Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
ประเด็นการต่อสู้เรื่องขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ             
 

   
related stories

หรือเกมกำลังจะเปลี่ยน?




ปลายปี 2544 การเจรจาขายโรงไฟฟ้าของทีพีไอ ให้กับบริษัทบ้านปู พาวเวอร์ ทำไม่ทันตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งระบุให้ขายทรัพย์สินรองมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้เสร็จภายในวันที่ 31 ก.พ.2544 เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในฐานะผู้บริหารแผน จึงได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อขอแก้ไขสาระสำคัญของแผนในส่วนการขายทรัพย์สินรอง โดยให้เลื่อนกำหนดการออกไปจากปลายปี 2544 โดยกำหนดประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ 2545

8 ก.พ. 2545 คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้จัดการประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตการแก้ไขสาระสำคัญของแผน มีเจ้าหนี้มาประชุมทั้งสิ้น 95 ราย คิดเป็น 92.65% ของมูลหนี้ที่เหลืออยู่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

13 ก.พ. มีการเปิดเผยผลการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ว่า เจ้าหนี้ 91.06% เห็นชอบกับการแก้ไขสาระสำคัญของแผน แต่มีเจ้าหนี้ 2 ราย ซึ่งมีมูลหนี้รวม 1.59% ของมูลหนี้ไม่เห็นชอบกับการเลื่อนระยะเวลา มีผลให้คณะกรรมการเจ้าหนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยเลื่อนกำหนดเวลาขายทรัพย์สินรองออกไปได้

9 เม.ย. คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นผู้จัดการประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติในเรื่องนี้อีกครั้ง โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นัดประชุมในวันที่ 7 และ 8 พ.ค.

3 พ.ค. ประชัยได้ยื่นหนังสือคัดค้านการนัดประชุม โดยยกประเด็นที่ถูกกำหนดไว้ในแผนว่าการจะเปลี่ยนสาระสำคัญของแผนฟื้นฟู ต้องมีเจ้าหนี้เห็นชอบไม่ต่ำกว่า 75% และจะต้องไม่มีเจ้าหนี้รายใดคัดค้าน หากมีเจ้าหนี้แม้เพียงรายเดียวคัดค้าน คณะกรรมการเจ้าหนี้ก็ไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญได้

7-8 พ.ค. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการประชุมเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยให้เลื่อนการขายทรัพย์สินไปได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2546 และนำมตินี้ไปขอความเห็นชอบจากศาลล้มละลายกลาง

10 พ.ค. ประชัยเข้าพบจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร้องเรียนว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฝืนคำร้องของเขา โดยจัดการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อให้ได้มติในการแก้ไขสาระสำคัญของแผนฟื้นฟู ประเด็นเรื่องการขายทรัพย์สิน กระทรวงยุติธรรมรับคำร้องเพราะเห็นว่ามีมูล

กลางเดือน ก.ค. พนักงานทีพีไอที่จังหวัดระยองเริ่มมีการชุมนุมประท้วง ไม่ยินยอมให้มีการขายโรงไฟฟ้า

18 ก.ค. ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่ให้มีการแก้ไขสาระสำคัญของแผนฟื้นฟู เรื่องการขายทรัพย์สินรอง เป็นผลให้การเจรจา ขายโรงไฟฟ้าให้กับบ้านปูต้องสะดุดลง ทั้งๆ ที่ได้เตรียมการจัดพิธีเซ็นสัญญาซื้อขายกันไว้แล้ว

30 ก.ค. การชุมนุมประท้วงการขายโรงไฟฟ้า ของพนักงานทีพีไอที่จังหวัดระยองยืดเยื้อ และรุนแรงขึ้น จนกระทรวงยุติธรรม ต้องมีการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินงาน ตามแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ โดยคณะกรรมการชุดนี้นัดประชุมนัดแรก ในวันที่ 2 กันยายน

15 ส.ค. บริษัทบ้านปู พาวเวอร์ ยกเลิกแผนซื้อโรงไฟฟ้าจากทีพีไอ

30 ส.ค. สิปปนนท์ เกตุทัต ประกาศลาออกจากคณะกรรมการชุดที่กระทรวงยุติธรรมจัดตั้งขึ้น

2 ก.ย. มีการประชุมคณะกรรมการครั้งแรก ซึ่งปรากฏว่าคณะกรรมการเจ้าหนี้ และผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปอะไรได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us