Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548
Success Model             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน

   
search resources

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
Banking and Finance




เครือข่ายที่กว้างขวาง ความเชี่ยวชาญ และผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จ ตาม model ของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย

หลังเศรษฐกิจไทยก้าวพ้นผ่านวิกฤติที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน ความต้องการเงินทุนที่เพิ่มขึ้น ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้แนวโน้มของธุรกรรมการเงินเริ่มจะคึกคักขึ้น

แต่ sentiment ในตลาดตราสารหนี้ช่วงปี 2001-2002 กลับไม่ค่อยดี เหตุนักลงทุนต่างตั้งตารอ วงจรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ย จนแทบไม่มีรายใด กล้าเข้าลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักลงทุนสถาบันรายใหญ่อย่าง mutual fund หรือ provident fund กระทั่งถึงปี 2004 ที่สถาบันการเงินผู้เสนอขายตราสารหนี้ก็ชักจะเริ่มหมดความอดทนกับรายได้ค่าธรรมเนียมที่ตกต่ำจากความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ในตลาดสารหนี้ จนต้องค่อยๆ ทยอยออกจากตลาด

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเป็นอีกแบงก์ ที่มิอาจ หลีกเลี่ยงปัญหาเดียวกันนี้ได้ ฐานที่เป็นแบงก์ต่างชาติซึ่งต้องอิงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ จึงเสียเปรียบแบงก์ไทยอย่างมาก ในแง่การมีนักลงทุนบุคคลธรรมดาเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำธุรกิจ แต่เพื่อรักษาสายสัมพันธ์กับลูกค้า จึงเป็นเหตุให้ต้องประคองตัวอยู่ในตลาด ควบคู่กับหาสินค้าที่คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ดีขึ้นมาจับเป็นดีล

จนปี 2004 สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจึงมีโอกาสได้ชื่นชมดอกผลแห่งความอดทนนี้ หลังเริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาของดีลใหม่ๆ พร้อมกับ sentiment ที่ดีในตลาด ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์การเงินอันหลากหลาย ทั้งรูปตราสารหนี้และการทำดีล loan syndication ให้แก่ลูกค้ากลุ่ม wholesale และ corporate ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขุมพลังขับเคลื่อนธุรกิจที่ดี ในยุคตลาดตราสารหนี้ กลับมาเป็นแหล่งที่น่าระดมทุนอีกครั้ง

ความได้เปรียบของแบงก์ต่างชาติมักจะมาพร้อมกับความสุกงอมในตลาด เช่นเดียวกับสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ที่จับเอาทุกๆ ข้อได้เปรียบของตนเองมาจัดเป็นสูตรสำเร็จของโมเดลในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญในตัวผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย การมีเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นสถาบันการเงินและกลุ่มลูกค้านักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศ ตลอดจนการมีเทคโนโลยี know-how ระดับโลก รวมถึงเครือข่ายทีมงานและแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมทั่วทั้งเอเชีย

"เราไม่ได้ focus ลูกค้าที่กว้างมากเท่าแบงก์ไทย แต่เลือกเฉพาะคนที่ต้องการใช้บริการทางการเงินอันหลากหลายซึ่งแบงก์ไทยยังไม่มี เราต้องการเป็น best inter-national bank ที่มีรากฐานธุรกิจที่ลึกในท้องถิ่น โดยลูกค้าจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง ซึ่งเราคิดว่าเราเป็นแบงก์ไทยที่เป็นมืออาชีพที่มีมาตรฐานสากล และที่ทำมาผมคิดว่าเราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้" ประภากร ทองเทพไพโรจน์ Director, Syndications-Thailand and Mekong Area Global Markets กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ดีลหนึ่งที่พอจะหยิบยกให้เห็นถึงการใช้ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ มาช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจในโมเดลนี้ อาจดูได้จากการทำดีล loan syndication ล่าสุดของ Capital OK แม้ขนาดของดีลนี้จะไม่ใหญ่ คือราว 4,000 ล้านบาท แต่มีความน่าสนใจในแง่การจัดกรุ๊ปแบงก์ต่างชาติหน้าใหม่ที่เข้ามาร่วมปล่อยกู้ในสัญญา

โดยดีลนี้สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้อาศัยความสัมพันธ์เก่าแก่ที่มีอยู่กับแบงก์ต่างชาติ ซึ่งล้วนแต่ไม่เคยมีธุรกิจอยู่ในไทย เข้ามาช่วยผูกสัมพันธ์ในอนาคตให้แก่ Capital OK ซึ่งปัจจุบันเป็นลูกค้าที่มีความสัมพันธ์อย่างดียิ่งกับสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

"อนาคต Capital OK จะต้องโตอีกมาก เมื่อถึงจุดหนึ่ง เขาอาจจะเริ่มเต็มๆ กับกู้ยืมแบงก์พาณิชย์ในไทย เพราะบางทีจะมีปัญหาว่า exposure มากไปหรือเปล่า หรืออาจมีการแข่งขันกันเองเพราะตัวเขาก็เป็นคนปล่อยกู้เหมือนกัน เราจึงพยายามหาแบงก์ใหม่ๆ จากภายนอกเข้ามา เพราะ จะไม่มีปัญหาแข่งขันกันเองมากนัก"

ส่วนธุรกิจ fixed income ซึ่งแบงก์แห่งนี้มีช่องทางหลากหลายในการออกผลิตภัณฑ์การเงินในรูปตราสารหนี้ที่สามารถแปลงเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ตามความต้องการของลูกค้า เพื่อขยายช่องทางจัดจำหน่ายที่เข้าถึงกลุ่มนักลงทุน ระดับสถาบันจากต่างประเทศได้มากขึ้น

ผลงานเมื่อปีก่อนของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีมูลค่ารวม 955 ล้านดอลลาร์ จากสัญญาปล่อยกู้ร่วม 13 ฉบับ รวมถึงตราสารหนี้ และมีส่วนแบ่งตลาด 14%

โดยแบงก์แห่งนี้เพิ่งจะได้รับรางวัล Best Debt House จากนิตยสาร Euro Money จากดีลที่โด่งดังของปีก่อน คือหุ้นกู้บริษัทการบินไทย 370 ล้านดอลลาร์ หุ้นกู้ FRCD ธนาคาร กรุงไทย 150 ล้านดอลลาร์ ดีลปล่อยกู้ร่วมโดยเป็นการทำ FRCD ครั้งแรกให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 250 ล้านดอลลาร์ และ Hutchison CAT Wireless Multimedia ใน 2 สกุลคือ 24 ล้านดอลลาร์ และ 14,000 ล้านเยน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us