|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท. ชี้ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวนรุนแรงวันละ 2-3 เหรียญต่อบาร์เรล ทำให้ไม่สามารถขยับขึ้นราคาน้ำมันเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงได้ทัน โต้รัฐไม่ได้อาศัยปตท.แทรกแซงราคาขายปลีกน้ำมัน มั่นใจแนวโน้มราคาน้ำมันโลกจะอ่อนตัวลงมาหลังพายุ "แคตรีนา" สงบลง และหลายประเทศเริ่มลงทุนผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในอนาคต
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้ค้าน้ำมันบางรายกล่าวว่ารัฐเข้ามาแทรกแซงราคาขายปลีกน้ำมันโดยผ่านปตท.ว่า การที่ปตท. ไม่ได้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงนั้น ไม่ได้ถูกรัฐแทรกแซง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการแกว่งตัวเร็วมาก 2-3 เหรียญสหรัฐต่อวัน ทำให้ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายปลีกได้ทัน โดยปตท.เองจะขยับขึ้นราคาขายปลีกได้ที่ละ 40 สตางค์ ต่อลิตรเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ปตท.มีกำไรจาก ธุรกิจอื่นทั้งขายน้ำมันเครื่องและน้ำมันอุตสาหกรรม มาพยุงการขาดทุนจากการค้าปลีกได้น้ำมันได้ ซึ่งธุรกิจค้าปลีกน้ำมันนั้นกล่าว ได้ว่าอยู่ได้ลำบากทั้งผู้ค้าและประชาชน แต่ต้องเข้าใจว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราว เพราะถ้าสูงไปกว่านี้จะทำให้กำลังซื้อหดลง สุดท้ายราคาน้ำมันก็จะอ่อนตัวลงมา
นายประเสริฐ กล่าวถึงทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกว่ายังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากเกิดความกังวลว่าการส่งน้ำมันจะหยุดชะงักจากพายุเฮอร์ริเคนแคตรีนา ในสหรัฐ ส่วนความต้องการใช้น้ำมันยังเติบโตขึ้นแม้ว่าจะมีอัตราชะลอตัวลง ทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 59 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซล เบนซินสูงกว่า 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ การใช้น้ำมันชะลอตัวลง
โดยการนำเข้าน้ำมันในช่วงเดือนส.ค. พบว่าปริมาณการนำเข้าไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันของไทยในเดือนส.ค.สูงอยู่ แต่อยู่ในวิสัยที่ไม่มีมผลกระทบมากนัก เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันไม่ได้เพิ่มขึ้น
จากราคามันดิบที่พุ่งขึ้น 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลนั้น ตนเห็นว่าราคาที่ดีดตัวสูงขึ้นมากมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ เมื่อทุกอย่างคลี่คลายลง ราคาน้ำมันก็น่าจะปรับตัวลงไปอยู่ที่ระดับเหมาะสม แต่อย่างใดก็ตาม ราคาน้ำมันในปลายปีนี้ยังอยู่ระดับที่สูงเช่นนี้ และจะแกว่งตัวเป็นช่วงๆตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบตะวันออกจะอยู่ที่ 50 เหรียญเศษต่อบาร์เรล ส่วน น้ำมันดิบสหรัฐฯที่ 70 เหรียญสหรัฐนั้นเป็นราคาน้ำมันที่ใช้ในตลาดสหรัฐฯ แต่ต้นทุนนำเข้าน้ำมันของไทยจะอิงราคาน้ำมันที่ตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ หลายประเทศได้ประกาศจะลงทุนเพิ่มด้านการผลิต น้ำมัน เช่น ซาอุดีอาระเบีย จะลงทุน อีก 2 แสนล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อผลิตน้ำมัน จึงคาดว่าราคาน้ำมันก็จะมีแนวโน้มลดลงได้
เซ็นสัญญาผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นระบบCHP
วานนี้ (30 ส.ค.) นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นประธานในพีธีลงนามบันทึกข้อตกลงผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นด้วยระบบพลังงานร่วมความร้อนและไฟฟ้า( Combined Heat and Power : CHP)ระหว่าง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยปตท.และกฟน. จะเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างโรงผลิตน้ำเย็นและอุปกรณ์ ต่าง ๆ รวมทั้งสร้างท่อก๊าซธรรมชาติ เข้าสู่โครงการศูนย์ราชการกรุงเทพ- มหานคร ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อนำมา ใช้ผลิตน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศของศูนย์ราชการฯ
โครงการผลิตและจำหน่ายน้ำเย็นดังกล่าว ใช้งบลงทุนประมาณ 750 ล้านบาท ซึ่งในปลายปีนี้ ทาง ปตท. และ กฟน. จะร่วมกันจัดตั้งบริษัทจำกัด เพื่อเป็นคู่สัญญาซื้อขายน้ำเย็นกับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เพื่อใช้ในระบบปรับอากาศของศูนย์ราชการ โดยจะเริ่มจำหน่ายน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศได้ภายในเดือนมิถุนายน 2551
นายประเสริฐ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้โครงการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้า และน้ำเย็นด้วยระบบพลังงานร่วมความร้อนและไฟฟ้ามีการผลิตในประเทศรวม 200 เมกะวัตต์ คาดว่าในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นเป็น 700 เมกะวัตต์ โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก 50 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มเป็น 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ ประสิทธิภาพการใช้ก๊าซจะเพิ่มจาก 40% เป็น 75% ทำให้ประหยัดพลังงานของประเทศ คิดเป็นเม็ดเงินรวม 10,000 ล้านบาทต่อปี
โครงการร่วมทุน CHP ปตท. จะร่วมมือกับพันธมิตร เช่น การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ บมจ. กฟผ. ตั้งบริษัทร่วมทุนแล้วเข้าไปผลิตป้อนแก่โรงงานต่างๆในนิคม หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาค รัฐและเอกชน
อย่างไรก็ตาม ปตท.ยืนยันว่า ไม่ได้ผูกขาดธุรกิจสำรวจและผลิตธุรกิจก๊าซฯและการวางท่อก๊าซฯป้อนให้เอกชน หากเอกชนรายใดสนใจสามารถเข้ามาแข่งขันได้ เพียง แต่ปตท.เข้ามาดำเนินธุรกิจนี้มานาน ทำให้เป็นเจ้าตลาด และมีสัญญาติดพันกับลูกค้า ทำให้เอกชน รายใหม่เข้าทำธุรกิจได้ลำบาก
|
|
|
|
|