Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548
แบงก์ตะวันตกยึดหัวหาดตลาดเงินมุสลิม             
 


   
search resources

Banking and Finance




ธนาคารชาติตะวันตกนำโดย Citigroup กำลังพาเหรดเข้ายึดครองตลาดเงินในโลกอิสลาม

ธนาคารยักษ์ใหญ่จากโลกตะวันตก หรือจะพูดให้ถูกคือ สาขาของธนาคารเหล่านั้นที่อยู่ในชาติมุสลิม กำลังเข้าครอบครองตลาดการเงินในโลกมุสลิม โดยให้บริการทางการเงินที่ไม่ขัดต่อพระคัมภีร์อัลกุรอาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการที่พระคัมภีร์ห้ามการให้กู้ยืมเงินเพื่อหวังกำไร หรือการนำเงินไปสนับสนุนกิจกรรมที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม เช่น การพนัน ยาสูบ และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากเนื้อสุกร

อย่างเช่น ธนาคาร Citi Islamic ซึ่งมีฐานอยู่ที่ประเทศ Bahrain และเป็นสาขาของ Citigroup ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่จากตะวันตกรายแรก ที่รุกเข้าสู่ประเทศมุสลิมดังกล่าวในปี 1996 ขณะนี้สามารถผงาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดการเงินในประเทศนั้น ด้วยบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ในมือมากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์

ธนาคารดังกล่าว ร่วมด้วยธนาคารยักษ์ใหญ่จากตะวันตกอีกอย่างน้อย 10 ราย ซึ่งรวมถึง HSBC, ABN AMRO ได้ทำให้คู่แข่งคือ Al Baraka ธนาคารท้องถิ่นรายใหญ่ที่สุดของ Bahrain ต้องดูเล็กลงไปถนัดตา ด้วยเงินฝากที่มีอยู่ในมือเพียง 500 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

แม้ว่าตลาดเงินของโลกอิสลามยังคงเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่ก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเงินฝากที่อยู่ในธนาคารที่ปฏิบัติตามกฎหมายอิสลาม ที่เรียกว่ากฎหมาย Sharai ในขณะนี้มีมากถึง 265,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนเงิน ที่ชาวมุสลิมนำไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ยังมีมูลค่ารวมกันอีกถึง 400,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 17% จากปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าของเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

เหตุใดธนาคารจากตะวันตกจึงสามารถเข้ายึดครองตลาดเงินในโลกมุสลิมได้สำเร็จ

เมื่อประมาณหนึ่งชั่วอายุคนที่แล้ว ธนาคารอิสลามเป็นเพียงสถาบันการลงทุนเล็กๆ ซึ่งแทนที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฝากเงิน ก็จะใช้วิธีให้เงินปันผลแทนจากการซื้อและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

แต่เมื่อเศรษฐกิจในตะวันออกกลางเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นตลอดเวลา นับตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ทำให้บริษัทของชาวมุสลิมจำนวนมากเริ่มพบว่า ตนเองต้องการบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ ที่ทันยุคทันสมัยมากกว่าที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการออกหุ้นกู้จนถึงอนุพันธ์ทางการเงินต่างๆ ซึ่งมีเพียงธนาคารตะวันตกเท่านั้นที่มีบริการการเงินเหล่านี้

ธนาคารอิสลามจะไม่จ่ายดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ย เนื่องจากกฎหมายอิสลามห้ามการใช้เงินต่อเงิน แต่ไม่ได้ห้ามการให้เช่าหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยน ดังนั้นการลงทุนของธนาคารอิสลามจึงอยู่บนพื้นฐานของการเป็นเจ้าของร่วมหรือการให้เช่าทรัพย์สิน เช่นอสังหาริมทรัพย์หรือสินค้าโภคภัณฑ์บางอย่าง ที่มีมูลค่าสูงขึ้นตามกาลเวลา

และขณะนี้ธนาคารตะวันตกก็ได้ยึดถือรูปแบบการลงทุนที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามดังกล่าว มาใช้ในการบุกเบิกตลาดบัตรเครดิตสำหรับโลกอิสลาม ตลาดเงินกู้จำนองสำหรับชาวมุสลิม และหุ้นกู้สำหรับชาวมุสลิม (ซึ่งชาวมุสลิมเรียกว่า sukuks) ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ธนาคารตะวันตกก็ได้นำเงินที่ได้นี้ไปใช้สนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการมากมายในโลกมุสลิม ตั้งแต่การพัฒนาสนามบินดูไบที่ใช้เงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ไปจนถึงปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลปากีสถาน

แต่กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ธนาคารตะวันตกสามารถสร้างความน่าเชื่อถือจากชาวมุสลิมได้ คือการว่าจ้างนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย Sharia ชั้นนำ ให้มานั่งอยู่ในคณะกรรมการธนาคาร และเนื่องจากการที่มีนักวิชาการมุสลิมที่เชี่ยวชาญเรื่องการเงินเพียงแค่หยิบมือเดียวในตลาด ทำให้ส่วนใหญ่ต้องนั่งเป็นกรรมการ ในสถาบันการเงินหลายแห่งในเวลาเดียวกัน และแต่ละคนได้รับค่าตอบแทนสูงถึง 50,000 ปอนด์ต่อปีต่อธนาคาร

