Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
หรือเกมกำลังจะเปลี่ยน?             
 

   
related stories

ประเด็นการต่อสู้เรื่องขายโรงไฟฟ้าทีพีไอ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.




การประกาศลาออกจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบอันเกิดจากการดำเนินงาน ตามแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) ของสิปปนนท์ เกตุทัต ทำให้ดูเหมือนว่าการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ ซึ่งแผนการฟื้นฟูได้ผ่านความเห็นชอบจากศาลล้มละลายกลางไปเกือบ 2 ปีมาแล้ว อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น

สิปปนนท์ เป็นประธานคณะกรรมการ บริษัทเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ที่คณะกรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้เป็น ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

คณะกรรมการชุดที่สิปปนนท์เพิ่งลาออก เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม หลังจากเกิดการชุมนุมประท้วงอย่างหนักของพนักงานทีพีไอ ที่ต่อต้านการขายโรงไฟฟ้าของทีพีไอให้กับบริษัทบ้านปูพาวเวอร์

คณะกรรมการชุดนี้มี จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ ทั้งเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผน รวมถึงตัวแทนของพนักงาน และตัวแทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

สิปปนนท์ได้อ้างเหตุผลในการลาออกครั้งนี้ว่า การมีคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมา อาจเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการก้าวก่ายอำนาจตุลาการ และแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนข้าราชการประจำ

ประเด็นเรื่องการขายโรงไฟฟ้า เป็นประเด็นที่มีการต่อสู้ในข้อกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ตลอดตั้งแต่ต้นปี 2545 เป็นต้นมา เพราะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดอยู่ในแผนการขายทรัพย์สินรองมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการ ได้ถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องกระทำให้เสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2544

แต่เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ผู้บริหารแผนไม่สามารถเจรจาขายโรงไฟฟ้าได้ทันตามกำหนด

มีการประชุมเจ้าหนี้ถึง 2 ครั้งเพื่อขอให้มีการแก้ไขสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการ โดยจะเลื่อนระยะเวลาการขายทรัพย์สินรองออกไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เป็น 31 มีนาคม 2545 แต่มีเจ้าหนี้บางรายที่ไม่เห็นด้วย เท่ากับเปิดช่องว่างกฎหมายให้ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นำมาใช้ต่อสู้คัดค้าน จนล่าสุดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งไม่ให้เลื่อนกำหนดการขายทรัพย์สินรองออกไป ตามที่ผู้บริหารแผน และคณะกรรมการเจ้าหนี้เสนอ

ประชัยเป็นอดีตผู้บริหารทีพีไอที่คัดค้านการเข้ามาเป็น ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สมาตั้งแต่ต้น ตลอดเวลาเขาพยายามหาช่องทางกฎหมายมาเล่นงานเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สหลายประเด็น มีคดีฟ้องร้องขึ้นศาลมากกว่า 30 คดี

แต่ประเด็นเรื่องการเลื่อนกำหนดเวลาขายทรัพย์สินที่เขานำมาต่อสู้ครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ได้ผลมากที่สุด

หากเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ไม่สามารถขายทรัพย์สินรองได้สำเร็จ จะมีผลต่อการบริหารแผนฟื้นฟูเพื่อให้ผลประกอบการ และการลดมูลหนี้ของทีพีไอ ซึ่งปัจจุบันได้เหลืออยู่ประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งประชัยอาจนำไปใช้เป็นข้ออ้าง ในการเรียกร้องขอเปลี่ยนตัวผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการได้อีกครั้งหนึ่ง

เรื่องนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us