Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548
2005 Edmonton Heritage Festival             
โดย วรรณปราณี ศักดิ์สราญรมย์
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




งานเทศกาลฤดูร้อนในแคนาดาถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดา เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นมีอุณหภูมิ -20 ถึง -30 องศาในฤดูหนาว ทำให้ชาวแคนาเดียนรอคอยอากาศอันอบอุ่นในฤดูร้อน และเป็นธรรมเนียมที่พวกเขาจะพากันออกเที่ยวงานเทศกาลต่างๆ กันอย่างสนุกสนานตลอดช่วงหน้าร้อนในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปี

ในแต่ละเมืองต่างมีการจัดกิจกรรมเป็นการเฉพาะภายในของตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน เช่น เมือง Calgary มีการแสดงโชว์วิถีชีวิตของชาวคาวบอย Calgary Stampede และการแข่งขันโรดิโอ ที่เรียกว่า World Champion Blacksmith's Competition ส่วนเมือง Toronto และ Vancouver มีเทศกาลเชิญชวนนักท่องเที่ยว มาชิมอาหารและไวน์ทั่วโลก

ส่วนใหญ่งานรื่นเริงดังกล่าว ชาวแคนาเดียนให้ความสนใจกับการแสดงออกทางศิลปะและวัฒนธรรม เช่น Historic Edmonton week เป็นงานแสดงประวัติความเป็นมาของนครแห่งนี้ The Folk Festival เป็นการแสดงดนตรีกลางแจ้ง International Fringe Festival เป็นงานแสดงออกทางด้านวรรณกรรม ภาพยนตร์ และละครบนเวที

ในเมือง Edmonton Heritage Festival เป็นอีกเทศกาลหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าสามารถเรียกนักท่องเที่ยวเข้าชมงานได้ติดอันดับหนึ่ง ในสิบของแคนาดา เห็นได้จากสถิตินักท่องเที่ยว เมื่อปี 2004 มีจำนวน 3.5 แสนคน เพิ่มขึ้นมา ในปี 2005 มากถึงกว่า 450,000 คน จากในอดีตที่มีเพียง 20,000 คน เมื่อ 30 ปีก่อน

Heritage Festival เป็นงานการรวมตัวของชุมชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศนี้ที่จะได้แสดงออกถึงมรดกวิถีชีวิตของชนชาติต่างๆ เกือบทั่วโลกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้

งานนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1974 จากการริเริ่มของ Horst Schmid อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของ Alberta ที่ต้องการให้ชาวเมืองนี้ได้ฉลองงานรื่นเริงทางวัฒนธรรมเทศกาลฤดูร้อน แต่เขาเริ่มต้นได้เพียงการแสดงคอนเสิร์ตเท่านั้น

ปี 1976 ความตั้งใจของ Schmid เป็นรูปร่างชัดเจนขึ้นในการเติมสีสันของคำว่า Multicultural เพื่อให้ชุมชนจากเชื้อชาติต่างๆ เข้ามาแสดงเอกลักษณ์ของชาติตนเองในงานนี้

Canadian Multiculturalism เป็นจุดหมายสำคัญอันหนึ่งที่รัฐบาลแคนาดาพยายามผสมผสานชนชาติทุกเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาอาศัยในประเทศนี้ให้เกิดความรู้สึกถึงความผูกพัน มิตรภาพ และความสมานฉันท์ที่พึงมีต่อกัน

สถิติของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคนาดาระบุไว้ถึงกว่า 5.5 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศที่มี 31 ล้านคน โดยกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานต่างกระจายไปทั่วประเทศแคนาดา และเป็นชุมชนชาติต่างๆ ขนาดใหญ่บริเวณเมือง Toronto Vancouver และ Montreal

โดยเฉพาะปี 2005 เมือง Edmonton ได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬา World Masters Games ทำให้ผู้คนหลั่งไหลมาทั่วสารทิศ รวมตัวกันมาเป็นหมู่คณะ หรือมากันแบบครอบครัว เข้าชมงานดังกล่าว จนทำให้ William Hawrelak Park นคร Edmonton Alberta สถานที่จัดงานตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม แคบไปโดยปริยาย

Jack Little Executive Director Edmonton Heritage Festival Association ผู้เป็นตัวจักรสำคัญของการจัดงานครั้งนี้บอกว่า การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ไม่หวังผลกำไร คนที่เข้ามาช่วยงานส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครกว่า 6,000 คน และเราตั้งเป้าหมายของงานนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกชุมชน มาแสดงเอกลักษณ์ของชาติตนเอง และผู้เข้าชมงานได้รับความรื่นเริงไปพร้อมๆ กัน

