Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน กันยายน 2548
Exposition Air Hub : CENTRAIR             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

The beginning to countdown
The changing way of life
ชุมชนลาดกระบัง ลมหายใจกำลังเปลี่ยน
Aerotropolis
Hot Zone
Turn left to Pattaya
Biggest Move
45 ปีที่รอคอย

   
search resources

Central Japan International Airport Company Limited
Airport




ขณะที่สังคมไทยกำลังรอคอยการเปิดใช้สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ "สุวรรณภูมิ" ด้วยความคาดหวังอย่างยิ่งใหญ่ ประติมากรรมAtarashiki Tabi (A New Journey) ผลงานของ Eitaro Sato ซึ่งตั้งอยู่ภายในโถงทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่าง สถานีรถไฟ Airport Station และท่าอากาศยาน Central Japan (Chubu) International Airport (CENTRAIR) กำลังบอกกล่าวเรื่องราวที่ข้ามพ้นวิธีคิดแบบเดิมไปนานแล้ว

ความน่าสนใจของ CENTRAIR มิได้เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 ที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำที่สร้างขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์ (off-shore airport on man-made island) ที่เป็นการต่อยอดในเชิงวิศวกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างของญี่ปุ่น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นได้สร้างท่าอากาศยาน Nagasaki (Omura Bay : 1975) และท่าอากาศยาน Kansai (Osaka Bay : 1994) เท่านั้น

หากแต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ยังเกิดขึ้นภายใต้ความมุ่งหมายที่จะกระตุ้นพลวัตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค Chubu (ประกอบด้วย Aichi, Fukui, Gifu, Ishikawa, Nagano, Niigata, Shizuoka, Toyama และ Yamanashi) หรือพื้นที่ภาคกลางของเกาะ Honshu โดยเฉพาะ Aichi ซึ่งเป็นฐานการผลิตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลาย ให้จำเริญก้าวหน้าเคียงคู่กับพัฒนาการของเขต Kanto และ Kansai พร้อมกับการเชื่อมโยงภูมิภาคแห่งนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่เศรษฐกิจในระดับนานาชาติด้วย

ภูมิหลังของความพยายามที่จะก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ ใกล้เมือง Nagoya จังหวัด Aichi เพื่อทดแทนสนามบิน Nagoya Airport แห่งเดิมซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง Nagoya เป็นกรณีที่นอกจากจะเป็นภาพสะท้อนความเป็นไปในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่นแล้ว ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังกำลังบ่งบอกทิศทางแห่งนโยบาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาของญี่ปุ่นที่น่าติดตามยิ่ง

ผลสืบเนื่องจากสภาพคับคั่งที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ Aichi และจังหวัดข้างเคียงในภูมิภาค Chubu รวมถึงการที่ต้องแบ่งส่วนร่วมใช้พื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ runway ร่วมกับเครื่องบินของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ (Air Self-Defense Force : Komaki Base) ทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและองค์กรบริหารในระดับท้องถิ่น (Local Government) ดำเนินความพยายามที่จะหาพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์อย่างเป็นเอกเทศมาตั้งแต่เมื่อปี 1995 ก่อนที่จะนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อดำเนินการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ในเวลาต่อมา

Central Japan International Airport Company, Limited ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1998 เพื่อเป็นองค์กรในการก่อสร้างและบริหารกิจการท่าอากาศยานแห่งใหม่ โดยมีรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับองค์กรบริหารระดับจังหวัด (Aichi Prefectural Government, Gifu Prefectural Government, Mie Prefectural Government และ Nagoya Municipal Government) โดยมีภาคธุรกิจเอกชนและหอการค้าอีก 1,093 แห่งเข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนรวม 8.37 หมื่นล้าน เยนแห่งนี้

ความมุ่งหมายที่จะก่อสร้างท่าอากาศ ยานนานาชาติเพื่อการพาณิชย์แห่งใหม่ใน Aichi เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นในปี 2000 พร้อมกับการที่ Aichi เสนอตัวและได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดงาน EXPO 2005 อย่างเป็นทางการตามการประกาศของ International Exhibitions Bureau ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน

การก่อสร้าง CENTRAIR ในอ่าว Ise (Ise Bay) ในเขตเมือง Tokaname ซึ่งอยู่ห่างจาก Nagoya ไปทางทิศใต้ประมาณ 35 กิโลเมตร เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2000 ภายใต้งบประมาณรวม 7.68 แสนล้านเยน หรือประมาณ 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.92 แสนล้านบาท) แต่ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เน้นการเปิดกว้างและเป็นธรรม (Open and Fair Procurement) ทำให้เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2004 โครงการก่อสร้างสนามบิน แห่งใหม่นี้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้ถึงเกือบ 1 แสนล้านเยน (3.8 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว โดยใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้นรวม 4 ปี 2 เดือน (1 สิงหาคม 2000-30 กันยายน 2004)

