Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548
The Third Pillar of SCC             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

 
Charts & Figures

บริษัทในกลุ่มธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์เครือซิเมนต์ไทย
ผลการดำเนินงานเครือซิเมนต์ไทยแยกตามกลุ่มธุรกิจ

   
related stories

From Brown Box to Branding

   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
เยื่อกระดาษสยาม, บมจ.
Pulp and Paper
เชาวลิต เอกบุตร
Packaging




ถึงแม้กลุ่มธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ของเครือซิเมนต์ไทยจะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ของไทยและอาเซียน แต่กลับเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคไม่มากนัก จึงถือโอกาสที่ปีนี้จะมีอายุครบ 30 ปี เริ่มเปิดตัวออกสู่สาธารณชนมากขึ้น

ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ชมโทรทัศน์หลายคนคงสะดุดตากับโฆษณาผลิตภัณฑ์กระดาษที่พยายามสื่อความหมายถึงการเป็นสื่อบันทึกความคิดที่เก่าแก่มากที่สุดประเภทหนึ่ง และคงมีผู้ชมจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกแปลกใจเมื่อได้ทราบว่า โฆษณาชิ้นดังกล่าวเป็นของกลุ่มธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย

"ปัจจุบันมีน้อยคนที่จะรู้ว่าเครือซิเมนต์ไทยมีธุรกิจกระดาษอยู่ด้วย เราคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะสื่อให้ผู้บริโภคได้รู้" เชาวลิต เอกบุตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธุรกิจกระดาษของเครือกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

โฆษณาชิ้นดังกล่าวยังถือว่าเป็นการเริ่มเปิดตัวธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์ของเครือซิเมนต์ไทยต่อผู้บริโภคอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน

หากเทียบกับธุรกิจหลักของเครือด้วยกันแล้ว กลุ่มกระดาษต้องถือว่าเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคน้อยกว่าธุรกิจดั้งเดิมอย่างซีเมนต์และธุรกิจใหม่อย่างปิโตรเคมี ที่เพิ่งทำการเปิดตัวในลักษณะคล้ายๆ กันไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่หากย้อนกลับไปดูถึงความเป็นมา ต้องถือว่ากลุ่ม กระดาษมีประวัติศาสตร์ที่เกาะเกี่ยวอยู่กับการขยายตัวของเครือซิเมนต์ไทยอยู่มากทีเดียว เพราะเครือซิเมนต์ไทยเริ่ม diversify ออกสู่ธุรกิจที่ไม่ใช่ปูนซีเมนต์ครั้งแรกก็ที่ธุรกิจกระดาษนี่เอง

ปี 2518 เครือซิเมนต์ไทยได้รับการร้องขอจากเจ้าหนี้ และคณะกรรมการของบริษัท สยามคราฟท์ จำกัด ให้เข้าไป ช่วยฟื้นฟูกิจการที่ตกอยู่ในฐานะย่ำแย่และแม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อนแต่เครือซิเมนต์ไทยก็ตอบตกลงต่อคำร้องขอในครั้งนั้น และหลังจากที่ใช้เวลาอยู่นานหลายปี ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของเครือเลยทีเดียว

ความสำเร็จจากการพลิกฟื้นฐานะของสยามคราฟท์ที่กลายเป็นความภาคภูมิใจของเครือซิเมนต์ไทย มาจนถึงทุกวันนี้นี่เองที่มีส่วนสร้างความมั่นใจในการขยายออกไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าเครือจะยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็ตาม ขณะเดียวกันก็เป็นตัวผลักดันให้ เครือซิเมนต์ไทยรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมกระดาษอย่างครบวงจร (ดูรายละเอียด บริษัทในกลุ่มกระดาษและบรรจุภัณฑ์จากตารางประกอบ) จนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในประเทศและพัฒนา มาสู่ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคในปัจจุบัน ด้วยกำลังการผลิตรวมกว่า 2.6 ล้านตันต่อปี แบ่ง เป็นกำลังผลิตเยื่อกระดาษ 424,000 ตัน กระดาษพิมพ์เขียน 362,000 ตัน กระดาษบรรจุภัณฑ์ 1,452,000 ตัน และบรรจุ ภัณฑ์กว่า 450,000 ตันต่อปี

นอกจากนี้ตามแผนการลงทุนที่ได้ประกาศออกมาในวันแถลงผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ เครือ ซิเมนต์ไทยได้เตรียมลงทุน 2,870 ล้านบาท เพื่อขยายกำลัง การผลิตในธุรกิจกระดาษ โดยเป็นในส่วนของแผ่นกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษของกลุ่มบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ ที่โรงงานนวนครและราชบุรี แบ่งเป็นการขยายกำลังผลิตแผ่น กระดาษลูกฟูก 120,000 ตันต่อปี และกล่องกระดาษลูกฟูกอีก 20,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 1,100 ล้านบาท จะเริ่มทำการผลิตในส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 2 ปีหน้า

ส่วนอีก 1,770 ล้านบาท จะใช้ไปในการขยายกำลังผลิตกระดาษแข็งเคลือบผิวของบริษัท กระดาษสหไทยอุตสาหกรรม ที่โรงงานจังหวัดกาญจนบุรีอีก 100,000 ตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2550 เป็นต้นไป

"ถ้าเทียบในกลุ่มกระดาษบรรจุภัณฑ์ ในอาเซียนเราใหญ่ที่สุด เราเป็นมาร์เก็ตลีดเดอร์ทั้งในไทย ในฟิลิปปินส์ ที่เรามีโรงงานอยู่และที่เวียดนาม ที่เราส่งกระดาษเข้าไปจาก ไทย" เชาวลิตกล่าว

นอกจากการลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุที่ธุรกิจกระดาษของเครือซิเมนต์ไทยเป็นผู้เล่นในระดับภูมิภาค การมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจจึงต้องมองให้ทั่วทั้งภูมิภาคเช่นกัน โดยเชาวลิตยอมรับว่า นอกจากฟิลิปปินส์ที่ได้ไปลงทุนไว้แล้ว ขณะนี้เครือซิเมนต์ไทยกำลังเฝ้ามองโอกาส ที่จะไปลงทุนในประเทศอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย โดยเฉพาะในประเภทกระดาษบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องวัตถุดิบมากนัก เพราะใช้เศษกระดาษมารีไซเคิล ต่างจากการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนที่ต้องมีแหล่งผลิตเยื่อกระดาษ ซึ่งยังมีจำกัดอยู่ที่อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซียบางส่วน

ถึงกระนั้นก็ยังมีหลายประเทศที่เครือซิเมนต์ไทยจับตามองอยู่ อาทิ เวียดนาม ที่มีอัตราการเติบโตสูงทั้งในส่วนของกระดาษบรรจุภัณฑ์และกระดาษพิมพ์เขียน และยังมีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งไม้ เพื่อมาทำเยื่อกระดาษได้อีกด้วย หรือมาเลเซีย ซึ่งตลาดมีขนาดใหญ่และอินโดนีเซีย รวมทั้งฟิลิปปินส์ที่มีโรงงานกระดาษบรรจุภัณฑ์อยู่แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะขยายงานในส่วนของบรรจุภัณฑ์ได้อีก

"ธุรกิจกระดาษของเราตั้งแต่เริ่มในปี 2518 ก็โตมาอย่างสม่ำเสมอ แม้ในช่วงวิกฤติก็ยังขยายตัวได้ ส่วนหนึ่งอาจ เป็นเพราะเราเรียนรู้ว่าเป็นธุรกิจที่ต้องใจเย็น แต่เราก็ศึกษาโอกาสและดูจังหวะอยู่ตลอดเวลา ถ้ายังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมเราก็ไม่ผลีผลาม"

การซื้อกิจการหรือเทกโอเวอร์ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่เครือซิเมนต์ไทย จะใช้ในการขยายการลงทุนในธุรกิจกระดาษ ไปต่างประเทศ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวัฒนธรรมในการขยายงานในกลุ่มธุรกิจนี้ไปแล้ว เริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดในกรณีสยามคราฟท์ มาจนถึงการขยายตัวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจด้วยการเข้าซื้อหุ้นบริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจเยื่อและกระดาษพิมพ์เขียนได้อย่างมาก หรือแม้แต่การขยายงานออกต่างประเทศครั้งแรกด้วยการเข้าลงทุนใน United Pulp and Paper ที่ฟิลิปปินส์ และมีการเพิ่มสัดส่วนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาก็เช่นกัน

ถึงแม้เครือซิเมนต์ไทยจะมีความพร้อมทั้งการลงทุนสร้างโรงงานเองและซื้อกิจการมาดำเนินงานต่อ แต่โดยทั่วไป แล้วการซื้อกิจการจะใช้เงินลงทุนต่ำกว่าการสร้างโรงงานขึ้น ใหม่ นอกจากนี้ยังมีข้อดีที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นในตลาดอีกด้วย จึงไม่ทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลายจนต้อง มาแข่งขันกันที่ราคา ซึ่งอาจส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นอย่างที่คาดเอาไว้

สิ่งที่กลุ่มกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทยให้ความสนใจไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนเพื่อขยายกำลัง การผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรและตัวสินค้าอีกด้วย โดยใช้โฆษณาที่เปิดตัวออกมาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมเป็นการเริ่มต้น ถึงแม้ว่ากลุ่มลูกค้าโดยตรงของธุรกิจกระดาษจะเป็นสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์หรือผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ซึ่งยังไม่ใช่ผู้บริโภคที่เป็นประชาชนทั่วไปก็ตาม

การสร้างแบรนด์ของธุรกิจกระดาษจะทำใน 2 ระดับ ด้วยกัน ระดับแรกจะเป็นในตัวสินค้า ซึ่งจะสื่อตรงไปสู่ผู้ใช้โดยตรง เช่น สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างแบรนด์องค์กร (corporate branding) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสื่อสารกับผู้บริโภคในวงกว้างด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะเครือซิเมนต์ไทยได้มีการสร้าง ภาพลักษณ์ในลักษณะนี้มาโดยตลอดอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม การมีบรรษัทภิบาลและการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รากฐานที่มีอยู่น่าจะช่วยให้ธุรกิจกระดาษและบรรจุภัณฑ์สามารถต่อยอดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

"ปัจจุบันถ้าผู้บริโภคจะซื้อทีวี เขาคงไม่สนใจว่าจะใช้กล่องที่มาจากโรงงานไหน แต่ถ้าเป็นผู้ผลิตสินค้าบางประเภทที่ต้องการจะสื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเขารักษาสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องสำอางบางยี่ห้อ ถ้าเราสามารถสื่อให้เขาเห็นได้ว่า กระดาษของเราช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะใช้กระดาษรีไซเคิล เขาก็อาจจะเปลี่ยนมาใช้ของเรา แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างได้ในเวลาอันสั้น"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us