|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2548
|
 |

ความสำเร็จในการทำตลาดบัตรเครดิตอาจทำให้ภาพของ KTC ในสายตาผู้บริโภคเกี่ยวพันอยู่กับธุรกิจนี้อย่างแนบแน่น แต่กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นนับจากปีนี้เป็นต้นไป จะนำไปสู่เป้าหมายการเป็น brand company ในที่สุด
ระหว่างการสนทนากับ "ผู้จัดการ" นิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย หรือ KTC มักจะหยิบยก แบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศ มาเป็นตัวอย่างในการอธิบายวิธีคิดอยู่บ่อยครั้ง น่าสนใจตรงที่แบรนด์เหล่านั้นแทบไม่ได้ทำธุรกิจในด้านการเงินเลย ไม่ว่าจะเป็น Virgin Starbucks หรือ Apple แต่ทุกแบรนด์มีความคล้ายคลึงกันในด้านความสำเร็จของการสร้าง brand experience ให้กับผู้บริโภคแล้วสามารถต่อยอดออกไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดั้งเดิมได้
Virgin เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทแผ่นเสียง เมื่อประสบความสำเร็จก็ขยายมาสู่ธุรกิจสายการบิน มีบริการทางการเงิน ทำธุรกิจ น้ำอัดลมและล่าสุดยังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในชื่อ Virgin Phone ในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ Starbucks สร้างชื่อ มาจากร้านกาแฟคุณภาพดี แต่ขณะนี้เริ่มมีเบเกอรีและเครื่องดื่มประเภทอื่นวางจำหน่าย มากขึ้น หรือ Apple ที่เคยโด่งดังจากเครื่องพีซี แต่ปัจจุบันกลับประสบความสำเร็จยิ่งกว่า เดิมจาก iPod เครื่องเล่นเพลงดิจิตอล
ความสำเร็จของแบรนด์เหล่านี้เองที่นิวัตต์กำลังพยายามสร้างให้เกิดขึ้นกับ KTC เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดไปสู่โปรดักต์อื่นๆนอกเหนือจากบัตรเครดิตและบริการสินเชื่อประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
"ผมพยายามจะเน้นตั้งแต่ Day 1 แล้วว่า KTC ไม่ใช่ credit card company เราพยายามวางรากฐานเอาไว้ ด้วยศักยภาพของคนที่เรามี ด้วยคัลเจอร์ที่เราสร้างไว้ ด้วยแบรนด์ที่เราสร้างไว้ ผมเชื่อว่าเรามีโอกาส ที่ดีถ้าวันข้างหน้าสิ่งแวดล้อมต่างๆ มันเปิดให้เราทำอะไรได้มากกว่านี้" นิวัตต์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ปีนี้เป็นการดำเนินงานปีแรกตามแผน 5 ปีของ KTC ซึ่งเป็นช่วงของการสร้างยอดสมาชิก (membership) ให้ได้มากที่สุด ทั้งจากบัตรเครดิต สินเชื่อประเภทต่างๆ รวมทั้ง สมาชิกประเภท non-financial membership ที่ไม่จำเป็นต้องใช้บริการบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ ของ KTC แต่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่ KTC มีให้กับสมาชิกได้ อาทิ ส่วน ลดหรือของแถมจากร้านค้าต่างๆ ซึ่งกำลังเร่งดำเนินการ และคาดว่าจะเปิดรับสมัครสมาชิกประเภทนี้ได้ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โดยการ ทำตลาดส่วนหนึ่งจะมุ่งไปที่กลุ่มนักศึกษาเพื่อเป็นการวาง ฐานลูกค้าที่จะขยับมาเป็นผู้ใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อของ KTC ในอนาคต
เมื่อครบ 5 ปีตามแผนที่วางไว้ KTC คาดว่าจะมียอดสมาชิกรวมทั้งที่เป็น financial และ non-financial member ได้ราว 3 ล้าน ราย ขณะเดียวกันก็สร้าง brand experience ที่ดีควบคู่กันไป ทั้งในด้านความสะดวกในการใช้งาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่ได้จากการเป็นสมาชิก ซึ่งจะทำให้ฐานลูกค้ากลุ่มนี้กลายเป็นฐานที่ KTC สามารถต่อยอดไปสู่บริการอื่นในอนาคตได้ไม่ยาก
"ถ้าผมจะเปิดตัวบริการใหม่ ผมต้องไปชนกับเจ้าตลาดเดิมแต่ผมไม่ใช่หน้าใหม่แล้ว ผมมีฐานลูกค้าของผมอยู่ เป็นลูกค้าที่มีประสบการณ์ที่ดีกับบริการของ KTC แล้วก็พร้อมที่จะลองบริการใหม่ๆ ที่ KTC เสนอให้" นิวัตต์กล่าว
ปัจจุบันบริการของ KTC นอกจากบัตรเครดิตแล้ว ยังมีสินเชื่อ ส่วนบุคคลและสินเชื่อเอสเอ็มอี รวมทั้งบริการระบบชำระเงินสินค้าบางประเภท แต่ยังมีอีกหลายตลาดที่ยังไม่ได้ทำ อาทิ สินเชื่อเคหะและสินเชื่อผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า และมีบางตลาดที่ทดลองทำไปบ้างแล้ว เช่น สินเชื่อรถจักรยานยนต์และสินเชื่อรถยนต์ เพื่อเก็บข้อมูลเป็นประสบการณ์ก่อนจะรุกตลาดอย่างจริงจังในอนาคต
เมื่อมองย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทลูกของธนาคารกรุงไทย จนแยกตัวออกมาดำเนินงานแบบเอกชนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2545 ด้วยสไตล์ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจากผู้ให้บริการบัตรเครดิตในขณะนั้น ทำให้ KTC กลายเป็นผู้เล่นที่โดดเด่นมากที่สุดรายหนึ่ง และยังเป็นเจ้าแรกของประเทศที่มียอดผู้ถือบัตรทะลุ 1 ล้านใบได้สำเร็จ วันนี้ KTC มองไปไกลกว่าการเป็นแค่เพียงผู้ให้บริการบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสในอนาคตด้วยว่า จะเปิดให้กับ KTC มากน้อยเพียงใด
|
|
 |
|
|