นอกเหนือจากความพยายามที่จะลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพแล้ว กำหนดการเปิดใช้ท่าอากาศยานที่คาบเกี่ยวกับช่วงเวลาของมหกรรมงาน Aichi EXPO 2005 ส่งผลให้มาตรการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสนามบินแห่งนี้ได้รับการออกแบบและดำเนินการอย่างพิถีพิถันเป็นพิเศษ

แม้ว่าความมุ่งหมายของการสร้างท่าอากาศยาน CENTRAIR จะประกอบด้วยเหตุผลที่กว้างไกลกว่าการเป็นสนามบินเพื่อการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าเยี่ยมชมงาน EXPO 2005 (25 มีนาคม ถึง 25 กันยายน 2005) ซึ่งคาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน แต่ไม่ อาจปฏิเสธได้ว่า นับตั้งแต่ CENTRAIR เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2005 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้ทำหน้าที่เป็นประหนึ่ง outpost pavilion สำหรับ EXPO 2005 ที่มี theme หลักอยู่ที่ Nature's Wisdom อย่างกลมกลืน

พื้นที่ของเกาะที่เกิดจากการถมทะเลให้เกิดเป็นแผ่นดิน (reclaimed land) ขนาด 1,170 เอเคอร์ (4.3 X 1.9 กิโลเมตรโดยประมาณ) ได้รับการออกแบบให้มีสัณฐานใกล้เคียงกับอักษร D ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้กระแสน้ำภายใน Ise Bay ไหลผ่านได้อย่างมีผลกระทบในเชิงนิเวศน้อยที่สุด ขณะที่วัสดุที่ใช้ในการถมทะเลดังกล่าวบางส่วนเป็นหินจากธรรมชาติ โดยที่ฐานรากของเกาะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินได้รับการตกแต่งให้มีความลาดเอียง (slope) เพื่อเอื้อให้สิ่งมีชีวิตในผืนน้ำได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไป

การวางระบบพลังงานและแสงสว่างภายในตัวอาคารของ CENTRAIR เป็นอีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อโครงหลังคาของอาคารได้รับการออกแบบให้ปกคลุมด้วยวัสดุโปร่งแสง ที่สามารถใช้ประโยชน์จากแสงของดวงอาทิตย์มาเป็นหลักในการส่องสว่างพื้นที่ภายในได้อย่าง ลงตัว ควบคู่กับแผง Solar Cell ที่ติดตั้งอยู่บน observation deck ที่แปรเปลี่ยนแสงอาทิตย์ ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญให้กับอาคาร ซึ่งนอกจากจะมีผลให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้ โดยไม่เพิ่มปริมาณ emitting gas และลดทอนค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของ CENTRAIR แล้ว กรณีดังกล่าวยังเน้นย้ำให้เห็นความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าในเชิงธุรกิจของเทคโนโลยี solar cell เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน fossil fuel ในอนาคตด้วย

เรื่องราวความเป็นไปของกระบวนการออกแบบและก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งนี้ ได้รับการถ่ายทอดในฐานะนิทรรศการภายในพื้นที่ของสนามบินอย่างมีระบบ และบ่งบอกทิศทางการพัฒนาภายใต้ Nature's Wisdom ได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็นมากกว่า Pavilion ที่ตั้งแสดงอยู่ภายในพื้นที่งาน EXPO 2005 อีกหลายแห่ง

ขณะเดียวกัน พื้นที่ภายในตัวอาคาร Terminal ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเป็นอักษร T ในภาษาอังกฤษ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างลงตัว โดยมีพื้นที่ส่วนกลางหรือแกนกลางของตัว T ทำหน้าที่เป็นบริเวณของการ check in ก่อนที่ผู้โดยสารจะเคลื่อนไปสู่ทางออกขึ้นเครื่องบิน ที่แยกเป็น International Flight และ Domestic Flight ตามแนวซ้าย-ขวาของหัวอักษรตัว T นี้ ซึ่งทำให้ระยะทางจากจุด check in ไปสู่ทางออกขึ้นเครื่องบินอยู่ที่ระดับไม่เกิน 300 เมตรเท่านั้น และทำให้การ connect flight ของผู้โดยสารในประเทศและระหว่างประเทศ ดำเนินไปภายใต้อาณาบริเวณที่เชื่อมถึงกันได้อย่างสะดวก

เป็นความสะดวกที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วย compact and easy to access ที่เป็นประหนึ่งปรัชญาของการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่นี้มาตั้งแต่ต้น

