Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มิถุนายน 2548
“Chalachol” – “Cut & Curl” 2 บิ๊ก 2 สไตล์             
 


   
search resources

สมศักดิ์ ชลาชล
Health and Beauty




แม้ว่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะก่อเกิดอยู่ในเมืองไทยมานานแสนนานแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการปฏิวัติเอสเอ็มอี เพราะภาครัฐให้การส่งเสริมผลักดันกันอย่างมากมาย

สำหรับ “ร้านทำผม” หนึ่งในภาคบริการ ก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเช่นเดียวกับอีกหลายธุรกิจ โดยเฉพาะ 2 รายใหญ่ผู้นำในวงการ ซึ่งมีแนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ที่ได้ประโยชน์ทั้งต่อกิจการของตนเอง และภาพรวมของธุรกิจ

จิ๊กซอว์ใหม่ต่อยอดธุรกิจ

ทั้ง “สมศักดิ์ ชลาชล” ช่างผมระดับมืออาชีพซึ่งอยู่ในวงการมานานถึง 30 ปี ผู้ก่อตั้งร้าน “Chalachol” และ “พิชัย อร่ามเจริญ” เจ้าของร้าน “Cut & Curl ” ที่บริหารร้านมานานถึง 20 ปี ต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่า ร้านทำผมซึ่งถือเป็นธุรกิจเสริมสวยเป็นเรื่องของแฟชั่น มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว

ที่สำคัญ บุคลากรบรรดาช่างทั้งหลายส่วนใหญ่ขาดพื้นฐานความรู้ในวิชาชีพ มักจะชอบการเรียนลัด พัฒนาเพียงด้านเดียว คือ ฝีมือการทำผม ขาดจรรยาบรรณ ทักษะและการบริการ

ในขณะที่ธุรกิจทำผมเปิดได้ง่ายปัจจุบันมีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 2 แสนร้าน มูลค่าตลาดทำผมปีละ 1 หมื่นล้านบาท เติบโตประมาณ 15% ในทิศทางเดียวกับผลิตภัณฑ์ดูแลผม

แต่ช่างส่วนใหญ่มีความรู้แค่พื้นฐาน ไม่สามารถออกแบบทรงผมให้เข้ากับบุคลิกของลูกค้า และแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผม และช่างผมมักจะโยกย้ายงาน ทำให้เจ้าของธุรกิจปรับตัวไม่ทัน ประกอบกับไม่ค่อยมีการลงทุนพัฒนาบุคลากร เน้นการซื้อตัว โดยให้ผลตอบแทนสูง

นั่นคือสารพันปัญหาในธุรกิจ แต่หัวใจหลักสำคัญที่สุดคือ บุคลากร ซึ่งต้องแก้ไขให้ได้เร็วและสร้างให้พร้อมที่สุด

เพราะฉะนั้น ล่าสุด ทางด้าน “พิชัย” จึงประกาศเปิดตัว “Cut & Curl Academy” อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการทำผมและออกแบบระดับมืออาชีพ

โดยเริ่มศึกษาคอนเซ็ปต์ในปี 2540 และสรุปได้ภายใน 3 ปี จากประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นผู้นำแฟชั่น อย่างในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี พบว่าไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรมากมาย ที่สำคัญคือชื่อเสียงฝีมือของช่างระดับมืออาชีพของแต่ละสถาบัน แต่เมื่อถึงเวลาสอนก็ไม่ได้ลงมือสอนเองทั้งหมด ในขณะที่ช่างฝีมือของไทยยกระดับขึ้นมาจนได้รับการยอมรับจากประเทศในเอเชียด้วยกันแล้ว เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่ง 10 กว่าปีก่อนช่างไทยต้องเดินทางไปดูงาน แต่ตอนนี้กลับกัน ด้อยกว่าญี่ปุ่นเท่านั้น

ระยะแรกนำหลักสูตรใช้กับบุคลากรของร้านก่อน เมื่อขณะนี้พร้อมเต็มที่จึงขยายสู่ภายนอก โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1.เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของช่างผม ให้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ และรายได้สูง 2.สร้างช่างผมรุ่นใหม่ ระดับมืออาชีพที่มีการศึกษาดี และ3.พัฒนากลุ่มเจ้าของร้านทำผมในปัจจุบันให้มีทักษะด้านการออกแบบและให้คำปรึกษาลูกค้าดีขึ้น