อย่างเช่น Sheik Mohammed Taqi Usmani อดีตผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลามของศาลสูงปากีสถาน ต้องเป็นกรรมการของ Citi Islamic, HSBC, Al Baraka และธนาคารอื่นๆ อีก 8 แห่งพร้อมๆ กัน และยังเป็นประธานคณะกรรมการกฎหมาย Sharia ของดัชนีต่างๆของ Dow Jones Islamic indexes อีกด้วย

การที่ธนาคารตะวันตกถูกดึงดูดเข้ามาสู่ตลาดตะวันออกกลาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตะวันออกกลางกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบหนึ่งชั่วคน เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงลิ่ว อย่างไรก็ตาม เงินทุนจากโลกอิสลามเพิ่งจะหันเหความสนใจมาลงทุนภายในภูมิภาคของตนเองเมื่อปี 2001 ที่ผ่านมานี่เอง หรือหลังจากเกิด เหตุวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของสหรัฐฯ ไม่เช่นนั้นแล้ว ตามปกติเงินทุนของ ตะวันออกกลางซึ่งได้มาจากการขายน้ำมัน ก็มักจะไหลออกไปลงทุนในสหรัฐฯ หรือในยุโรปแทนที่จะอยู่ภายในภูมิภาค

เมื่อเป็นเช่นนี้ ธนาคารยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอย่าง Societe Generale, BNP Paribas, Deutsche Bank และ Standard Chartered ต่างก็พาเหรดเข้าสู่ธุรกิจให้บริการการเงินแก่โลกอิสลาม แม้แต่บริษัทที่ปรึกษาและการบัญชีอย่าง Ernst & Young ก็ยังเสนอบริการทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม

แม้แต่ธนาคารมุสลิมเองก็มีการปรับตัว ธนาคาร Islamic Bank of Britain ซึ่งมีธนาคารอิสลามและสถาบันอื่นๆ จากตะวันออกกลาง เป็นเจ้าของ และเพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อเร็วๆ นี้ มีแผนที่จะสร้างเชนธนาคารที่ให้บริการการเงินรายย่อยแก่ชาวมุสลิมในอังกฤษที่มีรายได้ปานกลาง

และตั้งแต่ปี 1996 มาแล้ว ที่ดัชนี Dow Jones แห่งนิวยอร์ก ได้เริ่มเสนอดัชนีหุ้น ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะนักวิชาการ Sharia แล้วว่า เหมาะสมกับนักลงทุนอิสลาม จนปัจจุบันมีดัชนีหุ้นอิสลามมากกว่า 40 ดัชนี ในปีที่แล้ว หุ้นที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเหมาะสมกับชาวมุสลิม สามารถสร้างมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดถึง 5%

ลูกค้าในประเทศมุสลิมยังหันมาหาธนาคารตะวันตก เพราะไม่ไว้วางใจในธนาคารมุสลิมด้วยกันเอง การล่มสลายของธนาคารมุสลิมชั้นนำอย่าง Ilhas Finance ของตุรกี ในปี 2001 และธนาคาร Bank of Credit and Commerce International ของประเทศ Cyprus ได้ทำลายศรัทธาของผู้ฝากเงินชาวมุสลิมไปไม่น้อย

ทั้งหมดนี้ บีบให้ธนาคารมุสลิมต้องปรับปรุงตัวเอง ในตุรกีซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม ภาคการเงินการธนาคารตามกฎศาสนาอิสลามซึ่งกำลังเริ่มเติบโต กำลังล็อบบี้รัฐบาลให้ยอมรับประกันเงินฝากในจำนวนที่สูงถึง 36,000 ดอลลาร์ ซึ่งหากทำสำเร็จ จะทำให้ตุรกีกลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดการเงินอิสลามขึ้นมาทันที

ส่วนในมาเลเซีย ซึ่งเงินฝากมากกว่า 11% ถูกต้องตามกฎ Sharia ธนาคารมุสลิมท้องถิ่นอย่าง Bank Muamalat ก็กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะเอาชนะธนาคารข้ามชาติให้ได้

อย่างไรก็ตาม แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์มุสลิมเองก็ชี้ว่า ธนาคารมุสลิมในท้องถิ่นล้วนแต่ขาดพัฒนาการในการให้บริการทางการเงินใหม่ๆ ทำให้ลูกค้ายังคงพอใจที่จะเลือกใช้บริการของธนาคารข้ามชาติมากกว่า ซึ่งให้บริการทางการเงินที่ทันสมัยกว่า โดยที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับธนาคารท้องถิ่น

แปลและเรียบเรียงจาก
Newsweek August 8, 2005
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us