Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 สิงหาคม 2548
ขึ้นดบ.กู้กระทบกำลังซื้อบ้าน             
 


   
search resources

Real Estate
Interest Rate




วงการแบงก์แจงหลากหลายปัจจัยกดดันสภาพคล่องในระบบลด บวก กับมาตรการกระตุ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธปท. ผลักดันให้แบงก์พาณิชย์ขยับดอกเบี้ยออมทรัพย์และดอกเบี้ยเงินกู้ภายใน 1-2 เดือนนี้ ยืนยันไม่กระทบลูกค้ารายย่อยมากนัก รวมถึงการผ่อนชำระสินเชื่อบ้านภายใน 1-2 ปีนี้ แต่อาจทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อลง ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังแบ่งรับแบ่งสู้

จากการที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเงินออมภาคประชาชน โดยจะนำเสนอ 2 มาตรการให้กระทรวงการคลังพิจารณาในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจนัดแรกวันนี้ (29 ส.ค.) ร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

โดยมาตรการที่ผู้ว่าการ ธปท. จะนำเสนอเพื่อกระตุ้นเงินออมประกอบด้วย การออกพันธบัตรออมทรัพย์ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทางการต้องการดูดซับสภาพคล่องให้หายไปจากระบบ เพื่อให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ขยับขึ้น หลังจากที่ดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะสั้นและระยะยาวเริ่มขยับขึ้นไปแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบขยับตามไปด้วย

นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเริ่ม จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ระยะยาวก่อน เพื่อระดมเงินฝากและเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน ในการบริหารต้นทุน และทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้นๆ มากขึ้น ทั้งดอกเบี้ย เงินฝาก 3 และ 6 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนถึงต้นทุนของธนาคารพาณิชย์เริ่มเพิ่มขึ้น

ดังนั้น ในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้านี้ จะเห็น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรืออัตราดอกเบี้ย เงินฝากประเภทออมทรัพย์ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าฐานที่ใหญ่ที่สุดของธนาคารพาณิชย์

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะข้าง หน้านี้ เพื่อบริหารต้นทุนที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น อาจจะกระทบกับลูกค้าในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้านที่อาจจะต้องรับผลกระทบ จากการปรับดอกเบี้ยขึ้น โดยค่างวดของ การผ่อน ชำระในระยะ 1-2 ปียังคงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่จะกระทบในเรื่องของกำลังซื้อที่ต้องพิจารณา อย่างรอบคอบ หรืออาจจะต้องลด ขนาดของการ ซื้อบ้านหรือวงเงินสินเชื่อที่จะขอกู้จากธนาคารพาณิชย์

ส่วนกลุ่มลูกค้าอื่นๆ เช่น ลูกค้าเอสเอ็มอี ยังไม่ถึงกับกระทบมากนัก เพราะโดยปกติการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25-1 % ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ต้นทุนเรื่องของดอกเบี้ยเป็นส่วนน้อย ดังนั้น ถึงดอกเบี้ยจะปรับขึ้นแต่ก็ยังน้อยกว่าช่วยก่องวิกฤตเศรษฐกิจ และเชื่อราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นน่าจะเป็นผลกระทบกับกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากกว่า

ต้นทุนขยับแบงก์ต้องปรับเงินกู้

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ภายในสิ้นปีนี้ธนาคารพาณิชย์ขนาด ใหญ่น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้หนึ่งรอบ หลังจากที่ต้นทุนสูงขึ้นจากการทยอยขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารต่างประเมินว่าสภาพ คล่องในระบบจะถูกดูดซับออกไปจาก 2 ปัจจัย คือ 1. การขาดดุลการค้าต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 มีเงินทยอยไหลออกอย่างต่อเนื่อง ทำ ให้สภาพคล่องส่วนเกินเหลืออยู่ในระบบประมาณ 300,000-350,000 ล้านบาท

ปัจจัยที่ 2 การลงทุนของเอกชน และ รัฐบาล มีความต้องการเงินทุนมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลมีแผนที่จะออกพันธบัตรชดเชยกองทุนน้ำมัน รวมถึงพันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ที่สามารถออกมาดูดสภาพคล่องได้ตลอดเวลา หากต้องการที่จะดึงอัตราดอกเบี้ยขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องหาเงินฝากและฟิกอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อนที่สภาพคล่องจะหายไป

ยันผ่อนบ้านค่างวดยังคงเดิม

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการฝ่าย อาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ลูกค้าสินเชื่อบุคคลคง จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยเฉพาะลูกค้า ของนอนแบงก์ที่ธปท.มีมาตรการจำกัดเพดานดอกเบี้ยไว้ไม่เกิน 28% ทำให้นอนแบงก์ไม่สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยไปได้มากกว่าอัตรา ดังกล่าว ขณะที่ลูกค้าสินเชื่อบุคคลของธนาคารพาณิชย์ อาจจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะปรับขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบุคคลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 24-25%

สำหรับกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็น กลุ่มใหญ่ที่สินของสินเชื่อรายย่อย คือ มีฐานสินเชื่อปรมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ขณะที่กลุ่มสินเชื่อบุคคลมีประมาณ 140,000 ล้านบาทนั้น การผ่อนชำระค่างวดของลูกค้าสินเชื่อบ้านเดิมไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะลูกค้ามีการรับรู้ภาระในแต่ละเดือนอยู่แล้ว ขณะที่ธนาคารเองได้มีการคำนวณเผื่อไว้แล้วด้วย "

ลูกค้าที่ผ่อนค่าบ้านจะได้รับผลกระทบก็ต่อเมื่อดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นเกินกว่าที่ค่างวดคำนวณไว้ หรือประมาณ 10-11% แต่คงเป็นไปได้ยากเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังต้องการแรงผลักจากภาครัฐและเอกชนในการ กระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง"

ส่วนในปี 2549 ธนาคารคาดว่าจะมีบ้าน สร้างใหม่ประมาณ 60,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นไม่เกิน 1% ซึ่งตามปกติการคำนวณค่างวดจะเผื่อไว้อยู่แล้ว 1-2% แต่จะมีผลกระทบถึงการพิจารณาของการ ซื้อบ้าน อาจจะต้องชะลอการซื้อบ้านหรือลดขนาด ของราคาบ้านลง เพื่อลดผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ ปรับสูงขึ้น โดยปกติหากดอกเบี้ยปรับขึ้น 1% รายได้ ก็จะต้องเพิ่มขึ้นตาม 6% ด้วย หากรายได้ ไม่ปรับขึ้นตามดอกเบี้ย ก็จะมาลดในส่วนของราคาบ้านลง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยเคยประเมินถึงอัตราดอกเบี้ยว่า จะปรับขึ้นเฉลี่ย ระดับ 6.5% หรือจะสูงสุดหรือต่ำกว่าจะไม่เกิน บวกลบ 1.75% ดังนั้นในระยะ 5 ปีข้างหน้าหากอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ หรือ เอ็มโออาร์ ปรับเพิ่มขึ้นแตะจุดสูงสุดไม่น่าที่จะเกิน 8.25-8.50% ซึ่งยังไม่ถึงระดับ 10-11% ที่จะกระทบค่างวดของลูกค้าที่ผ่อนค่างวดในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าในระยะ 5 ปีนี้อัตราดอกเบี้ยไม่น่าที่จะสูงถึงระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจได้

เจรจา AIA ปล่อยกู้ลูกค้าคงที่ 25 ปี

นายวิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ปัจจัยเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเท่ากับช่วงแรกที่มีข่าวการ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมั่นใจว่าตลอดทั้งปีดอกเบี้ยจะขึ้นไม่สูงเกินว่า 1% มีผลต่อกำลังซื้อของ ลูกค้าในตลาดไม่เกิน 10% ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ เข้ามากระทบกลับเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัว สูงขึ้น และทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างสูงขึ้นตามไปด้วย

"บริษัทเชื่อว่าตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น เพราะผู้บริโภคเริ่มชินกับภาวะตลาด ทำให้กล้าที่จะตัดสินใจมากขึ้น และมั่นใจว่าช่วงปลายปีนี้ ยอดขายของบริษัทจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา ด้วยสินค้าที่ผลิตออกมาตรงกับกลุ่มเป้า หมายระดับ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทำเลที่มีศักยภาพ บวกกับขณะนี้บริษัทยังอยู่ในระหว่างเจรจากับ AIA เพื่อปล่อยกู้ซื้อบ้านคงที่ระยะยาว 20-25 ปี ใน อัตราดอกเบี้ยระหว่างช่วง 5-6%" นายวิศิษฎ์ กล่าว

นายอธิป พีชานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มหรือลดจะมีผลต่อภาระของลูกค้า เช่น ถ้าซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท เฉลี่ยการผ่อนจะอยู่ที่ 6,000 บาทต่องวด หากดอกเบี้ยขึ้น 1% การผ่อนของลูกค้าจะเพิ่มขึ้นอีก 700 บาทเป็น 6,700 บาทต่องวด, หากดอกเบี้ยขยับเพิ่ม 2% ภาระการผ่อนของลูกค้าจะเพิ่มเป็น 7,400 บาทต่องวด

"ภาระเพิ่มขึ้นจ่ายเงินซื้อบ้านแพงขึ้นแต่ได้บ้านเท่าเดิมแล้วชีวิตจะดีได้อย่างไร ทำให้คนเริ่ม หันมาดูกำลังซื้อในการซื้อบ้านไม่ให้เกินความสามารถ ของตนเอง แม้จะเป็นบ้านที่เล็กลง แต่ยังดีกว่ามีภาระที่สูงจนไม่ไหวกับกำลัง" นายอธิปกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us