|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2548
|
|
ช่องทางใหม่สำหรับนักลงทุนไทยได้มีโอกาสลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำในเอเชีย ที่ผ่านการเลือกเฟ้นมาแล้วจาก Aberdeen
หน้ากากที่นำมาใช้เป็นดั่งตัวแทนประเทศย่านเอเชียทั้ง 12 แห่ง ภายใต้สโลแกนที่ว่า "Asia Wears Many Faces" ซึ่งฉายเด่นอยู่บนจอภาพโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ ตรงมุมห้องมณฑาทิพย์ 2 ของโรงแรมโฟร์ ซีซั่น ช่วงก่อนการแถลงข่าวเปิดตัว กองทุนเปิด Aberdeen Pacific Equity Fund แสดง ให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างกันใน 12 ประเทศ แต่ยังมีอะไรบางอย่างที่ละม้ายคล้ายคลึงกันอยู่ในที
คอนเซ็ปต์นี้ดูจะเข้ากันได้ดีกับเหตุผลที่ปีเตอร์ เฮมส์ ผู้อำนวยการด้านการลงทุนตราสารหนี้ ภาคพื้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) และเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารกว่า 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือโอกาสแถลงถึงเหตุผลที่เลือกลงทุนซื้อหุ้นของในกิจการที่อยู่ในภูมิภาคนี้
การตัดสินใจเลือกลงทุนในตลาดเอเชีย ส่วนหนึ่งมาจาก Aberdeen Pacific Equity Fund เป็นฅกองทุน FIF แรกที่ Aberdeen จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนไทยไปลงทุนในหุ้นของกิจการ ทั้ง 12 ประเทศ การใช้ความใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกันในระดับภูมิภาคเอเชียมาผูกเป็นแนวคิด น่าจะมีส่วนช่วยให้นักลงทุนไทยเข้าใจวิธีลงทุนในต่างประเทศได้มากกว่า
แต่อีกส่วนมาจากความเปลี่ยนแปลงที่มาก มายของตัวบริษัทหลังผ่านพ้นวิกฤติเมื่อกลางปี 2540 โดยบางแห่งมีการปรับตัวค่อนข้างชัดเจนในแง่ธุรกิจ เช่นยอมตัดขาย non-core business และคืนหนี้ไปแล้วค่อนข้างมาก ตัวผู้บริหารก็เริ่มเอาใจใส่กับความรู้สึกผู้ถือหุ้นมากขึ้น และยอมจ่ายเงินปันผลเมื่อกิจการเริ่มมีกำไร
ขณะเดียวกันแนวโน้มการพึ่งพาการส่งออกเริ่มลดลง โดยแต่ละ ประเทศพยายามหาจุดเด่นในอุตสาหกรรมที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศมากขึ้น อีกทั้งการขยายตัวของการบริโภคที่มีมากขึ้นภายในประเทศ ได้ช่วยให้ธุรกิจ consumer product เกิดการขยายตัวอย่าง มาก
แต่กระนั้นก็ตาม แม้เศรษฐกิจแต่ละประเทศอาจดูว่ามีขนาดเล็ก แต่ก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจีน หรืออินเดีย ซึ่งยืนอยู่ใน ระดับ 8-9% ต่อปี ยิ่งมองในเชิงขนาดภูมิศาสตร์ที่กว้างใหญ่และขนาด ประชากรที่มี 2 ใน 3 ของโลก ก็ยิ่งชัดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในเอเชียจะขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนกลายไปเป็น driver ของ GDP โลก
"เศรษฐกิจอเมริกาใหญ่ก็จริง แต่โอกาสเติบโตกลับลดลง เอเชียอยู่ในระดับ high growth แต่ราคาหุ้นเมื่อเทียบดัชนี S&P ที่นี่ ยังถูกกว่าเยอะ P/E ratio ก็ยังเติบโตได้ดีกว่า ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ดีที่สุด แล้วเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ในความเห็นของผมเอเชียยังเป็น very good story และเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ในการลงทุนระยะยาว" เฮมส์กล่าว
สำหรับในจีน แม้จะเป็นประเทศที่น่าสนใจอย่างยิ่งในเชิงเศรษฐกิจมหภาคที่เติบโตกว่า 9% ก็ตาม แต่การเข้าลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นของจีนนั้นยังค่อนข้างลำบาก เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ยังเป็นของรัฐ จึงยากที่จะเจอบริษัทที่ดี
"แต่ที่เรา over-weighted ในจีน เพราะเราเจอบริษัทที่ค่อนข้างดีหลายบริษัท เช่น Survive Pacific โดย exposure ส่วนใหญ่ในจีนนั้น หลักๆ เราจะลงทุนผ่านกลุ่มที่ list อยู่ที่ฮ่องกงแล้วเข้าไป exposure ในจีน ไม่ว่าจะแบงก์ หรือ China Mobile"
ที่อินเดีย แม้เศรษฐกิจมหภาคยังดูไม่น่าตื่นเต้นเท่าจีน แต่โครงสร้างเริ่มดีขึ้น โดยสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นคือมีบริษัทที่ค่อนข้างดีอยู่มากในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรถยนต์ หรือการผลิตยา ซึ่งมีความลึกกว่าในจีน โดย เฉพาะอย่างยิ่งด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งเฮมส์เห็นว่ามีอยู่หลายระดับที่สามารถทำให้เป็นธุรกิจในกลุ่ม Fortune 500 ได้
ทั้งนี้ Aberdeen Pacific Equity Fund มีมูลค่า 10 ล้านเหรียญดอลลาร์ หรือ ราว 420 ล้านบาท เน้นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารทุนในสิงคโปร์ เพื่อลงทุนในหุ้นกิจการ ใน 12 ประเทศคือ จีน/ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา โดยเน้นน้ำหนักการลงทุนในจีน/ฮ่องกง 20.4% เกาหลีใต้ 15.9% อินเดีย 14.8% และสิงคโปร์ 12.7 สำหรับไทยถูกถ่วงไว้ที่ 5.6%
Aberdeen มีสไตล์การลงทุนที่เฮมส์บอกว่า "พวกเราเป็น best stock picker" การตัดสินใจลงทุน ไม่ได้อิงกับ benchmark ของ MSCI, AC Asia และ Ex-Japan แต่มาจากผลวิเคราะห์ของตัวที่เน้นเจาะเฉพาะคุณภาพธุรกิจ การบริหารงานและมุมมองผู้บริหาร ที่มีต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมถึงคุณภาพหุ้นที่เลือกลงทุน
โดยเหตุผลหนึ่งในการเดินทางมาประเทศไทยของเฮมส์ครั้งนี้ ก็เพื่อเยี่ยมเยียนบริษัท พบปะผู้บริหารบริษัทต่างๆ ในไทยก่อนการลงทุน และสิ่งนี้จะยังคงดำเนินสืบไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จนกว่า Aberdeen จะเลิกลงทุนในกิจการนั้นๆ
|
|
|
|
|