Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2548
สธ.วิจัยผลเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯคนไทยแบกค่ายาเพิ่มแสนล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงสาธารณสุข

   
search resources

Research
กระทรวงสาธารณสุข
Pharmaceuticals




งานวิจัย สธ.ชี้ผลกระทบ เอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบยา ในประเทศ บริษัทผลิตยาของคนไทยต้องเลิกกิจการหรือถูกเทกโอเวอร์เรียบวุธ ตลาดยาจะถูกผูกขาดโดยต่างชาติ ดันค่าใช้จ่ายด้านยา พุ่งทะยานนับแสนล้าน

นางชุติมา อครีพันธ์ นักวิชาการประจำกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย นำเสนอ ผลงานวิจัยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบยาในประเทศไทยหากต้องขยายสิทธิบัตรและผูกขาดข้อมูลตามข้อตกลงเปิดการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเอเชียว่าด้วยข้อตกลงการค้าระดับทวิภาคี จัดโดยเครือข่ายโลกที่สาม (Third World Network) และรัฐบาลมาเลเซีย เมื่อวันที่ 26-28 ส.ค. ที่ผ่าน มา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยระบุว่า จาก การทำวิจัยพบว่าข้อเรียกร้องในประเด็นที่สหรัฐฯ ยื่นต่อทุกประเทศที่เจรจาเอฟทีเอมาแล้ว คือ

1) การผูกขาดข้อมูลการทดลองยา 2) ให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนยาต้องรับผิดชอบ ด้านการออกสิทธิบัตรด้วย 3) ให้ชดเชยระยะเวลาสิทธิบัตรอันเนื่องมาจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตรและการขึ้นทะเบียนยา 4) บังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวด 5) จำกัดมาตรการบังคับใช้สิทธิให้เหลือเพียงกรณีการบังคับใช้ของรัฐบาล 6) จำกัดหรือยกเลิกการนำเข้าซ้อน 7) จำกัดการถอนสิทธิบัตร ข้อเรียกร้องเหล่านี้ถือว่าเกินกว่าข้อตกลงทรัพย์สิน ทางปัญญาขององค์การการค้าโลก หรือเรียกว่า ทริปส์พลัส (TRIPs Plus)

จากงานวิจัยชี้ว่า หากรัฐบาลไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ อุตสาหกรรมยา ในประเทศจะถูกจำกัดการพัฒนา โรงงานของคนไทยจะต้องเลิกกิจการหรือถูกเทกโอเวอร์ ผู้บริโภคชาวไทยจะต้องพึ่งพิงอยู่กับยาราคาแพงที่ติดสิทธิบัตร และลดจำนวนผู้เข้าถึงยาไปอีกยาวนาน ทั้งนี้ ปัจจุบันตัวเลขการบริโภคยาของคนไทยอยู่ที่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 52,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้ 53.6% เป็นการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ

การวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขยังชี้ว่า จากตัวเลขปี 2546 ยาสามัญ (generic drug) ที่ทำขึ้นเพื่อทดแทนยาต้นแบบ (Original drug) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดครึ่งหนึ่ง ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดเงินได้มากถึง 264.3 ล้านเหรียญ สหรัฐ หากไม่มียาสามัญ ประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อยาชนิดเดียวกันมากถึง 517 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 20,680 ล้านบาท)

งานวิจัยดังกล่าวประเมินว่า หากตลาดยาถูกผูกขาด โดยการเพิ่มอายุสิทธิบัตรและผูกขาดข้อมูลตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบด้านราคา ทำให้ยาแต่ละชนิดมีราคาแพงขึ้น 0.1-1.1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งภายใน ระยะเวลา 10 ปีของการผูกขาด ยาแต่ละตัวจะแพงขึ้น 13.9-90.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จากประมาณการยาขึ้นทะเบียนใหม่เฉลี่ยปีละ 60 ชนิด จะทำให้รายจ่ายของประเทศต้องเพิ่มขึ้น 6.4-65.9 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และหากบริษัทยาสามารถผูกขาดยาได้ถึง 10 ปี ค่าใช้จ่ายด้านยาจะสูงถึง 836.7-5,411.4 ล้านเหรียญสหรัฐ กระทรวงฯ จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลให้รักษาจุดยืนการทำเอฟทีเอจะต้องไม่ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ

ทางด้านปีเตอร์ ดราฮอส จากมหาวิทยาลัย แห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า จากบทเรียนที่ออสเตรเลียทำเอฟทีเอกับสหรัฐฯ ภาคเกษตรที่หวังจะส่งสินค้าออกมากขึ้นไม่ได้ประโยชน์เลยแม้แต่น้อย แต่กลับต้องสูญเสียโครงการควบคุมราคายา หรือ PBS ที่ถือว่าดีที่สุดในโลก และทำให้คนออสเตรเลียตกเป็นเป้าการทำลายของสหรัฐฯ ผลกระทบเกิดขึ้นทันทีหลังเอฟทีเอ ออสเตรเลีย-สหรัฐฯมีผลบังคับใช้คือ อุตสาห-กรรมยาสามัญของออสเตรเลีย 6 บริษัทต้องย้าย ฐาน บริษัทที่เหลืออีกจำนวนมากต้องปิดกิจการ หรือต้องร่วมทุนอย่างไม่สมัครใจกับบริษัทยาแบรนด์เนมซึ่งส่วนใหญ่เป็นของสหรัฐฯ n   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us