เปิดสอน 5 หลักสูตร ตั้งแต่พื้นฐานซึ่งมีช่างเชี่ยวชาญมาสอน และที่พิเศษคือการเป็นเจ้าของธุรกิจเสริมสวยแบบมืออาชีพซึ่ง “พิชัย” เป็นคนสอนเอง อีกทั้งยังแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป โดยเรียนห้องละไม่เกิน 10 คน เน้นรับผู้จบปวช. ปวส. และปริญญาตรี ซึ่งเมื่อเรียนจบหากได้บรรจุเป็นผู้ช่วยช่างจะมีรายได้ขั้นต่ำ 1 หมื่นบาทขึ้นไป และมีโอกาสพัฒนาเป็น Hair Stylist มีรายได้เดือนละ 3-5 หมื่นบาท

“ช่างผมส่วนใหญ่มองด้านเดียวคิดว่าทำเพื่อหารายได้เองดีกว่า เจ้าของร้านบางคนคิดว่าพัฒนาตัวเองดีกว่า เพราะพัฒนาช่างแล้วก็ย้ายไปอยู่ร้านอื่น เพราะฉะนั้นร้านทำผมไทยจึงมักไม่เติบโต และมีช่างเพียง 1-2 คนในร้าน และถ้าเจ้าของร้านมาสอนให้มีจริยธรรมช่างไม่เชื่อเพราะคิดว่าพูดเพื่อหวังเอาประโยชน์เท่านั้น การสร้างเป็นสถาบันจะช่วยยกระดับวงการช่างผม เราสร้างบุคลากรมืออาชีพได้ง่ายขึ้น และเราพยายามสร้างให้เจ้าของธุรกิจกล้าลงทุนในบุคลากรซึ่งจะเป็นจุดสร้างความสำเร็จของธุรกิจ ถ้าใช้การดึงตัวจะเจอปัญหาวนเวียนไม่จบ ”

“แม้จะบุคลากรเราจะเพียงพอระดับหนึ่ง ตอนนี้สต๊าฟประมาณ 170 คน แต่เราก็ต้องการเพิ่มตลอดเวลาสำหรับช่างคุณภาพ ช่างที่ร้านเรามีคอนเซ็ปต์เดียวกัน วิธีคิดคือการดูแลลูกค้าให้บริการเหมือนกัน แต่สไตล์แตกต่างกัน เพราะถ้าเป็นแพทเทริ์นเดียวกันหมด ก็ไม่ใช่แฟชั่น” พิชัยเผยแนวคิด

อย่างไรก็ตาม “พิชัย” ตั้งเป้าผลิตบุคลากรจากสถาบันนี้ในปีแรกเพียง 50 คน

แต่ในอีกทางหนึ่ง “พิชัย” กำลังวางแผนรุกธุรกิจอีกขั้น เตรียมสร้างแบรนด์ใหม่ “3 C Professional” มุ่งเจาะกลุ่มวัยรุ่น เป็นการแตกเซ็กเม้นต์ธุรกิจจากฐานเดิม “Cut & Curl” ที่จับกลุ่มคนทำงานและครอบครัว โดยกำลังทดลองเปิดร้านแรกอยู่ที่บางกะปิ มาหลายเดือนแล้ว ครบปีเมื่อไรจะเห็นการขยายตัวที่น่าสนใจแน่

สำหรับ “สมศักดิ์” เห็นด้วยกับการเกิดสถาบันสอนทำผมที่มีคุณภาพ แต่โดยส่วนตัวไม่คิดจะเปิดสอนภายนอก เพราะปัจจุบันมีช่างในมืออยู่ประมาณ 200 คน และต้องการขยายธุรกิจโดยการใช้ระบบแฟรนไชส์ ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งผู้สนใจลงทุนเป็นเจ้าของกิจการ และสร้างเวทีให้ช่าง โดยกำลังมุ่งขายแฟรนไชส์ร้าน “Q- Cut” แนวเทรนดี้ เจาะวัยรุ่น เป็นแบรนด์ใหม่ที่แยกเซ็กเม้นท์แตกต่างจาก “Chalachol” ซึ่งเจาะกลุ่มวัยทำงานและครอบครัว

เพราะทั้งสองผู้นำรู้ว่า ทั้งสองเซ็กเม้นท์ แม้จะแข่งขันสูง แต่มีตลาดที่สามารถจะแทรกตัวเข้าไปได้ หากเป็นร้านที่มีคุณภาพและบริหารได้ถูกต้อง