นอกจากนี้พื้นที่ภายในตัวอาคารที่พักผู้โดยสารยังได้รับการออกแบบให้สอดรับกับการเป็นสนามบินนานาชาติที่สามารถเชื่อมการเดินทางในเส้นทางการบินภายในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว เมื่อร้านค้าภายในตัวอาคารแห่งนี้ได้รับการแบ่งส่วน (zoning) ด้วยสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นและแบบตะวันตก เพื่อบ่งบอกเรื่องราวและแทรกเสริมมิติในเชิงวัฒนธรรมให้กับนักเดินทางได้โดยไม่รู้สึกว่ากำลังถูกยัดเยียดให้ต้องรับ

ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ ธุรกิจระดับชาติ หรือแม้กระทั่งกลุ่มสมาคมผู้ประกอบการ SMEs ระดับชุมชน ต่างสามารถนำพาความก้าวหน้าในเชิงผลิตภัณฑ์และบริการทางธุรกิจเข้ามาร่วมเป็นประหนึ่ง Theme Park ที่ CENTRAIR ได้เปิดพื้นที่ไว้อย่างกว้างขวาง ควบคู่กับพื้นที่ที่พร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมในเชิงวัฒนธรรม Trade Exhibition นิทรรศการทางสังคมหรือกระทั่งงานเลี้ยงฉลองในวาระต่างๆ ด้วย

runway ที่มีความยาวในระดับ 3.5 กิโลเมตร ทำให้เครื่องบินขนาดใหญ่ที่บินในเส้นทางระยะไกลสามารถลงจอดที่ CENTRAIR ได้อย่างสะดวก และทำให้ CENTRAIR มีศักยภาพในการรับส่งเครื่องบินขนาดต่างๆ ได้ทัดเทียมกับสนามบินนานาชาติ Narita และ Kansai ขณะที่สภาพพื้นที่ที่เป็นเกาะและอยู่ห่างไกลจากเขตชุมชนเมือง ทำให้ CENTRAIR สามารถเปิดบริการให้เครื่องบินขึ้นลงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นท่าอากาศ ยานแห่งที่ 5 ของญี่ปุ่นที่ให้บริการนี้ได้ (อีก 4 แห่งประกอบด้วย Naha ใน Okinawa, New Chitose ใน Sapporo, Kansai ใน Osaka และ Haneda ในกรุงโตเกียว)

กระนั้นก็ดี การก่อสร้างสนามบินแห่งนี้มิได้ดำเนินไปอย่างตัดขาดหรือแยกส่วนออกจากองคาพยพส่วนอื่นของสังคม หากดำเนินไปภายใต้แผนพัฒนาเมืองในภาพรวมอย่างเป็นระบบ โดยพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับท่าอากาศยาน ซึ่งอยู่บนเกาะ นอกจากจะมีโรงแรมระดับ 5 ดาวสำหรับรองรับนักเดินทางจากแดนไกลแล้ว พื้นที่บางส่วนยังได้รับการจัดเตรียมไว้สำหรับการพัฒนาเป็นที่พักของลูกเรือประจำเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่าย ซึ่งกำลังจะกลายเป็นชุมชนใหม่ในอนาคตอันใกล้

ขณะที่เส้นทางการสัญจรเข้าสู่เมือง Nagoya ซึ่งอยู่ห่างออกไป 35 กิโลเมตร ได้รับการออกแบบและก่อสร้างในฐานะของมาตรการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ก่อนที่การก่อสร้าง สนามบินแห่งนี้จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์และเปิดใช้เสียอีก โดยสะพานคู่ขนานที่มีความยาว 1.3 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถยนต์และรถไฟ ถูกจัดวางให้เป็นเส้นทางเชื่อมสนามบินกับ Maejima พื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเลบนฝั่งแผ่นดินในเมือง Tokoname ก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่เมือง Nagoya โดยการเดินทางด้วยรถไฟจากสถานี Airport Station ถึง Nagoya Station ใช้เวลาเพียง 28 นาทีเท่านั้น

ภาพของหญิงสาวที่ปรากฏเป็นประติมากรรมสำริด Atarashiki Tabi (A New Journey) ในห้องโถงที่เชื่อม Terminal ของสนามบินเข้ากับ Platform ของสถานีรถไฟ ย่อมไม่ใช่สัญลักษณ์ที่มุ่งแสดงความอลังการและเกริกไกรยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง หากแต่เป็นภาพสะท้อนของการเชื่อมประสานบทเรียนแห่งประวัติศาสตร์เข้ากับองค์ความรู้ของศตวรรษที่ 20 ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และความท้าทายแห่งชีวิต

เป็นเพียงภาพสะท้อนของจุดเชื่อมประสานสำหรับการเดินทางเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us