาคมโดยรวมชะลอลงจากเดือนก่อนหน้านี้ โดยมีหลายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบ เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงมากทะลุ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไทยประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลเริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้น การปรับระบบค่าเงินหยวนของ จีนและค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย การเร่งกำลังการผลิตในภาคตะวันออก และเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ 2 ครั้ง
จากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่องทำให้ราคาขายปลีก น้ำมันเบนซิน และดีเซลในประเทศเพิ่มขึ้น 3 บาทภายใน 1 เดือน ทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นทุกรายการส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจชะลอการใช้จ่ายและการลงทุนลง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.1% จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 3.9%
ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวมาอยู่ที่ 8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 9.8% ซึ่งสอดคล้องกับการนำเข้าที่ชะลดตัวลง โดยการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 9,687 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.4% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 34.6% จากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนที่ชะลอลง ซึ่งมูลค่าการ นำเข้าดังกล่าวเป็นน้ำมันดิบจำนวน 1,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจาก เดือนก่อน 484 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่การส่งออกมีมูลค่าการส่งออกมีจำนวนทั้งสิ้น 9,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.8% ซึ่งสินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ แผงวงจรรวม ชิ้นส่วนที่ปรับตัวดีขึ้นตามวัฏจักรขาขึ้นของอุตสาห-กรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นต้น ทั้งนี้ จากปริมาณการนำเข้าและส่งออก ดังกล่าวจึงทำให้ดุลการค้าขาดดุลเพียง 338 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่ขาดดุล 1,854 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และดุลบริการเกินดุล 507 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 268 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหนี้ต่างประเทศลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 48,700 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาคการส่งออก จะเห็นว่าการส่งออกในภาคเกษตรยังคงลดลง 8.6% เนื่องจากไม่มีสินค้าที่จะส่งออกจากภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้น 21.6% จากราคาผลิตผลที่เพิ่มขึ้น 21.7% ตามราคาตลาดโลกในขณะที่ผลผลิตลดลง 0.1%
ทั้งนี้ ในส่วนรัฐบาลเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 12.1% ลดลงจากเดือน ก่อน 18.5% จากการชะลอลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวเป็นอีกภาคที่อัตราการขยายตัวยังลดลงต่อเนื่องโดยในเดือน ก.ค.การท่องเที่ยวลดลง 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าการท่องเที่ยวดีขึ้นเล็กน้อยโดยการท่องเที่ยวที่ลดลงนั้นมาจากผลจากระเบิดที่ลอนดอนและความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้รวมทั้งการเตือนภัยสึนามิครั้งใหม่
นางสุชาดากล่าวต่อว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจาก การส่งออกและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังมีงบกลางเหลืออยู่ 50,000 ล้านบาทที่ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นทาง ธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้านักลงทุนมีความมั่นใจในการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ธปท. ต้องรอพิจารณาตัวเลขอีกประมาณ 1-2 เดือนก่อนที่จะทบทวนตัวเลขการประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยขณะนี้ยังใช้ประมาณการภายใต้ราคาน้ำมันเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้อยู่ที่ 54 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจากรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ระบุว่าโอกาสความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 4% ขึ้นไป โดยมีความเป็นไปได้ 29.2%
"แม้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจ เดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เชื่อว่าครึ่งหลังของปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 3.5-4.5% ตามเป้าที่ ธปท.ตั้งไว้ โดยมีแรงสนับสนุนมาจากการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน บรรยากาศการลงทุนและกำไรในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาส 1-2 ก็ยังดีอยู่ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ารายได้ภาคการท่องเที่ยว ในไตรมาสที่ 4 จะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว" นางสุชาดา กล่าว
|
|
|
|
|