เติมจุดแข็งตัดจุดอ่อน

“พิชัย” ไม่มีความสามารถในการทำผมซึ่งเป็นจุดอ่อนเพราะเท่ากับเป็นการ “ยืมจมูกคนอื่นหายใจ” เขาจึงใช้แนวทางการสร้างคนเพื่ออุดจุดอ่อน แล้วดึงจุดแข็งคือความสามารถในการบริหารธุรกิจ และใช้วิธีการขยายธุรกิจโดยการลงทุนเอง จนกระทั่งปัจจุบัน “Cut & Curl” ขยายได้ถึง 13 สาขาแล้ว (ดูตารางประกอบ)

จากร้านแรกที่แม้จะมีปัญหาด้านบุคลากรสำคัญ แต่ในด้านรายได้เป็นธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อย ร้านแรกปี2527 ลงทุน 4 แสน สามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี และตั้งแต่เปิดร้านก็สามารถเลี้ยงตัวได้ ทั้งที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะมีการวางแผนค่อนข้างดี

“Cut & Curl” มีช่างฝีมือดี เป็นร้านทำผมแรกที่เปิดในศูนย์การค้า เพราะในยุคนั้นแหล่งแฟชั่นกระจุกอยู่ที่สยามสแควร์ แต่เพราะเชื่อว่าไลฟ์สไตล์คนจะเปลี่ยน เซ็นทรัลลาดพร้าวจะเกิดได้ แม้ว่าคนจะเดินน้อยแต่ราคาเช่าไม่สูงเดือนละ 9 พันบาทเท่านั้น และใช้วิธีทำการตลาดซึ่งเมื่อก่อนไม่มีใครทำ โดยเฉพาะการสื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง เช่น แจกใบปลิวในศูนย์ฯ

ดังนั้น หลังจากทำควบคู่กับงานประจำอยู่ 3 ปี “พิชัย” จึงตัดสินใจบริหารเองอย่างเต็มตัว และทำอย่างจริงจัง 3 สาขาแรกในเวลาถึง 9 ปี เพื่อสร้างระบบและเตรียมบุคลากรให้พร้อม ในปี 2536 เปิดสาขาที่ 4 และต่อๆ มาปีละ 1 สาขา แม้ว่าจะมีจุดเปลี่ยนของวงการแห่หันมาเปิดร้านในศูนย์การค้าในช่วงปี 2533 มากขึ้นเรื่อยๆ

จากนั้น ธุรกิจสะดุดเล็กน้อยช่วงปี 41 แต่เพียงปีเดียวเท่านั้นที่รายได้ตกซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะต่อมารายได้ก็เติบโตขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยลงทุนร้านละ 2 ล้านบาท ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 1ปีครึ่ง-2ปี

“ผมมีหลักคิดในการทำธุรกิจ 3 ข้อ 1.ต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภค ต้องได้คุณภาพในราคาที่เหมาะสม จุดนี้ทำให้เราอยู่ได้ เพราะอันที่จริงเราจะคิดราคาสูงๆ ก็ได้เพราะช่างเรามีฝีมือ แต่คิดว่าเรามีทำเลที่ดีอยู่แล้วและมีลูกค้ามาก 2.พนักงานต้องได้ค่าตอบแทนที่ดี และ3.ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ ผู้ลงทุนต้องมีกำไร เราพยายามสร้างความสมดุลทั้ง 3 ส่วน” พิชัยสรุป

ทางด้าน “สมศักดิ์ ชลาชล” ช่างฝีมือที่โชกโชนรู้ตัวดีว่า ไม่สามารถบริหารธุรกิจได้ จากประสบการณ์ที่เคยหุ้นกับเพื่อนเปิดร้านมาแล้วต้องปิดไป และไม่คิดขยายสาขาด้วยการลงทุนเอง เพราะมีวิธีคิดว่า

“เราทำตรงไหนได้ไม่ชัดเจนอย่าทำ เรามีความสามารถเรื่องคอนเน็คชั่น เรื่องบริหารช่าง มองวิชั่นต่างๆ นั่นคือจุดเด่น แต่จุดอ่อนคือทำลายเงิน ไม่ชอบการต้องคอยดูว่าใครจะโกงเรา ไม่ถนัดในการบริหารธุรกิจ เราจึงทำตัวเองเป็นฝ่ายผลิต สอนช่างให้เก่งและมีจริยธรรม แล้วให้คนที่ถนัดมาบริหาร”

