|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2548
|
|
โรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ พัฒนาความคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งศึกษาบทเรียนของผู้มาก่อนมากขึ้น เป็นตัวอย่างของโรงเรียนนานาชาติที่เกิดขึ้นอย่างมหัศจรรย์ในสังคมไทยในช่วงปลายของความเฟื่องฟู
ความจริงโรงเรียนแห่งนี้เปิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการมาแล้วเกือบปี ในช่วงการเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเดิมไปใช้ชื่อโรงเรียนชั้นนำของอังกฤษ แต่การเปิดอย่างเป็นทางการด้วย การเปิด Campus ใหม่เกิดขึ้นต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งถือเป็นการเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ของโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนนานาชาติที่อาศัยความมีชื่อเสียงของโรงเรียนชั้นนำอังกฤษ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น มีพัฒนาการที่มีรายละเอียดแตกต่างกันพอสมควร
Dulwich มาเมืองไทยก่อนใคร และจากไปเร็วกว่าที่คิดไว้ (ผมเคยเขียนเรื่องนี้แล้ว โปรดอ่านจากฉบับก่อนๆ) Harrow และ Shrewsbury ตามมาด้วยแบบเดียวกัน เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและมีความสัมพันธ์กับชนชั้นนำไทยในอดีตที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เน้นการใช้ชื่อเป็นหลัก แม้ว่าโรงเรียนอังกฤษจะมีเงื่อนไขในการดูแลมาตรฐานของเขาพอประมาณ แต่มาเมืองไทยบางด้านก็เป็นประสบการณ์ใหม่ของฝ่ายอังกฤษด้วย
ทั้ง Harrow และ Shrewsbury ในอังกฤษ เป็นโรงเรียนชายล้วนที่สอนระดับอายุ 13-18 ปี แต่มาเมืองไทยต้องสอนระดับอนุบาลเป็นต้นไป กลายเป็นโรงเรียนสหศึกษาด้วย ดังนั้นโรงเรียนเป็นทั้งที่รับการถ่ายทอด know-how ขณะเดียวกันก็เป็น Lab แห่งหนึ่งให้โรงเรียนในอังกฤษด้วย
ขณะที่ Bromsgrove มิใช่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาก เท่ากับสองโรงเรียนข้างต้น แต่ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าคนไทยเชื่อถือระบบการศึกษาของอังกฤษเช่นเดียวกัน แต่ที่น่าสนใจ พวกเขาเชื่อว่าจะถ่ายทอดองค์ความรู้ในเชิงบริหารโรงเรียนและการเรียนการสอนระบบอังกฤษมาสู่เมืองไทยอย่างเต็มรูปสำคัญมากทีเดียว
เรื่องนี้ต้องยอมรับว่า นักลงทุนในเมืองไทยทั้งสองกลุ่มมี Profile ที่แตกต่างกันพอสมควร
Harrow ในเมืองไทยเกิดขึ้นจากนักลงทุนหลักเชื้อสายเอเชีย ที่มิใช่คนไทย มองโอกาสธุรกิจนี้ที่สัมพันธ์กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน ส่วน Shrewsbury เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของชาลี โสภณพนิช แม้จะเป็นนักเรียนอเมริกัน แต่มองธุรกิจ ออก จากบทเรียนที่ Harrow เคยเช่าที่ดินของเขามาก่อน ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงเข้ากับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์บ้าง เพราะในบริเวณนั้นพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่งทั้งสองรายถือเป็นผู้มาก่อน จึงประสบความสำเร็จทางธุรกิจพอสมควร
Bromsgrove เกิดขึ้นจากนักลงทุนต่างชาติเช่นเดียวกัน หัวเรือใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ที่เคยเป็น CFO บริษัทที่เคยรับผิดชอบ ในย่านเอเชีย ร่วมทุนกับชาวฟิลิปปินส์ที่มีครอบครัวในเมืองไทย และเคยทำธุรกิจด้วยกันมาก่อน โดยมีหุ้นส่วนใหญ่คนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องภายหลัง เป็นเจ้าของธุรกิจการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งพวกเขาต้องติดต่อกับเครือข่ายผู้ผลิตทั่วโลก
กลุ่มนี้มาทีหลัง ที่มาในช่วงปลายของความรุ่งโรจน์ของโรงเรียนนานาชาติในช่วงนี้ พวกเขาจำต้องมองตลาดที่ฐานกว้างขึ้น มองความสำเร็จที่ไกลออกไปพอสมควร ขณะเดียวกันมองรายละเอียดของระบบโรงเรียนมากขึ้นด้วย Bromsgrove School UK เป็นโรงเรียนสหศึกษา (ที่สอนตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงมัธยมปลาย เป็น โมเดลเดียวกับเมืองไทย โดยพยายามใช้ know-how ของระบบโรงเรียนอังกฤษอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพยายามจะสร้างระบบโรงเรียนประจำขึ้น ที่สำคัญอีกประการหนึ่งต้องมองตลาดที่กว้างขึ้นกว่าเมืองไทย โรงเรียนแห่งนี้จึงปักหลักในย่านเชื่อมโยงสนามบิน สุวรรณภูมิ
ขณะเดียวกันพยายามพัฒนาโมเดลธุรกิจเฉพาะของตนเอง เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ของคนไทยและเอเชียที่เชื่อว่าจะเกี่ยวกันกับ กีฬากอล์ฟมากขึ้น Bromsgrove ในเมืองไทย ตั้งอยู่ริมสนามกอล์ฟ ที่มีสถาบันกอล์ฟขึ้นมาควบคู่โรงเรียน ซึ่งว่าตามจริงแล้ว มีการลงทุนพอสมควร ขณะที่ผลตอบแทนย่อมใช้เวลามากกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง กระนั้นก็ตามเข้าใจว่า นักลงทุนกลุ่มนี้ คงมีที่ดินใกล้ๆ โรงเรียนเก็บไว้อีกพอสมควร หากเมืองขยายตัวมากขึ้น กิจการโรงเรียนและสนามกอล์ฟสร้างปฎิสัมพันธ์เชิงบวกมากแล้ว โครงการอสังหาริมทรัพย์ก็จะเกิดขึ้น แต่คงไม่รวดเร็ว เช่น Harrow ซึ่งใช้เวลาเพียง 2-3 ปีของการเปิด Campus เท่านั้นเอง
ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในบ้านเรา เดินทางมาถึงช่วงการเดิมพันที่เข้มข้นแล้ว
|
|
|
|
|