Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2545
ย้อนอดีต วอลเตอร์ ไมเยอร์ในเบอร์ลี่ ยุคเกอร์             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

สบู่หอมนกแก้ว "เคียงคู่คนไทย"
วันเวลาใน "ไมเยอร์ พาร์ค" ของวอลเตอร์ เลโอ ไมเยอร์
ข้อมูลบุคคลวอลเตอร์ เลโอ ไมเยอร์ (Walter Leo Mayer)

   
search resources

เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บมจ.
วอลเตอร์ เลโอ ไมเยอร์




ย้อนอดีตกลับไปในปี พ.ศ.2425 อัลเบอร์ต ยุคเกอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้ร่วมกับชาวสวิสอีกคนหนึ่งชื่อ เฮนรี่ ซิกก์ ก่อตั้งห้างยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์ แอนด์ โก ขึ้น เพื่อทำธุรกิจค้าขายสินค้าเบ็ดเตล็ด เป็นผู้สั่งสินค้าประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือนเข้ามาจำหน่าย ส่งไม้สักออกไปขายต่างประเทศ และดำเนินธุรกิจทางด้านการค้าข้าว (โดยเป็นเจ้าของโรงสีข้าวสามเสน ซึ่งเป็นโรงสีที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น (จากประวัติ 100 ปี แห่งบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด รวบรวมโดยวอลเตอร์ ไมเยอร์) รวมทั้งทำธุรกิจทางด้านประกันภัย และธนาคารอีกด้วย

ในปี พ.ศ.2431 หลังจากการเสียชีวิตของอัลเบอร์ต ยุคเกอร์ นักบุกเบิกหนุ่มชาวสวิสอีกคนหนึ่งคือ อัลเบอร์ต เบอร์ลี่ ได้เดินทางเข้ามาเสี่ยงโชคในประเทศสยาม และได้เข้ามาร่วมงานกับบริษัท ยุคเกอร์ฯ ในที่สุดได้เป็นผู้สืบทอดการบริหารต่อมา และเปลี่ยนชื่อเป็นห้างเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ แอนด์ โก เมื่อปี พ.ศ.2467 ต่อมาได้แต่งงานกับแมรี่ บุตรสาวคนโต ของอัลเบอร์ต ผู้ก่อตั้งบริษัทยุคเกอร์คนแรก อัลเบอร์ต เบอร์ลี่ ได้ปิดบริษัทนี้ลงชั่วคราวเมื่อเกิดสงครามในคาบสมุทรแปซิฟิก ขึ้นในปี พ.ศ.2484

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เอ็ดวาร์ด ยุคเกอร์น้องชายของแมรี่ ได้เปิดกิจการใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ในคราวนี้ เอ็ดวาร์ดได้ว่าจ้างวอลเตอร์ ไมเยอร์ เข้าไปบริหารในตำแหน่งผู้ช่วยในแผนกการสั่งสินค้าเข้า

ในเวลานั้น วอลเตอร์ ไมเยอร์ มีอายุเพียง 31 ปี ก่อนหน้าที่จะเข้ามาในเมืองไทย เขาเป็นพนักงานของบริษัทการค้าของประเทศสวิสแห่งหนึ่ง รับผิดชอบงานอยู่ที่สาขาในประเทศอินเดีย 3 ปี ก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่ที่เซี่ยงไฮ้อีกหนึ่งปี และวันหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ไปดูช่องทางการค้าในประเทศสยาม ประเทศที่เขาไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนเลยในชีวิต และก็ไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าจะเป็นประเทศที่ในเวลาต่อมาเขาจะต้องรัก และผูกพัน จนตัดสินใจยึดมั่นเป็นเรือนตาย

ในระหว่างมาติดต่อธุรกิจในสยาม เหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็อุบัติขึ้น ไมเยอร์ต้องตกค้างอยู่ในประเทศไทย ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

จนสงครามโลกสิ้นสุด วอลเตอร์ ไมเยอร์ เตรียมตัวจะเดินทางกลับไปทำงานต่อที่เมืองเซี่ยงไฮ้ แต่แล้วพรหมลิขิตบันดาลให้เขาได้พบกับโอลิเวีย ผู้เป็นภรรยา ที่วัดคาทอลิกแห่งหนึ่ง เธออายุอ่อนกว่าเขา 5 ปี เป็นคนไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซางตาครูส หรือบ้านกุฎีจีน ริมฝั่งเจ้าพระยา ตรงข้ามปากคลองตลาดในปัจจุบัน

โอลิเวียเป็นเครือญาติกับพอลล่า ดาครูซ ภรรยาของ อัลเบอร์ต ยุคเกอร์ ผู้ก่อตั้งห้างยุคเกอร์ และเธอเป็นคนชักชวนเขาให้มาร่วมงานกับบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์

วอลเตอร์ ไมเยอร์ เข้าไปร่วมงานกับบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ตั้งแต่ พ.ศ.2489 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานแบบมืออาชีพ โดยเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาถือหุ้น และเป็นหนึ่งในเจ็ดบริษัทแรกที่เข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2517

เมื่อวอลเตอร์ ไมเยอร์ อายุได้ 65 ปี ใน พ.ศ.2523 เขาได้ลาออกจากหน้าที่การบริหารต่างๆ ภายในบริษัท และได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการบริษัทตั้งแต่ พ.ศ.2524-2534 เป็น "Boss of the Year" ของสมาคมเลขาฯ ในปี พ.ศ.2517

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us