เพราะฉะนั้น จากร้านเดียวที่เปิดอยู่ที่ “ทองหล่อ” จึงได้โอกาสเกิดเป็น “แฟรนไชส์ ชลาชล แฮร์ สตูดิโอ”ในปี 2540 และขยายเพิ่มจนมีถึง 8 สาขาในปัจจุบัน(ดูตารางประกอบ) ด้วยวิธีการ แต่ “สมศักดิ์” รู้ว่าธุรกิจต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถึงเวลา จังหวะนี้เขากำลังปรับรูปลักษณ์ใหม่ของ “ชลาชล” เป็น “ฮิปซาลอน” และต้องการจะ “หยุดเพื่อก้าวต่อ” จึงมีแผนจะปิดร้านชลาชลที่เล็กๆ เพื่อยกระดับเป็น “Haute Couture” และก้าวสู่ตลาดระดับโกลบอล โดยมุ่งเน้นไปที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในขณะที่ อีกเซ็กเม้นหนึ่งคือ “Salon de Bangkok” สาขาเดียวที่เอ็มโพเรียม ก็จับกลุ่มนักท่องเที่ยว ลูกค้าไฮเอนด์และไฮโซได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ การร่วมมือกับกลุ่มวีเน็ท แคปปิตอล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหารบริหารเพื่อเป็นจุดแข็งในการขยายแฟรนไชส์ร้าน “คิวคัท” ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมที่ชื่อ“ควิกคัท”มีอยู่ 5 สาขา(ดูตารางประกอบ) ให้ขยายสาขาต่อไปได้ หลังจากที่พยายามหามืออาชีพช่วยบริหารมานาน

คิดแตกต่างบริหารเชิงบวก

“พิชัย” ย้ำถึงความคิดที่แตกต่างในการบริหารธุรกิจว่า เริ่มมาตั้งแต่การมองทำเลในศูนย์การค้าซึ่งพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ การบริหารช่างควบคู่ไปกับลูกค้า โดยการ“ซื้อใจ”ลงทุนส่งช่างไปเรียนกับโรงเรียนสอนทำผมที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ในประเทศ และก้าวต่อไปจนถึงต่างประเทศ รวมทั้งการใช้โอกาสจากซัพพลายเออร์ที่เชิญเข้าร่วมชมการสาธิตของช่างมืออาชีพระดับโลก

“ตอนนั้นเกิดวิกฤตมีปัญหาทุกวัน ช่างผมที่เขาให้ผมช่วยลงทุน งอแง จะทำแต่ลูกค้าทำเคมีเพราะได้เงินมาก ลูกค้าสระเซ็ทไม่ทำโยนให้คนอื่น และให้ปรับเงินเดือนทุกเดือนเพราะเขาเป็นคนทำ ตอนนั้นลูกค้าเริ่มมาก สุดท้ายเขาชวนคนอื่นไปเปิดแข่ง นั่นคือจุดเปลี่ยนเริ่มพัฒนาคน ส่งไปเรียน 1 คนออก ส่งไปใหม่2คนออก1คน ยังเหลือ ส่งไปใหม่ 3 คน คนที่อยู่ให้ได้ดูงานไปต่างประเทศหรืออบรมเพิ่ม พอเก่งขึ้นรายได้ก็มากขึ้น มีโอกาสและอนาคตที่ดี เราใช้สูตรนี้พัฒนาคนมาตลอด และสอนให้เขาดูว่าช่างฝรั่งอายุ 60 ยังมาโชว์ได้ ถ้ามีฝีมือก็อยู่ได้ตลอด แต่ช่างทั่วไปแค่ 40 กว่าฝีมือไม่ขยับเพิ่มแล้ว ขายแต่ของเก่า”

นอกจากนี้ “พิชัย” ยังสอนให้ช่างผมวางแผนชีวิตของตัวเอง วิถีชีวิตของช่างร้านนี้ต่างจากช่างในยุคนั้น หลังเลิกงานจะกลับบ้านไม่ได้เที่ยวเตร่ใช้เงิน และมีเงินออมสามารถซื้อบ้านและรถได้ภายในช่วง 4-5 ปี จนกลายเป็นตัวอย่างให้ช่างรุ่นต่อๆ มา

“ตอนนี้ช่างส่วนใหญ่อยู่กันมาเป็น 10 ปีแล้ว ระดับซีเนียร์เปลี่ยนแปลงน้อยมาก จริงๆ ไม่ได้มั่นใจว่าเขาจะอยู่กับเรา แต่ใช้หลักที่ว่าเราสร้างเขามาเขาน่าจะรู้สึกว่าอย่างน้อยเราก็ให้โอกาสเขา และพอมีข่าวลือว่าเราทำไม่จริงเพราะตอนนั้นยังทำงานประจำอยู่ เราก็เปิดสาขา 2 ต่อจากสาขาแรก 1 ปีครึ่ง เพื่อยืนยันว่าเราทำจริง เพราะพูดอย่างเดียวไม่พอ”

