|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2548
|
|
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธุรกิจ non-bank โดยเฉพาะการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเอาไว้ไม่เกิน 28% จากเดิมที่ปล่อยให้เรียกเก็บได้ตามชอบใจนั้นได้ส่งผลให้บริษัท อีซี่ บาย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่รายหนึ่งของไทยต้องปรับตัวอย่างน้อย 2 ประการด้วยกัน
ประการแรกก็คือ อีซี่ บาย ได้เลื่อนแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากเดิมที่เตรียมจะเข้าทำการซื้อขายในปีนี้ออกไป เพื่อรอดูผลกระทบจากนโยบายของ ธปท.ให้ชัดเจนเสียก่อน
"จริงๆ เราพร้อมที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตั้งแต่ปีนี้ แต่ทางแบงก์ชาติมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญ ก็เลยจะรอดูผลการดำเนินงานหลังจากที่เปลี่ยนกฎก่อน แต่ปีนี้ยังไม่เข้าแน่นอน" คัทซูฮิโกะ มาโดโนะ รองประธานคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีซี่ บาย กล่าว
การที่อีซี่ บาย ต้องรอดูผลการดำเนินงานให้มั่นใจก็เพราะเพดานดอกเบี้ยที่ ธปท.กำหนดไว้จะส่งผลให้ยอดดอกเบี้ยรับของอีซี่ บาย ลดลง แต่ผู้บริหารก็ยังตั้งความหวังว่า อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงน่าจะเป็นแรงจูงใจให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งยอดสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นก็น่าจะสร้างรายได้ชดเชยกับดอกเบี้ยที่หดหายไปได้
การชะลอเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้อีซี่ บาย เตรียมนำหุ้นกู้ออกขายอีกชุดหนึ่งในปีนี้ หลังจากที่ได้ออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน มูลค่า 2,000 ล้านบาท ไปในเดือนธันวาคม 2545 และหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากทริสเรตติ้งที่ระดับ AA
การปรับตัวของอีซี่ บาย ประการที่สองคือ การลดต้นทุนดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งอีซี่ บายได้นำระบบไอทีมาช่วยในการทำงาน โดยเลือกใช้เทคโนโลยีออนดีมานด์จากไอบีเอ็มและเมโทรซิสเต็มส์ เพื่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพด้านการบริการลูกค้า การจัดเก็บข้อมูลและความรวดเร็วในการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายต่างสำนักงาน ซึ่งช่วยให้อีซี่ บาย ลดค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ทางไกล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ถึง 60%
ปัจจุบัน อีซี่ บาย ให้บริการสินเชื่อ 4 ประเภทด้วยกัน คือ สินเชื่อเงินผ่อน สินเชื่อเงินสด สินเชื่อเพื่อการบริการ และสินเชื่อรถจักรยานยนต์ โดยสินเชื่อเงินสดมีสัดส่วนมากที่สุด 70% ตามมา ด้วยสินเชื่อเงินผ่อน 20% มีลูกค้ารวม 1.2 ล้านราย คาดว่าถึงสิ้นปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านราย ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อในปีนี้จำนวน 24,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตราว 20% โดยกลยุทธ์สำคัญในการขยายตลาดนั้นจะมาจากการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 56 สาขาขึ้นเป็น 80 สาขาในสิ้นปีนี้ รวมทั้งการเจาะตลาดต่างจังหวัด ด้วยการเข้าไปทดแทนผู้ให้กู้สินเชื่อนอกระบบในต่างจังหวัด
|
|
|
|
|