|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ซึทาญ่า” ปรับรูปแบบการลงทุนใหม่ สอดรับกระแสคนอยากรวย แต่ทุนน้อย ผุด 4 ไซส์เอาใจ ขั้นต่ำเพียง 1.7 ล้านบาท ชูจุดแข็งระบบบริหาร สินค้าหลากหลายตอบสนองผู้บริโภค อาศัยระบบออนไลน์ศึกษาลูกค้า ด้าน Mega Store นำร่อง 2 สาขาต้นแบบสู่เป้าศูนย์เอนเตอร์เทนเม้นท์ในอนาคต
วันดี พละพงค์พานิช ประธานบริษัท ซึทาญ่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า บริษัทได้ทำการศึกษาข้อมูลกลุ่มนักลงทุน พบว่าปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันข้อมูลดังกล่าวยังระบุเม็ดเงินการลงทุนต่อธุรกิจลดลง ทำให้บริษัทได้ใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการปรับรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อสนองตอบกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ธุรกิจเอนเตอร์เม้นท์ในรูปแบบการให้เช่าภาพยนตร์เป็นความบันเทิงที่ราคาไม่สูง เมื่อเทียบกับความบันเทิงในรูปแบบอื่น จะเห็นได้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ราคาน้ำมัน ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แต่กลับเติบโตอย่างต่อเนื่องดูได้จากการจำหน่ายเครื่องเล่นซีวีดี ดีวีดี
จากปรากฎการณ์ดังกล่าวและข้อมูลที่สำรวจลึกในแต่ละด้าน ทำให้บริษัทได้รุกขยายงานโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนใหม่
ลงทุน 4 แบบ 4 สไตส์
วันดี กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน จากเดิมมีขนาดการลงทุนพื้นที่ 100 ตร.ม. ลงทุน 4 ล้านบาท ได้ปรับรูปแบบการลงทุนใหม่ตั้งแต่ 1.7 ล้านบาท จนถึง 4.2 ล้านบาท และลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Store) ถึง 10 ล้านบาท ที่บริษัทได้ทำการลงทุนเป็นต้นแบบขณะนี้จำนวน 2 สาขาวังหินและสุขุมวิทซอย 24
สำหรับรูปแบบการลงทุนใหม่นี้มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.Studio 50 พื้นที่ 50 ตร.ม. ลงทุน 1.7-1.8 ล้านบาท 2.Villa พื้นที่ 70-100 ตร.ม. ลงทุน 2.6-2.7 ล้านบาท 3.Classic พื้นที่ 100 ตร.ม. ลงทุน 3.1-3.2 ล้านบาท และ 4.Socity พื้นที่ 100 ตร.ม. ลงทุน 3.6-4.2 ล้านบาท
โดยแต่ละรูปแบบจะสนองความต้องการของนักลงทุนหรือแฟรนไชซีที่แตกต่างกัน กรณีของรูปแบบ Studio 50 มุ่งกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ ที่ต้องการมีธุรกิจของตนเองและเข้ามาดูแลธุรกิจเอง ส่วน Villa และ Classic เป็นการลงทุนขนาดกลางที่ยังมีกลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจจำนวนมาก สำหรับ Socity นั้นเป็นรูปแบบการลงทุนเหมือนปัจจุบันที่ซึทาญ่าทำอยู่ แต่ได้แบ่งแต่ละรูปแบบให้ชัดเจนขึ้น
“ผมมองว่าในปัจจุบันการลงทุนแบบ Studio 50 จะได้รับความสนใจค่อนข้างมาก เพราะเงินลงทุนไม่สูง ตลาดกลุ่มนี้จะมีเข้ามามาก ที่ผ่านมาจะเห็นร้านให้เช่าภาพยนตร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล้มหายไปก็ตาม แต่ก็ยังมีรายใหม่ๆ เข้ามาในธุรกิจปัจจุบันมีร้านเช่าภาพยนตร์ทั่วประเทศกว่า 4,000 ร้านค้า ซึ่งเรามองว่าควรจะทำธุรกิจที่สามารถเข้ามารักษาผลประโยชน์กับบุคคลที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ
เราอยากจะให้เขาเห็นว่าเรามีศักยภาพ ด้วยมีความรู้มีประสบการณ์มา 10 กว่าปีแล้วถ้าเขามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ของซึทาย่าเราสามารถปกป้องการลงทุนให้เขาได้ในระดับหนึ่งคุ้มกว่าที่จะไปลงทุนเอง” วันดีกล่าว
ชูสินค้าหลากหลายสร้างรายได้
ขณะที่สินค้าที่ให้บริการภายในร้านนั้น วันดี กล่าวว่า แต่ละรูปแบบกลุ่มสินค้าจะไม่เท่ากัน ปัจจุบันซึทาญ่ามีกลุ่มสินค้าหลักที่ให้บริการภายในร้าน 4 กลุ่ม ได้แก่ วีซีดี เช่า/ขาย ดีวีดี เช่า/ขาย
สำหรับรูปแบบ Studio 50 จะเป็น วีซีดีเช่า จำนวน 3,300 แผ่น โดยจำนวนแผ่นภาพยนตร์ดังกล่าวศึกษาฐานข้อมูลกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภทที่จะเข้ามาใช้บริการ เพื่อให้การบริการเช่าตรงตามกลุ่มเป้าหมาย Villa จะมีสินค้าวีซีดีเช่า/ขาย ส่วน Classic และ Socity วีซีดี เช่า/ขาย ดีวีดี เช่า/ขาย และสินค้าเพิ่ม เช่น นิตยสาร
ซึ่งสินค้าที่ให้บริการภายในร้านนั้น จะสอดคล้องกับจำนวนพื้นที่ เงินลงทุนและที่สำคัญภาพยนตร์เช่าและขายนั้น บริษัทจะใช้ฐานข้อมูลลูกค้าในพื้นที่สำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างรายได้ให้กับแฟรนไชซี
ปัจจุบันซึทาญ่า ประสบความสำเร็จจากระบบออนไลน์ฐานข้อมูลลูกค้า ทำให้สามารถรู้ข้อมูลความต้องการลูกค้าได้ถึง 1.5 ล้านข้อมูลหรือรายการต่อเดือนซึ่งเป็นข้อมูลที่ออนไลน์จากร้านสาขาที่มีอยู่เพียง 50% ของสาขาทั้งหมดเท่านั้น
นอกจากนี้ บริษัทจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการบริหารการเงินให้กับผู้ที่ลงทุนรูปแบบ Studio 50 Villa และ Classic ซึ่งทุกร้านจะต้องโอนเงินเข้าบริษัททุกวันเมื่อบริษัทหักค่ารอยัลตี้ฟีและค่าสินค้าแล้วจะคืนเงินให้กับแฟรนไชซีในทุกต้นเดือนของอีกเดือนหนึ่งซึ่งระบบจะคล้ายๆ กับระบบของเซเว่นอีเลฟเว่น ส่วนแบบโซไซตี้ผู้ประกอบการจะบริหารเงินเอง
วันดี กล่าวว่า นอกจากการปรับรูปแบบการลงทุนแล้ว บริษัทยังมุ่งหวังที่จะพัฒนาจากศูนย์เช่าภาพยนต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นภาพลักษณ์ของซีทาญ่านั้น เปลี่ยนมาเป็นศูนย์เอนเตอร์เทนเม้นท์ ที่มีการบริการที่หลากหลาย สามารถเข้ามาใช้บริการเอนเตอร์เทนเม้นท์ที่ครบวงจร ซึ่งเป็นเป้าของบริษัท เช่นเดียวกับซึทาญ่าในญี่ปุ่นที่ปัจจุบันได้เป็นศูนย์เอนเตอร์เทนเม้นท์ไปแล้ว
โดยบริษัท ได้ทำร้านต้นแบบ ที่เรียกว่า Mega Store พื้นที่ 300 ตารางเมตร เงินลงทุน 7-10 ล้าน คือสาขาวังหิน และสุขุมวิท 24 ซึ่งให้บริการทุกอย่างทั้งร้านกาแฟ ศูนย์เช่า ขาย หนังสือ วีซีดี ดีวีดี อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ซึ่งซึทาย่ากำลังมองหาพื้นลงสำหรับการเปิดเพิ่มเติมต่อไป เบื้องต้นจะเป็นการขยายการลงทุนโดยบริษัทก่อนที่จะขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนมองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ของธรกิจรูปแบบดังกล่าวในอนาคต
