|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2548
|
|
งานแถลงข่าวผลการดำเนินงานงวดไตรมาสที่ 2 ของเครือซิเมนต์ไทยปีนี้ แตกต่างไปจากการแถลงผลประกอบการในหลายครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะบุคคลที่ขึ้นไปนั่งคู่คอยป้อนข้อมูลกับชุมพล ณ ลำเลียง ที่เป็นผู้แถลงหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้บทบาทนี้เคยเป็นของกานต์ ตระกูลฮุน แต่คราวนี้บทบาทเดียวกันกลับตกเป็นของรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ที่ดูแลสายงานการเงิน (CFO) และประชาสัมพันธ์
"เป็นงานของเขาโดยตรง เพราะเขาดูแลงานประชาสัมพันธ์" กานต์ซึ่งมาร่วมงานแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย แต่ไม่ได้ขึ้นบนเวทีพูดถึงรุ่งโรจน์กับผู้สื่อข่าว ที่เข้ามาถามเขาว่าทำไมถึงไม่ขึ้นไปร่วมนั่งแถลง
บทบาทของรุ่งโรจน์ในปัจจุบัน เป็นบทบาทเดียวกันกับที่กานต์เคยได้รับ ก่อนที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้จัดการใหญ่ เมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งบทบาทนี้มีหน้าที่ต้องปะทะสังสรรค์กับทั้งสื่อมวลชนและนักลงทุน
ที่สำคัญ เป็นบทบาทที่ต้องรับผิดชอบการหาแหล่งเงินทุน และจัดสรรเงินทุน เพื่อนำไปใช้ในโครงการลงทุนต่างๆ ที่เครือซิเมนต์ไทยมีแผนสำหรับการขยายงานในอนาคต
ที่ผ่านมา กุญแจสำคัญในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำภาคอุตสาหกรรมของเครือซิเมนต์ไทย มิได้อยู่ที่บทบาทของภาคการผลิต หรืองานทางด้านวิศวกรรม แต่อยู่ที่บทบาทในการหาแหล่งระดมเงินทุน ซึ่งบทบาทนี้เริ่มโดดเด่นขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่ชุมพล ณ ลำเลียง ได้เข้ามาดูแลฝ่ายการเงิน ก่อนที่จะได้รับการโปรโมตขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ เมื่อ 13 ปีก่อน
ยิ่งหลังจากนี้ไป เมื่อเครือซิเมนต์ไทยได้ประกาศเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทนี้จะยิ่งถูกตอกย้ำความสำคัญมากยิ่งขึ้น
บทบาทของรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ในฐานะ CFO ของเครือซิเมนต์ไทย จากนี้ไปจึงยิ่งน่าติดตาม
เพราะนอกจากเขาต้องเข้ามารับผิดชอบภารกิจสำคัญในการหาแหล่งและจัดสรรเงินทุนแล้ว เขายังมีประสบการณ์ในการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศครั้งแรกของเครือซิเมนต์ไทย โดยเป็นทีมงานที่เข้าไปดูแลกิจการของบริษัท TileCera Inc โรงงานเซรามิก ในสหรัฐอเมริกา ที่เครือซิเมนต์ไทยเคยเข้าไปเทกโอเวอร์เมื่อหลายปีก่อน แต่ต้องขายทิ้งไปเนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ
หัวหน้าทีมที่เข้าไปดูแล TileCera Inc ในครั้งนั้น คืออวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ ก็เคยเป็น CFO ของเครือซิเมนต์ไทย ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมือมาเป็นกานต์ ตระกูลฮุน
ที่สำคัญ รุ่งโรจน์ยังเป็นศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจริงจาก Harvard คนที่ 2 ที่เข้ามาอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย มิใช่ศิษย์เก่าในฐานะของผู้บริหารที่ถูกส่งไปอบรมคอร์สบริหารสั้นๆ จาก Harvard Business School ที่เป็นแนวทางการสร้างผู้บริหารที่เครือซิเมนต์ไทยยึดถือมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
รุ่งโรจน์จบปริญญาตรีวิศวกรรมเหมืองแร่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปต่อปริญญาโททางด้าน Industrial Engineering จาก University of Texas at Arlington สหรัฐอเมริกา
แต่เขาได้ปริญญาโทอีกใบ เป็น MBA ด้านการเงิน จาก Harvard Business School
ประวัติการศึกษาของรุ่งโรจน์ คล้ายคลึงกับรุ่นพี่ของเขา ที่เป็นศิษย์เก่า Harvard คนแรกที่อยู่ในเครือซิเมนต์ไทยที่ชื่อ ชุมพล ณ ลำเลียง
|
|
|
|
|