พิชัยกล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมคิดธุรกิจไม่ซับซ้อน ไม่อยากให้พนักงานคิดว่าเรามีลูกเล่น บอกชัดว่าต้องการแค่นี้ คือให้มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อลูกค้าต่อสังคม สิ่งที่ได้ต่อจากนี้คือกำไรทั้งนั้น เมื่อเราคนที่มีคุณภาพ ลูกค้าจะมากตามมาเอง และไม่เคยตัดราคา แต่จะให้บริการและคุณภาพที่ดีขึ้น แล้วจึงปรับเพิ่มราคา ซึ่งลูกค้ายินดี”

พิชัยย้ำว่า สิ่งที่เกิดตามมาคือ การสร้างแบรนด์ “Cut & Curl” แซงการยึดติด “ช่างประจำ”

เช่นเดียวกับ “สมศักดิ์ ชลาชล” ซึ่งมีความคิดที่แตกต่างจากช่างอื่นๆ เขาใช้ชีวิตไปพร้อมๆ กับการทำงาน ด้วยลูกค้าส่วนใหญ่ที่เป็นกลุ่มไฮโซและโดยส่วนตัวเป็นคนสนุกสนานและชอบการท่องเที่ยว การไปต่างประเทศเพื่อเรียนรู้ทั้งเทรนด์ผมใหม่ๆ แล้วมาถ่ายทอดให้ช่างในร้าน ใช้การสอนแบบใหม่ให้ดูบุคลิกของลูกค้าแล้วต้องคุยเพื่อเข้าใจลักษณะของลูกค้าก่อนที่จะออกแบบให้เหมาะสม ซึ่งต่างจากการตัดแบบเก่าให้ดูแต่รูปหน้า

การนัดล่วงหน้า การไม่ลงมือตัดเองและยกระดับขึ้นไปตัดซอยหัวละ 1,800 บาทสำหรับผู้ชาย และ 2,000 บาทสำหรับผู้หญิง เพื่อเปิดโอกาสให้ช่างรุ่นน้องๆ มีโอกาสได้ลูกค้ามากขึ้น

“นั่นคือการมอบมรดก ถ้าเราไม่ปล่อยมือลูกค้าก็อยู่ที่เราหมด แต่เราไม่ทำอย่างนั้นเราเป็นโปรดิวเซอร์ดีกว่า และเราก็เพิ่มมูลค่าตัวเองด้วย ช่างไทยยิ่งแก่ยิ่งจนเพราะเอาตัวเองไปแข่งกับเด็กตลอดเวลา”

“สมศักดิ์”ยังพูดถึงช่างผมไทยว่าโดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยวางแผนชีวิตและเก็บงาน เขาจึงมักจะแนะนำให้สร้างหนี้ด้วยการซื้อบ้านเป็นทรัพย์สินเป็นการออมทางอ้อม เมื่อมีรายได้มั่นคงแล้ว รวมทั้ง ให้ยึดถือจรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ เช่น ถ้าลูกค้าผมเสียต้องอย่าเชียร์ให้ทำเคมีทำสีผมอีกเพราะหวังแค่จะได้เงินมากๆ

“เราต้องให้ช่างอยู่ดีกินอร่อย และใช้จิตวิทยาในการบริหาร แต่ละคนต่างกัน เราเลือกคนหลายๆ แบบผสมกันในร้าน มีทั้งแบบตลก เรียบร้อย คุยเก่ง เพราะลูกค้าแต่ละคนก็ชอบช่างต่างกัน และเราขยายร้านออกไปทำให้ช่างเห็นเส้นทางเติบโต ใช้ระบบหุ้นส่วนเมื่อแฟรนไชซีครบสัญญา 5 ปี จะปรับเป็นระบบร่วมทุนบริษัทฯ ถือหุ้นใหญ่ 51% ถ้าแฟรนไชซีไม่เข้าใจกันไม่ร่วมลงทุน20% ช่างก็จะได้สิทธิ์ในส่วนนี้ด้วย” สมศักดิ์อธิบายถึงวิธีคิดและบริหารที่แตกต่าง

ไม่ว่าทั้งสองผู้นำจะมีแนวคิดและสไตล์การดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการพัฒนาและสร้างธุรกิจทำผมในแนวทางที่สร้างสรรค์หวังจะสร้างความแข็งแกร่งของวงการทำผมของไทย โดยมองเป้าหมายการแข่งขันไปที่ตลาดระดับโลก เสาะหาโอกาสที่กว้างขึ้น แต่จะไปได้ไกลแค่ไหนยังต้องติดตามต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us