ขณะเดียวกันบริษัท ไม่หยุดนิ่งโดยทำการศึกษาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำสินค้าใหม่มาสนองกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าสินค้าต่างๆ ที่นำมาให้บริการภายในร้านจะเป็นตัวสร้างรายได้ให้กับแหรนไชซี ซึ่งท้ายที่สุดแล้วอาจเป็นรายได้หลักมากกว่าเพียงแค่การให้บริการเช่าภาพยนตร์ก็ได้
ซึ่งล่าสุด ได้เตรียมนำเข้าเครื่องหยอดเหรียญ หรือ “GATHA” เพื่อลุ้นรับตัวการ์ตูน โดยจับกลุ่มเป้าหมายไปยังคนที่ชอบสินค้าประเภทของสะสม อายุ 15-45 ปีเป็นเพศหญิง 80% เป็นเพศชาติ 20% โดยบริษัทได้ทำการศึกษาตลาดมานานกว่า 2 ปี ขณะนี้ทดลองตลาดไปแล้ว 5 สาขา ซึ่งได้รับการตอบรับดี โดยระดับราคาการให้บริการคือ 40,80 และ 120 บาท ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างรายได้ของแฟรนไชซีและสนองความต้องการกลุ่มลูกค้า
เพิ่มเป้าสาขาปี 48 เป็น 260 สาขา
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเติบโตของการลงทุนแบบ Studio 50 ประมาณ 20% ของร้านสาขาที่จะเปิดทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่สนใจจะลงทุนแบบสตูดิโอ 11 ราย และคาดว่าถึงสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ลงทุนในรูปแบบของสตูดิโอ 30 ราย ส่วนการลงทุนอีก 3 รูปแบบมีการเปิดต่อเดือน 3-4 สาขา
จากการปรับรูปแบบการลงทุน จะทำให้ฐานกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้นทั้งกลุ่มนักลงทุนใหม่ นักลงทุนที่ดำเนินธุรกิจเองและแฟรนไชซีซึทาญ่าที่จะขยายาสาขา คาดสิ้นปี 2548 จะเพิ่มจำนวนสาขาแฟรนไชส์จากปัจจุบัน (มิถุนายน 2548) 216 ราย เป็น 260 ราย
เผยภาพรวมมูลค่าธุรกิจปี 48 8,000 ล.
วันดี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มูลค่าธุรกิจเช่าภาพยนต์ปี 2548 นี้ คาดมีมูลค่า 8,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีอยู่ 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน จากภาะราคาน้ำมันส่งผลต่อต้นทุนสินค้า การผลิตเพิ่มนั้น กับผลกระทบต่อธุรกิจเช่าภาพยนต์ ตนมองว่าให้ผลในเชิงบวกมากกว่า เพราะเป็นความบันเทิงราคาต่ำเมื่อเทียบกับความบันเทิงในรูปแบบอื่น
ขณะที่การแข่งขันของธุรกิจนั้น ยังคงมีต่อเนื่องแต่เป็นการเข้ามาของผู้ที่ลงทุนทำธุรกิจเองแทนการซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงในการปิดกิจการสูง ซึ่งสิ่งที่สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจนี้ทำเลเป็นสิ่งสำคัญ จะเห็นว่าซึทาญ่า จะให้น้ำหนักในเรื่องนี้มาก แฟรนไชซีทุกรายจะแนะนำให้เช่าพื้นที่แทนการซื้ออาคารพาณิชย์เพื่อลงทุน
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่าแฟรนไชซีซึทาญ่า ที่ต้องปิดตัวลงเพราะทำเลเดิมที่มองว่าเป็นทำเลทองนั้นเปลี่ยนไป จากการขยายเมือง ตัดถนนใหม่ทำให้ความหนาแน่นของชุมชนเปลี่ยนไปหรือขยายตามการเติบโตย่านนั้น ฉะนั้นการเช่าพื้นที่ อาคารพาณิชย์ จะลดความเสี่ยง สามารถเปลี่ยนทำเลได้ง่ายกว่า
|
|
|
|
|