Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 สิงหาคม 2548
คลังโชว์เศรษฐกิจก.ค.กระเตื้อง นำเข้าลดเหลือ20%ทำดุลการค้าดีขึ้น             
 


   
search resources

Economics




คลัง เผยดัชนีเศรษฐกิจเดือนก.ค. กระเตื้อง ตัวเลขการส่งออกขยายตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าลดลงเหลือแค่ 20% ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดฮวบ ส่วนทุนสำรองฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 4.84 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แม้เงินเฟ้อเดือน ก.ค.พุ่งกระฉูดถึง 5.3% หลังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น

นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกรกฎาคม 2548 ว่า การจ้างงานภาคการเกษตร พบว่าการจ้างงานโดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกสินค้าเกษตรหลัก โดยในเดือน กรกฎาคม การจ้างงานภาคการ เกษตรลดลง 4.8% ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากบางพื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ลดลง 5.3% ขณะที่การจ้างงานภาคการประมงยังคงขยายตัวดีเพิ่มขึ้น 28.9%

สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวจากที่ลดลงในเดือนก่อน โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการส่งออก โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัว 5.4% จากที่ลดลง -1.3% ในเดือนก่อน โดยความต้องการแรงงานปรับตัวดีขึ้นตามการขยายการผลิตเพื่อรองรับกับการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

ด้านการจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนกรกฎาคมขยายตัว 2.3% เพิ่มขึ้นจาก -0.3% ในเดือนก่อนเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐ การจ้างงาน ในภาคการโรงแรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลง โดยขยายตัวเพียง 0.2% ต่อปี เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ของการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างประเทศท่องเที่ยวน้อยลง

ส่วนการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากความกังวลเรื่องราคาสินค้าที่แพงขึ้นและรายได้ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการครองชีพ โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ 12.1% ลดลงจาก 18.5% ในเดือนก่อน

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปเหรียญสรอ. ที่ชะลอตัวลงจากเดิมที่เคยขยายตัว 20.4% ในเดือนมิถุนายน มาขยายตัวเพียง 8.7% ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้า เครื่องจักรกลเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัว 8.4% จากที่เคยขยายตัวถึง 17.7% ในเดือนมิถุนายน และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัว 14.5%

ด้านการค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,520.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18.1% โดยสินค้าที่ยังคงมีการ ขยายตัวสูงได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์ จากเหมือง สินค้าประเภทปลาและสัตว์น้ำ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,604.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.0% ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในปีนี้ สำหรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและการนำเข้าที่ลดลงนี้ เป็นผลจาก การใช้นโยบายบริหารการส่งออกและนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชะลอตัวลงของการนำเข้าน้ำมันดิบ และการนำเข้าเหล็ก

สำหรับเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อได้ปรับเพิ่ม ขึ้นจาก 3.8% ในเดือนมิถุนายนเป็น 5.3% ในเดือนกรกฎาคม โดยสินค้า หมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น 2.2% โดยเฉพาะสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และค่าโดยสารสาธารณะที่ บขส. และขสมก.ได้ปรับอัตราค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 รวมทั้งค่าโดยสารเครื่องบินก็มีราคาสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลง 0.6% สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัว 1.9% ใกล้เคียงกับเดือนก่อน

ส่วนเสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 41.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมิถุนายนขาดดุล 1,535.0 ล้านเหรียญสหรัฐตามการขาดดุล การค้าที่สูง อย่างไรก็ตาม การที่ขาดดุลการค้าเดือนกรกฎาคมที่ลดลงอย่างมาก ประกอบกับคาดว่าดุลบริการน่าจะดีขึ้นจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนกรกฎาคมจะปรับตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกันทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 5.0 เดือนของมูลค่าการนำเข้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us