สโลแกนของปีนี้มีว่า "Come Join Our Family" เพื่อต้องการให้ทุกชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชาติใดก็ตามก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคนในครอบครัวเดียวกันที่จะเข้ามาร่วมเฉลิมฉลองความสุขกัน

ปะรำการจัดงานแบ่งเป็นซุ้มของแต่ละประเทศ ซึ่งปีนี้มีถึง 52 ชาติ เช่น การแสดงศิลปะการตีกลองของชาวอินเดียน คองโก เกาหลี ฟิจิ และจีน การเต้นระบำพื้นเมืองของชาวเอธิโอเปีย ไฮติ แอฟริกัน ไนจีเรีย มองโกเลีย เนปาล บอสเนีย การเต้นรำตามจังหวะภาคพื้นสแกนดิเนเวียและยุโรปของชาวสวีเดน โรมาเนีย แคริบเบียน ฝรั่งเศส เยอรมนี ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีสินค้าพร้อมทั้งอาหารพื้นเมืองของชาติต่างๆ เกือบทั่วโลกที่คุณสามารถลิ้มลองได้ในราคาประหยัด โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงถิ่นกำเนิด

กลิ่นอายของบรรยากาศภายในงานนี้สามารถสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของแต่ละเชื้อชาติที่มาจากแต่ละพื้นเพของตนเอง เช่น เนื้อย่างพร้อมผักดองกิมจิของชาวเกาหลีหรืออาหารของชาวโปรตุเกส มีปลาซาร์ดีนเป็นตัวเรียกน้ำย่อย ขณะที่ซุ้มของชาวไทยมีก๋วยเตี๋ยวผัดไทย และแกงเขียวหวานไก่ พร้อมกล้วยแขกทอดเป็นตัวชูโรง ระบำของสาวๆ ชาวนิการากัวและเม็กซิโก เรียกกลุ่มผู้ชมเข้ามายลโฉมชมความงามของเธอได้ไม่น้อย

ผู้เข้าชมงานต่างตื่นตากับการแต่งกายชุดประจำชาติ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ในวัยต่างๆ เดินเที่ยวชม และอวดความเป็นเอกลักษณ์ของชาติตนเองไปทั่วงาน ไม่ว่าแต่ละชาติจะมีสีผิว หรือมีที่มาจากเผ่าพันธุ์ใด ต่างต้องการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของตนเองโดยไม่ลดละ

การจัดงานของชุมชนไทยใน Edmonton ปีนี้มีการแสดงกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม การฟ้อนรำ อาหารไทย สินค้า OTOP การส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ซึ่งได้รับการชื่นชม จนได้รับรางวัล The Management Top Trophy Award จากงานดังกล่าว

รัชนันท์ ธนนันท์ รองกงสุลไทย นครแวนคูเวอร์ บอกว่า ถือเป็นสิ่งน่าภาคภูมิใจที่เราแสดงออกถึงความสามัคคีของชุมชนไทย ส่วนสินค้า OTOP และการท่องเที่ยวของไทย เป็นสิ่งที่เราโปรโมตให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจและต้องการเดินทางไปเมืองไทยในอนาคต

ขณะที่ Maurice Rousseau ผู้ประสานงานของ Alberta Thai Association (ATA) บอกว่า งานดังกล่าวมิได้เป็นเพียงการแสดง ออกศิลปวัฒนธรรมเท่านั้น แต่เป็นการแสดงออกถึงพลังของชุมชนไทยที่เป็นชุมชนเล็กๆ ที่เราสามารถมีกิจกรรมต่างๆ ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชุมชนชาติอื่นที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเราหลายเท่า และเราทำได้ดีจนได้รับรางวัลครั้งนี้

Food Bank เป็นองค์กรการกุศลที่ได้รับผลพลอยได้จากการรับบริจาคจากผู้เข้าชมงานเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้รับจำนวนมากถึง 29,000 กิโลกรัม ที่จะส่งผ่านไปยังผู้ด้อยโอกาสในสังคมตามชุมชนต่างๆ

Lan Taylor President From Heritage Festival ได้ตั้งเป้าหมายและแผนงานไว้ล่วงหน้าว่า งานดังกล่าวจะต้องเป็น The Largest Multicultural Festival in North America

รายได้ของการจัดงานครั้งนี้คงไม่พ้นเรื่องการจำหน่ายอาหารประมาณ 1.5 ล้านแคนาเดียน (51 ล้านบาท) ทั้งนี้ไม่รวมสินค้าพื้นเมืองของชาติต่างๆ อีกประมาณมากกว่า 2 แสนแคนาเดียน (7 ล้านบาท) แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงนัก หากเปรียบเทียบกับการจัดงานอื่นๆ แต่เจตนารมณ์สูงสุดที่ทุกคนยอมรับ คือการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความแตกต่างกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us